บันทึกที่ 25 สอนประวัติศาสตร์ อย่างไรดี ? (14 ธันวาคม 2559)


เป็นอีกอาทิตย์หนึ่งที่ปิดเรียนวันจันทร์
ยังคงเป็นปัญหาค้างคาในใจของฉัน
เพราะตั้งแต่เปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 นี้
ได้สอนชั้นเรียนที่มีเรียนในวันจันทร์ได้เพียงชั่วโมงเดียว
การหาเวลาสอนเสริมก็ยากเหลือแสน
เพราะเป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ซึ่งทางสายชั้นได้จัดการสอนซ่อมเสริมเพื่อการสอบ O - NET
จะแทรกตรงไหนก็ไม่ได้จึงต้องรอคอยวันเวลาที่จะกลับมาเปิดวันจันทร์ตามปกติ

มาเข้าถึงเรื่องที่จะทำการปรึกษาในวันนี้
เป็นการจัดการเรียนการสอน
รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เพราะเนื้อหานั้นมีแต่ใช้ความจำ จำ จำ
ซึ่งเนื้อหาก็เยอะมาก ๆ ฉันจึงแบ่งเนื้อหาให้ละเอียดยิ่งขึ้น
โดยไม่หวั่นเกรงว่าเวลาจะเพียงพอหรือไม่
เพราะมันยังดีกว่าเราสอนไปโยที่เด็กยังอ้าปากหวอ
แล้วรำพึงว่า "ครูสอนอะไร"

"การนำเสนอความรู้หน้าชั้นเรียน"
เป็นกระบวนการที่ฉันคิดว่าจะสะท้อนการถ่ายทอดของฉันดีที่สุด
และฉันจะได้รู้ว่าสิ่งที่เราทำมันส่งความรู้ไปยังตัวนักเรียนหรือไม่
จากการนำเสนอของนักเรียน ฉันได้เห็นท่าทางความไม่มั่นใจของนักเรียน
ว่า "จะถูกไหมหนอ ?" เป็นท่าทางที่แสดงถึงความคิด
ในจิตใจว่า "อะไรไม่รู้เยอะแยะไปหมด"
หลังจากการนำเสนอครั้งนี้ ฉันจึงเรียนรู้ว่า
"ต้องแบ่งเนื้อหาให้น้อยลงอีก"
และถือคติ "สอนน้อย รู้นาน" ดีกว่า
"สอนมาก ไม่ได้อะไรเลย"



หมายเลขบันทึก: 620385เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2016 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2016 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท