ปัจจัย 4+2


จุดพอดีควรมากกว่าที่เราบริโภคไม่มากจนเกินไปเพื่ิอป้องกันความเสี่ยง ถ้ามากเกินไปแล้ว จะนำพาซึ่งความทุกข์ที่มีหลากหลายรูปแบบ

เดิมทีนั้นมีปัจจัย 4 อย่างที่พวกเราทราบกันดีอยู่แล้ว อันประกอบไปด้วย อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโลก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ หากลองขยายแกนหนึ่งของปัจจัย 4 นี้ออกเป็นส่วนพื้นฐานกับส่วนเกินกว่าพื้นฐาน เพื่อใช้ในการอธิบายว่าปัจจัยใดๆที่อยู่ในส่วนพื้นฐานก็คือสิ่งที่ใช้ดำเนินชีวิตอย่างที่ขาดไม่ได้ ถ้าขาดไปแล้วจะส่งผลต่อความเป็นอยู่ เกิดความเดือดร้อน หรือดำรงชีพอยู่ไม่ได้เลย ส่วนที่เกินกว่าพื้นฐานนั้น ใช้อธิบายว่าปัจจัยใดๆที่อยู่บนแกนนี้ เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตหรือมีมากกว่าความจำเป็นในการอุปโภคบริโภค จะไม่มีก็ได้ มีก็ดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น ปัจจัยด้านอาหารที่อยู่ในส่วนพื้นฐาน อาจเป็นเพียงข้าวสักจาน ทานพออิ่ม พอประทังชีวิตได้อย่างปลอดภัย ถ้าเป็นอาหารในส่วนเกินกว่าพื้นฐาน ก็อาจจะเป็นอาหารจานโตที่ทานไม่หมด หรืออาหารมื้อสุดหรูราคาแพง เป็นต้น สำหรับปัจจัยอื่นๆ ในทั้งสองส่วนก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

ในยุคสมัยใหม่นี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนทุกคนก็คงจะเป็น เงินและโทรศัพท์มือถือ บางคนอาจขาดคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน รถยนต์ หรืออื่นๆ ไม่ได้ แต่คงไม่ได้เป็นแบบนี้กับทุกคนเช่นเดียวกับสองสิ่งแรก ที่เป็นเงินเพราะเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสรรพสิ่งบนโลกเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทุกแห่งหน ที่เป็นโทรศัพท์มือถือเพราะคนเป็นสัตว์สังคม จึงเลี่ยงการสื่อสารไม่ได้ แล้วเราจะบัญญัติให้สองสิ่งนี้เป็นปัจจัยเทียบเท่าปัจจัย 4 หรือจะให้เป็นเพียงปัจจัยเพื่ออำนวยความสะดวก ก็ต้องถามว่าขาดมันแล้วตายไหม ใช่ครับ มันไม่ตายหรอก ถ้าเช่นนั้นก็ขอจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยพื่ออำนวยความสะดวกดีกว่า ทั้งนี้ ผมลองเอาทั้งสองปัจจัยใหม่นี้วางบนแกนส่วนพื้นฐานและส่วนเกินกว่าพื้นฐานดู ก็คงอนุมานได้ว่าปัจจัยเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่ออำนวยความสะดวกของคนยุคนี้คงเป็นไปดังรูปที่แสดงไว้ตามนี้


ประเด็นที่ควรพิจารณาต่อมา ได้แก่

  1. จุดพอดี - ความพอดีของแต่ละคนไม่เท่ากัน ถ้าเอาตัวเองเป็นตัวตั้ง การหาความพอดีด้วยหลักการคงจะยากกว่าการใช้ความพึงพอใจ เอาเป็นว่าจุดพอดีควรมากกว่าที่เราบริโภคไม่มากจนเกินไปเพื่ิอป้องกันความเสี่ยง ถ้ามากเกินไปแล้ว จะนำพาซึ่งความทุกข์ที่มีหลากหลายรูปแบบ หากเอาสังคมเป็นตัวตั้งก็ต้องใช้หลักการจัดสรรทรัพยากรอย่างเท่าเทียม คนเรานั้นเห็นแก่ตัวเกินกว่าจะเอาสังคมเป็นตัวตั้ง วิธีการคิดคำนวนหาความเท่าเทียมจึงไม่เคยลงตัว
  2. แนวโน้มการเบี่ยงเบน - หากเรามองไปข้างหน้าจะพบว่า ปัจจัย 4 แบบดั้งเดิม มีแนวโน้มยืดออกหรือเบี่ยงเบนเข้าสู่แกนเกินกว่าพื้นฐานมากขึ้น จากความนิยมของการสร้างมูลค่าเพิ่ม ตรงข้ามกับปัจจัยสองสิ่งใหม่ที่มีแนวโน้มยืดออกไปทางแกนพื้นฐาน จากหน้าที่ของมันที่ถูกลดบทบาทให้ไปสนับสนุนกิจกรรมอื่นซึ่งมีนวัตกรรมหรือการประยุกต์ใช้

อ้างอิง : http://www.thanakrit.net/factor42/

หมายเลขบันทึก: 622216เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2017 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2017 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โรค สังคมก้มหน้า..เป็นโรคที่กำลังรุกและ ลาม. อย่างหนัก..เกิดจาก+2ประเด็นดังกล่าว.. ที่หนักจน โลกรับไม่. ไหว..สิ่งแวดล้อม..เลวลง จนเห็นได้ ชัดแจ้ง...เนื่องจากเราได้ใช้ทรัพยากรโลกอย่างฟุ่มเฟือย..กัน..(555)...

คนกำลังกลายพันธุ์เป็นแมงเม่าบินเข้ากองไฟ. ...(โปรดสังเกตุ)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท