​เรียนให้อภัย



บทความเรื่อง How to Be a Better Forgiver ใน Scientific American Mind ฉบับเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๙ แนะนำหลัก ๔ ประการในเรื่องการให้อภัย


  • ให้อภัยเพื่อความสุขของตนเอง เพราะเมื่อให้อภัยแล้วจิตใจขุ่นมัวของตัวเราเองต่อตัวบุคคล หรือต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะหายไป ผู้เขียนอ้างถึงผลงานวิจัยของ Stanford Forgiveness Project
  • เอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy) วิธีฝึกที่เขาคิดขึ้นเรียกว่า empathy chair dialogue โดยให้ผู้ฝึกพูดกับเก้าอี้เปล่า ที่สมมติว่ามีผู้เป็นตัวการก่อความเจ็บปวดแก่ผู้ฝึกนั่งอยู่ ผู้ฝึกบอกว่าตนเจ็บปวดอย่างไรในเหตุการณ์นั้น หลังจากนั้นให้ผู้ฝึกไปนั่งที่เก้าอี้ตัวนั้น สมมติตัวเองว่าเป็นผู้ก่อเหตุ พูดในฐานะผู้ก่อเหตุว่ามีความจำเป็นหรือมีเหตุผลใด ที่ทำเรื่องนั้น
  • ลด ปฏิกิริยาสู้หรือหนี” (fight or flight reaction) เขาบอกว่าความรู้สึกเจ็บปวดมาเป็นระลอก แล้วเกิดการสั่งสมมากพอจนร่างกายเข้าสู่สภาพ “สู้หรือหนี” ซึ่งผมตีความว่าเข้าสู่สภาพที่สมองสัตว์เลื้อยคลานเข้าครอบงำ วิธีที่เขาแนะนำคือ ให้ใช้เทคนิคจัดการความเครียด ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือหายใจลึกๆ ยาวๆ หรือทำสมาธิแผ่เมตตา (compassion meditation)
  • พยายามฝึกต่อเนื่อง เพราะการให้อภัยต้องใช้เวลา และผมมีความเห็นว่าคนเราควรฝึกทักษะการให้อภัยเป็นคุณสมบัติหรือความสามารถเฉพาะตน จะมีคุณต่อชีวิตที่ดี

ในชีวิตส่วนตัวของผม ผมใช้หลักการให้อภัย ไม่ผูกใจเจ็บต่อคนที่เคยทำร้ายผมมาโดยตลอด จนครั้งหนึ่งคนที่เคยตั้งตัวเป็นศัตรูกับผมถึงกับมากราบ ว่าเขานึกไม่ถึงว่าผมจะดีต่อเขาถึงเพียงนั้น ในกรณีที่เขาถูกกล่าวหาเรื่องทุจริตและผมได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการสอบสวน


การทำสมาธิและแผ่เมตตาเป็นกลไกอีกอย่างหนึ่งที่เราใช้เพื่อสุขภาพจิตของเราได้ เมื่อกว่ายี่สิบปีมาแล้ว ตอนที่ผมมาทำงานที่ สกว. ใหม่ๆ คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในขณะนั้นคือ รศ. พญ. พันธ์ทิพย์ สงวนเชื้อ ขอให้ผมลงไปคุยกับท่านเป็นการปรึกษาหารือเรื่องงานรวมทั้งเรื่องส่วนตัว ท่านเล่าความยากลำบากในการ ทำให้อาจารย์แพทย์บางคนอยู่ในร่องในรอย การที่ต้องขัดใจคนบางคนที่เห็นแก่ตัว และทำผิดระเบียบราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ผมถามท่านว่า “แล้วพี่แก้ความเครียด ของตนเองอย่างไร” คำตอบคือ “พี่ใช้วิธีแผ่เมตตาทุกเช้าตอนนั่งทำสมาธิ”


อภัยทาน เป็นทานที่ยิ่งใหญ่ เป็นการให้ที่ผู้ให้เป็นผู้ได้ คือได้ฝึกฝนตนเอง การฝึกตนเองให้มีทักษะให้อภัย เป็นปัญญาอย่างหนึ่ง ... ปัญญาเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น


วิจารณ์ พานิช

๒๒ ต.ค. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 618738เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์หมอ การให้อภัยเป็นเรื่องที่ต้องฝึกจิตจริง ๆ ค่ะ


เวลาเราปล่อยให้อารมณ์ครอบงำ จิตใจเราก้จะโกรธ ว้าวุ้นมากค่ะ เป็นสันชาติญาณดิบ ซึ่งปลากำลังพยายามฝึกจิตให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ


ปลาทอง

เจอมาสุมการเอาเปรียบหลวง พยายามชี้ทางให้เห็นว่าไม่ถูกต้องและไม่เห็นด้วย จึงถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมในหลายกิจกรรม ตอนแรกน้อยใจแม้กระทั่งคนในฝ่ายเดียวกัน แต่พอนึกถึงคำสอน ความซื่อสัตย์ ต่อหน้าที่ ข้าราชการในพระองค์ทำให้จิตใจมีพลัง ส่วนคนที่ทำไม่ถูกต้องก็แค่แอบทำ โดยไม่เสนอหนังสือผ่าน ใช้คำว่า ไม่เป็นรัย ให้บ่อยขึ้น ดีแล้วที่ไม่มีลายเซนต์เรา ทุกคนเห็นว่าเราตัวประหลาด เพราะที่นี่ใครๆเขาก็ทำกันถือเป็นเรื่องปกติ สาธุผลบุญที่ได้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจงส่งผลต่อผู้ปฏิบัติดีด้วยเถอะค่ะ

ยอมเป็น เย็นสงบ... นะครับอาจารย์ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท