อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๔) : Active Learning กับ Problem-based Learning


วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เชิญผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มาเป็นวิทยากรอบรมอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปผู้สนใจจำนวนประมาณ ๘๐ ท่าน ตามโครงการ "In-house Training 2nd : Active Learning" ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๒ ที่ท่านมาที่ มมส. ครั้งก่อนเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ (ผมบันทึกการเรียนรู้ไว้ที่นี่ บันทึก ๑ บันทึก ๒ และบันทึก ๓) แม้เราจะกำหนดเป็นหัวเรื่องเดิม แต่ผมเองก็ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ... จึงจะบันทึกต่อเนื่องไว้ใน ๒-๓ บันทึกต่อไปนี้

ท่านแจกเอกสารประกอบการอบรม ๒ ฉบับ ฉบับแรก (ดาวน์โหลดที่นี่) บอกว่า ทำไมต้อง "เปลี่ยนวิธีสอน" มาเป็นแบบ Active Learning อยากให้ท่านผู้อ่านคลิกโหลดไปอ่านบทสนทนาระหว่าง อ.ปริญญา กับ ศาสตราจารย์เบอร์นาร์ด แทน ( Bernard C.Y. Tan) รองอธิการบดีฝ่ายอาจารย์และการศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงค์โปร (NUS) บทสนากับศาสตราจารย์แนนซี่ บัควิก (Nancy Bugwig) รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาของมหาวิทยาลัยคลาร์กแห่งแมตซาชูเซท (Clark University of Massachusetts) และโดยเฉพาะตอนที่ท่านคุยกับผู้บริหารของศูนย์พัฒนาการสอนและการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงค์โปร (CDTL) ... ผมเองจับประเด็นสำคัญดังนี้ครับ

  • การ "เปลี่ยนวิธีสอน" ทำให้ NUS เปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัย top 10 ในเวลาเพียง ๑๐ ปี
  • ตอนนี้ อาจารย์มหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกา เลิกสอนแบบบรรยาย (Lecture) (บอกความรู้) หมดแล้ว .... เขาสามารถเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในเวลาเพียง ๔ ปี เท่านั้น ศาสตราจารย์ Nancy ยกความดีนี้ให้กับ Prof. Carl Wieman นักฟิสิกส์โนเบลและอดีตประธานธิปดีโอบามา
  • สิ่งที่เปลี่ยนยากที่สุดคือ อาจารย์มหาวิทยาลัย
  • ที่ NUS อาจารย์ใหม่ ๆ ต้องเข้าอบรมกับศูนย์พัฒนาการสอนและการเรียนรู้ (CDTL) เป็นเวลา ๒ สัปดาห์

เอกสารฉบับที่ ๒ (ดาวน์โหลดที่นี่) บอกหลักการออกแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning และ วิธีการออกแบบกิจกรรมเรียนรู้แบบ Problem-based Learning ผมสรุปเป็นแผนภาพ ดังนี้ครับ




(เชิญท่านผู้สนใจนำภาพนี้ไปใช้ได้เลยครับ ท่านอาจารย์ปริญญาเอง ท่านก็ยินดีครับ... ผมถามท่านแล้ว)


วิธีการอบรมฯ ของท่าน ช่วงเช้าเป็นแบบ Active Learning จริง ๆ เรียกว่า ท่านสาธิตให้เห็น คือได้ดูและผู้ดูยังอยู่ในเหตุการณ์ด้วย ส่วนช่วงบ่าย ท่าน Training การออกแบบการเรียนรู้แบบ Problem-based Learning จนถึงเกือบ ๑๖.๓๐ น.... ทั้งสนุกและประเทืองปัญญา คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังต่อครับ...

อีกอย่างหนึ่งที่ผมประทับใจยิ่ง คือสิ่งที่ท่านย้ำกับเรามาก ๆ ว่า ให้ใช้ระเบียบราชการแบบปกติ ไม่ต้องใช้อัตราพิเศษใด ๆ และให้เบิกจ่ายจริงตามเวลาที่ท่านเริ่มและเลิกอบรม ... ผมจึงคิดว่า น่าจะใช้คำว่า "เมตตา" สำหรับการมาครั้งนี้










หมายเลขบันทึก: 621917เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2017 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2017 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท