การอ่านออกเขียนได้ "การยอมรับปัญหาและหาทางแก้ไข"


ปัญหาการอ่าน

1. จำรูปและเสียงสระไม่ถูกต้อง

2. จำรูปและเสียงพยัญชนะไม่ถูกต้อง

3. จำรูปวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง

4. ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง

5. อ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราไม่ถูกต้อง

6. อ่านประสมคำไม่ได้

7. อ่านไม่ถูกอักขรวิธี

8. อ่านคำพ้องรูปไม่ถูกต้อง

9. อ่านคำที่มีอักษรควบ อักษรนำไม่ถูกต้อง

10. แบ่งวรรคตอนไม่เหมาะสม

11. อ่านตู่ตัว

12. อ่านตก อ่านซ้ำ อ่านเกิน อ่านสลับคำ

13. อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน

14. ใช้นิ้วชี้ตัวอักษรขณะอ่าน

15. อ่านช้า อ่านไม่คล่อง

16. อ่านจับใจความไม่ได้

17. ไม่มีสมาธิในการอ่าน

ปัญหาการเขียน

1. จำรูปและเสียงสระไม่ถูกต้อง

2. จำรูปและเสียงพยัญชนะไม่ถูกต้อง

3. จำรูปวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง

4. ใส่รูปวรรณยุกต์กำกับไม่ตรงกับเสียงอ่าน

5. เขียนตัวอักษรไม่ถูกอักขรวิธี

6. เขียนลายมือหวัดไม่เป็นตัว ไม่มีระเบียบ

7. เขียนลีลามือไม่ถูกต้อง

8. เขียนเว้นช่องไฟไม่สม่ำเสมอ

9. เขียนแบ่งวรรคตอนไม่เหมาะสม

10. เขียนฉีกคำ

11. เขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราไม่ถูกต้อง

12. เขียนประสมคำไม่ได้

13. เขียนคำที่ประหรือไม่ประวิสรรชนีย์ไม่ถูกต้อง

14. เขียนคำที่มีอักษรควบอักษรนำไม่ถูกต้อง

15. เขียนคำที่มีสระลดรูปไม่ถูกต้อง

16. เขียนคำที่มีสระเปลี่ยนรูปไม่ถูกต้อง

17. เขียนคำพ้องเสียงไม่ถูกต้อง

18. เขียนคำที่มีตัวการันต์ไม่ถูกต้อง

19. เขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศไม่ถูกต้อง

20. วางตำแหน่งสระและวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง

21 เรียงคำเข้าประโยคไม่ถูกต้อง

22. ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง

23. เรียบเรียงถ้อยคำเป็นเรื่องราวไม่ได้

24. เขียนสะกดคำไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี

25. วงศัพท์น้อย คิดคำไม่ออก

26. เลือกคำมาใช้ไม่ตรงกับความหมาย

พฤติกรรมเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน

1.จำตัวอักษรไม่ได้ทำให้อ่านไม่ได้หรือจำตัวอักษรได้บ้างแต่อ่านเป็นคำไม่ได้

2.อ่านช้ามีความยากลำบากในการอ่านเช่นอ่านคำต่อคำจะต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้

3.อ่านผิดเช่นอ่านคำผิดอ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง

4.อ่านข้ามคำอ่านเพิ่มคำหรือลดพยัญชนะในคำอ่านฉีกคำ

5.อ่านคำโดยสลับตัวอักษร

6.อ่านเดาจากตัวอักษรบางตัวที่มีอยู่ในคำ

7.อ่านเว้นวรรคไม่ถูกต้อง

8.ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านไม่ได้

9.เล่าเรื่องที่อ่านตามลำดับเหตุการณ์ไม่ได้

10.บอกใจความสำคัญของเรื่องไม่ได้

พฤติกรรมเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน

1. เขียนไม่เป็นตัวอักษรเขียนอ่านไม่ออกเขียนวนๆไปมาเขียนหนังสือตัวโต

2. เขียนไม่ตรงบรรทัดเขียนเกินบรรทัดเขียนไม่เต็มบรรทัด

3. เขียนตัวอักษรไม่เท่ากัน

4. เขียนตัวอักษรหัวกลับหรือกลับด้าน

5. เขียนตัวอักษรติดกันไม่เว้นช่องไฟ

6. เขียนผิดเขียนลบบ่อยเขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

7.เขียนตัวอักษรหรือวรรณยุกต์ตกหล่นไม่ตรงตำแหน่ง

8. เขียนอักษรในคำสลับที่กันเรียงลำดับอักษรผิด

9. เขียนประโยคง่ายๆ ไม่ได้

10. เขียนตามที่กำหนดไม่ได้

11. เขียนเรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้

12 เขียนบรรยายภาพเล่าเรื่องแสดงความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการไม่ได้

</span></span>

ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้

1. สร้างแรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจที่ทำให้ครูมุ่งมั่นพัฒนาให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ มีดังนี้

1.1 เป็นความรู้สึกรับผิดชอบของครูที่ต้องพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในภาษาไทย เกิดความภูมิใจในมรดกของชาติ คือ ภาษาไทย

1.2 การที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยต่ำซึ่งเป็นภาษาของคนไทย ดังนั้นจึงจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ปัญหานี้

1.3 ครูเห็นความจำเป็นที่ต้องฝึกให้นักเรียนมีทักษะในการประมวลความคิด สรุปความรู้ ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า เขียนเป็นความเรียงในระดับที่สูงขึ้น

2. แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีตัวอย่าง ดังนี้

2.1 กิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน

2.1.1 การฝึกการอ่านให้คล่อง อาจฝึกตามกิจกรรมต่อไปนี้

1) ฝึกอ่านคำพื้นฐาน

2) ฝึกอ่านคำยากจากบทเรียน

3) ใช้แบบฝึกทักษะการอ่านที่หลากหลาย

4) ฝึกทักษะโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน

2.1.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน อาจฝึกตามกิจกรรมต่อไปนี้

1) อ่านแล้วบันทึกความรู้โดยการบันทึกแหล่งอ้างอิงของเรื่องที่อ่าน

2) อ่านแล้วเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง

3) กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคนวันละ 15 นาที

4) ฝึกอ่านแล้ววาดรูปจากเรื่องที่อ่าน

5) ฝึกอ่านแล้วตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน

6) ฝึกอ่านแล้วเขียนเรื่องใหม่จากเรื่องที่อ่านโดยการดัดแปลง สร้างสรรค์เนื้อหาใหม่จากเรื่องที่อ่านโดยการดัดแปลง สร้างสรรค์เนื้อหาใหม่แต่คงยึดเค้าโครงเรื่องเดิม

7) ฝึกกิจกรรมภาษาไทยวันละคำ

8) ฝึกวันละหนึ่งสำนวนช่วยกันอ่าน

2.1.3 ฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ อาจฝึกตามกิจกรรมต่อไปนี้

1) อ่านคำสำนวน

2) ฝึกอ่านแล้วแปลความหมายของคำ

3) อ่านแล้วตั้งคำถาม

4) อ่านวิเคราะห์บทเพลง

5) อ่านวิเคราะห์นิทาน

6) อ่านวิเคราะห์ข่าว

7) อ่านวิเคราะห์บทกวี ร้อยกรอง

8) อ่านวิเคราะห์บทความ

9) อ่านวิเคราะห์ภาพการ์ตูน

10) อ่านวิเคราะห์คำถาม

2.2 กิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียน

2.2.1 เขียน (จัดทำ) หนังสือเล่มเล็ก หรือหนังสือภาพ

2.2.2 เขียน (จัดทำ) “หนังสือพิมพ์ยักษ์”

2.2.3 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนเขียน

2.2.4 เขียนตามคำบอก

2.2.5 เขียนคำอ่าน

2.2.6 เขียนจากเรื่องที่กำหนดให้

2.2.7 เขียนบันทึกจากการฟัง โดยการเขียนให้ครอบคลุมประเด็นเรื่องต่าง ๆ เช่น อะไรจากใคร ที่ไหน เมื่อไร เหตุการณ์เป็นอย่างไร มีข้อคิดความเห็นเป็นอย่างไร

2.2.8 ฝึกทักษะการเขียนจากแบบฝึกที่หลากหลาย

สรุป ภาษาไทยเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ถ้านักเรียนยังอ่านออกและเขียนไม่ได้ดี ก็ยากที่จะเรียนรู้เนื้อหาสาระในกลุ่มสาระอื่นได้ ครูจึงต้องตระหนักในเรื่องนี้และให้ความสำคัญในการฝึกทักษะการอ่าน เขียนให้กับนักเรียน แต่ที่สำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ก็คือครูต้องเป็นแบบอย่างในการอ่าน เขียนให้กับนักเรียนด้วย พยามยามใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ที่มีในโรงเรียน ชุมชน ให้เป็นประโยชน์สูงสุด ในการสร้างนิสัยรักการอ่าน เขียนคุณครูต้องฝึกให้ได้ เพราะว่าการอ่านเท่านั้นที่ทำให้เข้าใจโลก นรก สวรรค์ได้ถูกต้อง หลักสำคัญให้ครูยึดคาถาที่ว่า “สอนย้ำ ซ้ำ ทวนเป็นประจำ นำสู่ความสำเร็จ”

อ้างอิงมาจาก

1.คู่มือการใช้แบบทดสอบคัดกรองและแบบทดสอบวินิจฉัยสภาพทางการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน .ชมรมภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4, ม.ป.ป.

2.จัดการเรียนการสอนอย่างไรจึงจะยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น.เอกสารลำดับที่ 6/2554

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2, 2554.

หมายเลขบันทึก: 618975เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2016 04:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2016 04:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท