การบริหารด้วยแนวความคิดแบบ Agile


เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานด้วยแนวความคิดแบบ Agile

Agile ตามความหมายของคำหมายถึงความยืดหยุ่น ความคล่องตัว ซึ่งรวมไปถึงความเร็วในการปรับเปลี่ยน ซึ่งได้กลายเป็นแนวความคิดที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับวิธีการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการบริหารองค์กร การบริหารทีมงาน และการบริหารโครงการโดยเฉพาะโครงการพัฒนาระบบ IT

ทำไมต้อง Agile แล้วการบริหารแบบปัจจุบันไม่ดีอย่างไร

สิ่งที่ผู้บริหารกำลังกังวลในตลาดการแข่งขันปัจจุบัน คือ การที่องค์กรหรือธุรกิจไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ทันตามตลาด หรือตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมากมายที่ต้องล้มละลายหรือขาดทุน เพราะไม่สามารถปรับตัวเองได้ทัน ที่คุ้นๆกันก็เช่น Kodak และ Nokia เป็นต้น

ดังนั้นการนำแนวความคิดการบริหารแบบ Agile มาใช้ก็เพื่อสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการทำงานให้ทีมงานสามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถสร้างโอกาศใหม่ๆทางธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม

องค์กรในต่างประเทศมากมายทั้งองค์กรขนาดใหญ่และ Startup ทั้งหลายได้นำแนวความคิดแบบ Agile ไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายมิติ ผู้บริหารองค์กรในประเทศไทย ก็เริ่มสนใจแนวความคิดนี้มากขึ้น ผมได้มีโอกาสศึกษาและแลกมุมมองกับผู้บริหารหลายท่านในแนวทางการบริหารแบบ Agile นี้ ในระหว่างเป็นที่ปรึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation) เลยอยากเอามาแบ่งปันเผื่อจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน

จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมมองเห็นหัวใจสำคัญของการบริหารแนว Agile มีดังนี้

1) การตัดสินใจที่รวดเร็ว - ซึ่งหมายถึงต้องมีการกำหนดกระบวนการตัดสินใจ รวมถึงกำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจที่ชัดเจน ใครเป็นคนมีอำนาจตัดสินใจเรื่องไหน แค่ไหน และเมื่อไหร่

2) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ - ทุกคนที่เกี่ยวข้องรับทราบว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะอะไร ใครทำอะไรอยู่ ทำทำไม แล้วใครจะทำอะไรต่อไป แบบที่ฝรั่งบอกว่า on the same page

3) ผู้บริหารให้อำนาจทีมงาน (empower) - คนทำงานหรือที่เรียกว่าอยู่หน้าบ้านสามารถตัดสินใจ ในการดำเนินการ หรือในการแก้ไขปัญหาได้ ในระดับที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ (Trust) จากผู้บริหาร

4) มี Teamwork - บทบาทของแต่ละคนมีความชัดเจน แต่มีบรรยากาศที่พร้อมจะช่วยกัน ทุกคนแสดงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ และยอมรับความแตกต่างในแต่ละคน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดกันอย่างเต็มที่

5) การยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Embrace change) - ทุกคนยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ และเมื่อเกิดเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทุกคนยอมรับและเต็มที่ที่จะทิ้ง"ของเก่า" คือไม่มีการยึดติด ไม่ว่าจะความคิด หรือกระบวนการทำงาน

6) เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และ หาแนวทางอย่างรวดเร็ว - มีการวิเคราะห์และ feedback เป็นประจำ เพื่อดูว่ามีประเด็นไหนที่สามารถปรับปรุงได้ หรือเรียนรู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากเหตุผลอะไร หาทางป้องกัน หา action plan และเดินหน้าต่อ (move on)

ประเด็นเหล่านี้ ที่จริงเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นอยู่แล้วในการทำงานหรือเป็นวัฒนธรรมองค์กร แต่กลายเป็นว่าในความเป็นจริงกลับเป็นไปได้ยาก ใน blog หน้าผมจะมาแบ่งปันเพิ่มเติมว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้เกิดบรรยากาศแบบ Agile กันครับ

หมายเลขบันทึก: 620019เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2016 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท