วันที่ 12 แนะแนวตาบอดสี (23 พฤศจิกายน 2559)


งานที่ได้รับมอบหมายชิ้นนี้เป็นงานที่เราไม่เคยทำแต่ก็ดีนะจะได้คุ้นเคย
หลังจากที่ได้คัดกรองนักเรียนเกี่ยวกับอาการตาบอดสี แล้วส่งผลการตรวจให้ครูที่รับผิดชอบภารกิจเสร็จแล้วแต่ยังไม่ใช่
ขั้นต่อไปคือนำผลการคัดกรองของแต่ละชั้นมาสรุป!! ไม่ได้ง่ายและไม่ได้ยากเลย เพียงแต่เราไม่รู็จักโรคนี้มาก่อน
ก็ต้องหาข้อมูลเพิ่มเต็ม เพื่อให้เข้าใจโรคนี้ดีขึ้น ในแบบสรุปรายงานผลมีคำถามบางคำถามที่ไม่สามารถตอบได้
ก็เลยต้องหาที่ปรึกษา รู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่รู้จักกับครูแนะแนวท่านกับอาจารย์อีกท่านหนึ่งเคยได้เรียนเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลตอนปี4ท่านเป็นพยาบาลพอปรึกษาจากผู้รู้ทั้งสองท่านก็พอจะตอบคำถามได้บ้าง
งานนี้ถึงจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของเราแต่ก็ทำให้ได้เรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินการจนมาถึงการสรุปผลเพื่อรายงาน
ซึ่งไม่ได้ยากและไม่ได้ง่ายแต่ต้องทำให้ถูกต้อง เพราะโรคนี้นับว่ามีความสำคัญกับนักเรียนเพราะโรคนี้เป็นแล้วไม่หาย
ในอนาคตเราไม่รู้หรอกว่านักเรียนแต่ละคนจะเลือกประกอบอาชีพอะไร หากพบว่าเป็นโรคตาบอดสีก็เป็นผลดีที่จะได้หาแนวทางป้องกัน
และจะได้วางแผนการเรียนในอนาคตนั่นเอง

จากการสืบค้นข้อมูลสำหรับผู้ที่เป็นโรคตาบอดสี

แก้ไขตาบอดสีได้อย่างไร?

ภาวะตาบอดสี เป็นภาวะที่รักษาไม่ได้ ไม่อาจหาเซลล์รูปกรวยสีต่างๆมาชด เชยเซลล์รูปกรวยสีต่างๆที่ขาดหายไปได้ คนตาบอดสีจึงมักแยกสีที่ใกล้เคียงกันไม่ได้ แต่บางครั้ง อาจใช้แว่นซึ่งมีเลนส์บางชนิดเป็นตัวช่วยกรองแสง บางสีออก ไป เพื่อช่วยให้เห็นสีต่างๆได้ชัดขึ้นคนตาบอดสีแดงไม่สามารถแยกสีแดง และสีส้ม ออกจากสีเขียวได้ แต่ถ้าใช้แว่นกรองสีแดงออกจะเห็นสีเขียวชัดขึ้นเพราะสีเขียวจะเด่นขึ้นมา หลักการก็คือ เพิ่มความเข้มของสีหนึ่งให้ต่างจากอีกสีหนึ่ง ทำให้ผู้นั้นเห็นความแตกต่างของสี คนตาบอดสีแดง จึงใช้แว่นเลนส์สีน้ำตาลช่วยให้เห็นสีแดงเด่นชัดขึ้น จึงแยกจากสีเขียวได้ง่าย เพื่อช่วยในการสอบใบขับขี่ เป็นต้นสำหรับคนตาบอดสีเขียว การใช้แว่นที่มีเลนส์สีเขียวไม่สามารถทำให้สิ่งของสีเขียวเด่นขึ้นมาได้ เพราะแสงสี

ขียวผ่านเลนส์ได้ยาก อีกทั้งการลดแสงสีอื่นๆ จะทำให้มองภาพมัวลงไป จึงไม่เหมาะที่จะใช้เลนส์สีเขียวแก้ภาวะตาบอดสีเขียวอย่างไรก็ตาม การใช้แว่นกรองแสงบางสี ไม่ได้ทำให้คนตาบอดสีนั้นๆ เห็นสีเหมือนคนปกติ เพียงแต่ช่วยให้เขาแยกสีได้ดีขึ้นขณะใช้แว่นกรองแสงบางสีเท่านั้น อนึ่ง ผู้ป่วยตาบอดสีจากสาเหตุที่เกิดในภายหลังไม่ใช่เกิดแต่กำเนิด การดูแลรักษาตาบอดสีคือการดูแลรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ ซึ่งบางครั้งอาจช่วยให้การเห็นสีดีขึ้น แต่บางครั้งการรักษาไม่ได้ผล อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาสาเหตุจะช่วยป้องกันหรือช่วยชะลอโอกาสเกิดตาบอดสีได้

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อตาบอดสี?ควรพบแพทย์เมื่อไร?

เมื่อมีบิดา หรือมารดาตาบอดสี หรือสังเกตเห็นความผิดปกติในการเห็นสี หรือสงสัยว่าตนเองเห็นสีผิดปกติ ควรรีบพบจักษุแพทย์ (หมอตา) เสมอ เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอนรวมทั้งการหาสาเหตุ ทั้งนี้เพื่อการปรับตัว เรียนรู้ในการใช้สีต่างๆในชีวิตประจำวัน การเลือกวิชาที่จะเรียน และเลือกอาชีพ ที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นกับการใช้สี รวมทั้งควรแจ้งให้ครอบครัว ให้ที่ทำงาน และให้คนรอบข้างทราบถึงภาวะตาบอดสีของเรา เพื่อปรับการใช้ชีวิต และการทำงาน ป้องกันการผิดพลาดจากการใช้สีการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำอย่างน้อยทุกปี หรือบ่อยตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ ซึ่งควรรวมทั้งการตรวจภาวะตาบอดสีด้วย โดยเริ่มตั้งแต่เด็กเมื่อเด็กสามารถให้ความร่วมมือในการตรวจได้ คือ ช่วงอายุประมาณ 3-5 ปี โดยเฉพาะเมื่อบิดา หรือมารดาตาบอดสี จะช่วยการปรับตัวของเด็กในการใช้ชีวิตประจำวัน และในการเรียนได้ดีกว่าการปรับตัวช่วงเป็นผู้ใหญ่ ทั้งนี้ควรแจ้งให้เด็กทราบว่าเด็กมีตาบอดสี และเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ ผู้ปกครองควรแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก โดย เฉพาะคุณครู ห้องพยาบาล และโรงเรียนทราบว่า เด็กตาบอดสี เพื่อคุณครูได้ให้การดูแลเด็กเป็นกรณีพิเศษ เช่น ตำแหน่งที่นั่งเรียนในห้องเรียน หรือการใช้สีต่างๆในการเรียน การสอนของคุณครู เป็นต้น

ที่มา http://haamor.com/th/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E...

หมายเลขบันทึก: 620000เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2016 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2016 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท