Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

S-LA-ET .... เป็น Output Management .... ทุนการทำงานมาจาก HSF เสียร้อยละ ๘๐ ??


S-LA-ET คืออะไรกัน ?

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙

https://www.facebook.com/archanwell/posts/10154154426821425

-----------------------------

‪#‎NoteOFArchanWell

-------------------------------

อ.แหววอยากบันทึกว่า งานที่เน้นทำมากในช่วงปีหลังนี้ ก็คือ งานทัพหลังทางวิชาการ ลงนั่งอ่านและเขียนหนังสือ และส่งความเห็นทางวิชาการไปตามที่ต่างๆ ซึ่งคนที่ได้รับความเห็น ก็เห็นด้วยกับผู้ส่งบ้าง ไม่เห็นด้วยบ้าง แถมเกิดความชอบหน้าผู้ส่ง หรือเกลียดหน้ากันไปเลยก็มี

นับแต่ พ.ศ.๒๕๕๕ ซึ่งเริ่มต้นทำงานวิจัยที่เรียกกันเองว่า "งาน สมศ.๘+๙" ก็คิดว่า ผลงานที่ควรทำมี ๓ อย่าง ก็คือ

(๑) ผลการศึกษาจากการสำรวจสถานการณ์ทั้งด้านข้อเท็จจริงและข้อความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่ศึกษา ตอนนี้ เรียกกันในบางกอกคลินิก และมวลมิตรว่า "Study"

(๒) พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสถานการณ์ที่ศึกษากันจนเสร็จแล้วหรือครึ่งๆ กลางๆ ระหว่างคนในบางกอกคลินิกเอง และระหว่างคนในบางกอกคลินิกกับคนนอก โดยเฉพาะ (๒.๑.) เจ้าของปัญหา (๒.๒.) ผู้สนับสนุนเจ้าของปัญหา (๒.๓.) ผู้รักษาการตามกฎหมาย และ (๒.๔.) ผู้ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้รักษาการตามกฎหมาย ตอนนี้ เรียกกันในบางกอกคลินิก และมวลมิตรว่า "Learning Area" พื้นที่เรียนรู้นี้ อาจจะเป็นบนอินเตอร์เน็ต หรือทางไปรษณีย์ อย่างที่เห็น หรือในห้องประชุมแบบจองตา ได้ยินเสียงกันจริงๆ

(๓) ทีมประสิทธิภาพ เรียกกันในบางกอกคลินิกและมวลมิตรว่า "Effective Team" เป็นผลโดยธรรมชาติจากการทำงานตาม (๑) และ (๒) ซึ่งจะทำให้เราเห็นทีมประสิทธิภาพในแต่ละเรื่อง เราพบว่า หากเจ้าของปัญหาลุกขึ้นเรียนรู้และแลกเปลี่ยน พวกเขาก็จะเป็นหัวหน้าทีมประสิทธิภาพด้วยตัวเอง เป็นเหมือนตุ๊กตาล้มลุก เป็นเหมือนแมวเก้าชีวิต มีความเป็นอมตะ และการแก้ไขปัญหาก็จะเป็นไปได้เสมอ และมีความสำเร็จขึ้นเรื่อยๆ ทีละเปราะของปัญหา ในกรณีที่เจ้าของปัญหาซุกตัวเงียบๆ รอคอยคนช่วย ปัญหาก็จะแก้ไขไม่ค่อยได้

ในช่วงเวลานี้ ถ้าอยากจะมีคำย่อของผลงานที่คาดว่า จะเกิดขึ้น ก็คือ S-LA-ET .... ในช่วงนี้ เป็น Output Management .... ทุนการทำงานมาจาก HSF เสียร้อยละ ๘๐ ?? น่าจะใช่ ที่เหลือก็คือ เงินบริจาคที่มีคนให้บางกอกคลินิก และเงินในกระเป๋าตังค์คนทำงานแต่ละคน ขอบคุณผู้สนับสนุนทุนการทำงานทุกคน

คงต้องบันทึกอีกอย่าง เจ้าของปัญหาที่มาขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย มีทั้งที่เป็น (๑) บุคคลธรรมดาที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย หรือที่เราเรียกว่า "คนไร้รัฐไร้สัญชาติ" และ "คนหลายรัฐหลายสัญชาติ" และ (๒) บุคคลธรรมดาที่ไม่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย แต่มีปัญหาเรื่องอื่น ที่ตอนนี้มามาก ก็คือ ปัญหาการใช้สิทธิก่อตั้งครอบครัว ทั้งโดยธรรมชาติ และโดยการยอมรับ กล่าวคือ ครอบครัวบุญธรรม และปัญหาการใช้สิทธิทำงานในประเทศไทย

ในช่วงนี้ เห็น "คนเสมือนไร้สัญชาติ" โผล่หน้ามามากขึ้น เริ่มนิยามและจำแนกได้ชัดเจนมากขึ้น

-------------

อ้างอิงถึง

------------

Siwanoot Soitong Papawadee Salakphet Net Pimchanok Sleepy Koala Puangrat Patomsirirak Phunthip Saisoonthorn Chatchai Chetsumon

คำสำคัญ (Tags): #S-LA-ET
หมายเลขบันทึก: 620786เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2016 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2016 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท