​สมมติมรณะ กับ สมุทเฉทมรณะ แบบ "ธรรมนิยาม"


สมมติมรณะ กับ สมุทเฉทมรณะ แบบ "ธรรมนิยาม"

**************************
หลังจากการศึกษาธรรมะในขั้นปริยัติ มาระยะหนึ่ง โดยเฉพาะพระอภิธรรม ในปรมัตถธรรม 4 ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดับของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน

ทำให้เข้าใจถึงการเกิด (ชาตะ) และ ดับ (มรณะ) ไปตามความเป็นจริงมากขึ้นอีกขั้นหนึ่ง และเพิ่งตระหนักชัดเจนมากขึ้น ถึงความแตกต่างระหว่าง สิ่งสมมติ กับสิ่งที่เป็นจริง อย่างเกือบจะตรงกันข้ามกันเลย

ทั้งการเกิด และ การดับ
----------------------------------------
แต่ก่อน ....เข้าใจเพียงว่า การเกิดจากท้องแม่ คือ การเกิด และ การสิ้นลมหายใจ คือ การดับ ทั้งๆที่ เป็นเพียงระดับ "พีชนิยาม" เท่านั้นเอง

แต่ตามคำสอนของพระพุทธองค์ ในพระอภิธรรม ท่านได้กล่าวไว้ว่า การเกิดเริ่มต้นนั้น ตาม "จิตนิยาม" คือ การเกิดของจิตเริ่มต้น มาหลายภพชาติแล้ว และดับแบบ "ชั่วคราว" (ขนิกมรณะ) มาตลอด เป็นแสนๆ ครั้งต่อวินาที แต่ เกิดดับ สืบต่อกัน นั้น "ลวงความรู้สึก" แบบหยาบๆ จนทำให้เราไม่ทันรู้ตัว (ขาดสติ)

ทำให้เรา "รู้สึกว่า" ยังไม่ดับ

แม้การสิ้นลมหายใจ ( ภาษาธรรมะ ว่า "สมมติมรณะ") ที่เป็นการสิ้นสุดการทำงานของร่างกายเนื้อ (ระดับ "พีชนิยาม") ที่เรา "ยืมธรรมชาติ" มาใช้อยู่นี้ "จิต" ก็จะยังไม่ดับแบบสมบูรณ์ แต่จะยังคงเป็น "ขนิกชาตะ" และ "ขนิกมรณะ" เกิดสลับต่อเนื่องกันไป อย่างไม่มีระหว่างคั่น

และยังจะเกิด-ดับ ไปตาม "กรรม" (ตาม"กุศล-อกุศลกรรม") ต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อหาที่ "ยืม" ร่างใหม่ได้แล้ว ก็ไปใช้ร่างอื่นๆต่อไป ตาม "กรรมนิยาม"
--------------------------------------------------------

ดังนั้น การดับอย่างสมบูรณ์ (สมุทเฉทมรณะ) ก็คือ การดับของจิต อย่างไม่เกิดอีก จิตที่ดับไปไม่มีกรรม (ทั้งกุศล-อกุศล) ที่ต้องทำให้เกิดอีก เท่านั้น

คือไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดใน "วัฏฏสงสาร" อีกต่อไป

ดับทั้ง กรรมนิยาม (มรณกรรม) พีชนิยาม (การดับของร่างที่ยืมมา) จิตนิยาม (ดับจิต)

สิ่งที่เหลือ ที่จะดำเนินต่อไปตาม กฎธรรมนิยาม ทั้งหมด ก็เพียง อุตุนิยาม เท่านั้นเอง
ที่เป็นการเกิดดับ ตาม "สัจจธรรม" ของจักรวาล
-------------------------------------------------

ที่จะต้องอาศัย พัฒนาความรู้ และความเข้าใจ ความเป็นจริง ไปทีละน้อยๆๆๆ จนกว่าจะสามารถอยู่กับธรรมชาติ อย่างเข้าใจ ธรรม-ชาติ ได้จริงๆ ต่อไปครับ
++++++++++++++++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 618980เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2016 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2017 07:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าจัดทำเป็นบทเรียนวิชาเลือกเพื่อการศึกษาเรียนรู้ซ้ำๆ สำหรับเด็กๆนะครับท่านอาจารย์

สวัสดีครับ เคยพบมีผู้อธิบายว่า การใช้ "ชาตะ" คู่กับ "มตะ" แต่ท่านอธิบาย คำใช้ "ชาตะ" คู่กับ "มรณะ" อยากได้คำแลกเปลี่ยนครับ

ชาตะ แม่ว่าเกิด มตะ แปลว่า ตาย มรณะ แปลว่า สิ้นสุด การสิ้นสุด ไม่จำเป็นต้องตาย

คำว่า มตะ เป็นการตัดคำ มาจาก อมตะ ผมว่าไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น คำตรงๆก็มี น่าจะใช้ได้ครับ


แล้วท่านเห็นสิ่งสมมติ กับสัจจะ แยกจากกัน หรือยัง ถ้ายังไม่แยก คำไหนก็ "สับสน" ได้ทั้งนั้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท