วิเวกและสันโดษ


ขอน้อมเกล้าถวายอาลัย พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์

ธรรมะรับอรุณ ณ "บ้านเย็นยิ้ม"
วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2559
วิเวกและสันโดษ
...
วิเวก ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก เป็นความสงัดกาย สงัดใจ และสงบอุปธิ (กิเลสอย่างหยาบที่ทำให้สร้างกรรม ทางกาย ทางวาจา) ทั้งปวง ซึ่งวิเวกมี ๓ ลักษณะ ประกอบด้วย
๑. กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่การอยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี
๒. จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ หมายเอาจิตแห่งผู้มีสมาธิและสติ
๓. อุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมอันเป็นที่สงบ ระงับอุปธิทั้งปวง (หมายเอาผู้ฝึกฝนทางปัญญา จนเอาชนะกิเลส อนุสัยและสังโยชน์)

สันโดษ คือ ความยินดี ความพอใจ ความรู้จักพอดี ความรู้จักพอเพียง ซึ่งมีลักษณะ ๓ อย่าง คือ
๑. ยินดีพอใจในสิ่งที่มีที่ได้มา ด้วยเรี่ยวแรงของตนในทางชอบธรรม ไม่ดิ้นรนอยากได้ จนทำให้เกิดความเดือดร้อน
๒. ยินดีพอใจกำลังของตน ใช้กำลังที่มีอยู่ เช่น ความรู้ ความสามารถให้เกิดผลเต็มที่ ไม่ย่อหย่อนบกพร่อง
๓. ยินดีพอใจแต่ไม่เกินเลย คือรู้จักพอเป็น อิ่มเป็น และแบ่งปันส่วนที่เกินเลยไป เอื้อเฟื้อผู้อื่นตามสมควร

สันโดษเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความพอดีในชีวิตประจำวัน ไม่ฟุ้งเฟ้อเกินไป ไม่เขียมเกินไป ไม่ฟุ้งซ่านจนเกิดเดือดร้อน เป็นต้น เป็นแนวปฏิบัติกลางๆ เพื่อให้ชีวิตมีความอิ่ม ไม่พร่อง อันเป็นเหตุให้มีความสุข ดังคำสอนเรื่อง "ความพอเพียง"

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
...
ธรรมะรักษา วิปัสสนาคุ้มครองค่ะ
อจ.พิณจ์ทอง แมนสุมิตร์ชัย (ฉัตรนะรัชต์)

คำสำคัญ (Tags): #วิเวกและสันโดษ
หมายเลขบันทึก: 618942เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2016 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2016 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท