สำรองข้อมูล ข้อควรปฏิบัติภายหลังน้ำลด2


ข้อเตือน ต้นไม้ผลที่อยู่ในสภาพของน้ำท่วมขังไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาสั้นหรือยาวก็ย่อมเป็นผลเสียหายทั้งสิ้น พืชแต่ละชนิดหรือเป็นชนิดเดียวกันหรือพันธุ์เดียวกันก็ตาม ความสามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมขังก็ย่อมแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

1. ธรรมชาติหรือชนิดของไม้ผล ไม้ผลแต่ละชนิดหรือแต่ละพันธุ์มีความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังได้ไม่เท่ากัน บางชนิดอาจอ่อนแออย่างมาก เช่น ขนุน จำปาดะ มะละกอ กล้วย ทุเรียน ในขณะที่บางชนิดสามารถทนทานได้มากกว่า เช่น มะขาม ส้มโอ มะกอกน้ำ มะพร้าว เป็นต้น

2. ความสมบูรณ์หรือความแข็งแรงของต้น ต้นไม้ที่มีการดูแลรักษาให้มีความสมบูรณ์ดี มีอาหารสะสมในต้นอยู่สูงในระยะก่อนถูกน้ำท่วมขัง จะมีความสามารถอยู่ได้นานมากกว่า ต้นไม้ผลที่มีการติดผลดกมากและภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีอาหารสะสมในต้นต่ำมาก หากถูกน้ำท่วมขังจะตายไปในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่สมบูรณ์กว่าในแปลงเดียวกัน

3. ระยะของการเจริญเติบโต ช่วงระยะที่มีการผลิใบอ่อนโดยเฉพาะในระยะใบพวง (เป็นระยะที่แผ่นใบขยายเต็มที่แล้ว แต่ใบยังมีลักษณะที่อ่อนนุ่ม) ต้นจะมีความอ่อนแอมากที่สุด เนื่องจากต้นได้นำเอาอาหารสะสมจากรากไปใช้ในการสร้างใบ ทั้งนี้เพราะใบเป็นส่วนที่มีการใช้อาหารมากที่สุดในขณะที่ถูกน้ำท่วมขัง ดังนั้นการตัดแต่งกิ่งให้มีจำนวนใบลดน้อยลงในช่วงก่อนน้ำท่วมขังก็ย่อมสามารถที่จะช่วยยืดอายุต้นไปได้

4. อายุของต้นไม้ผล ต้นที่มีอายุน้อยหรือ มีพุ่มต้นขนาดเล็กจะมีความทนทานได้น้อยกว่า นอกจากนี้ระดับความสูงของน้ำที่ท่วมขังก็มีบทบาทที่สำคัญด้วย หากส่วนของใบอยู่ใต้น้ำแล้วก็จะตายได้โดยง่าย

5. สภาพแวดล้อมที่ถูกน้ำท่วมขัง อุณหภูมิ ความเร็วลม รวมทั้งสภาพของน้ำที่ท่วมขังก็เป็นส่วนประกอบร่วมด้วย อุณหภูมิสูง ลมพัดจัดและน้ำนิ่งย่อมทำให้ความอยู่รอดของต้นไม้ผลสั้นลง ต้นที่ถูกลมพัดโยกคลอนมักมีโอกาสตายสูง


เอกสารประกอบการค้นคว้า

รวี เสรฐภักดี. 2540. ต้นไม้ผลในสภาวะถูกน้ำท่วมขังและแนวทางการแก้ไข, หน้า 9-20. ใน อุทกภัย : ผลกระทบต่อสวนไม้ผลและแนวทางแก้ไข. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.


รวี เสรฐภักดี และธีระ ภู่หิรัญ. 2540. สภาวะน้ำท่วมสวนของ คุณพยงค์ ภู่หิรัญในปี 2539, หน้า 69-84. ใน อุทกภัย : ผลกระทบต่อสวนไม้ผลและแนวทางแก้ไข. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กราบขอบพระคุณ ท่านรศ.ดร.รวี เสรฐภักดี ท่านผศ. ดร.ลพ ภวภูตานนท์และคณะ เป็นอย่างสูง
ติดต่อภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรกำแพงแสน โทร 034-351889

หมายเลขบันทึก: 621241เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2017 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2017 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท