ครูยุคใหม่(ศตวรรษที่21)


การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การสอน หลักสูตรจะยึดโครงงานเป็นฐานการให้การศึกษาตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมจะเปลี่ยนไปเน้นทักษะการเรียนรู้ที่สูงขึ้นโดยเฉพาะทักษะการประเมินค่าแต่ก่อนนกเรียนจะเรียนไปเพื่อรับเกรดและจบการศึกษาแต่ปัจจุบันจะพบว่าการเรียนการสอนจะเน้นให้นักเรียนเตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกความเป็นจริงเน้น การศึกษาตลอดชีวิตโดยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่นและจูงใจผู้เรียนให้มีความคิดสติปัญญาลักษณะของหลักสูตรจะเน้นคุณลักษณะเชิงวิพากษ์เชิงสหวิทยาการยึดโครงงานเป็นฐานและขับเคลื่อนด้วยวิจัยเน้นทักษะการคิดขั้นสูงเทคโนโลยีและมัลติมีเดีย และการประเมินผลตามสภาพจริงหลักสูตรและการสอนมีลักษณะท้าทายสำหรับนักเรียนทุกคนและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลจะไม่เน้นตำราดังนั้นการให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนทัศนะจากกระบวนการดั้งเดิมไปสู่กระบวนการทัศน์ใหม่ ที่ให้ลูกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบในง่ายไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติทักษะการคิดทักษะการแก้ปัญหาทักษะองค์การทัศนคติเชิงบวกทักษะการสื่อสารและค่านิยมทางเทคโนโลยีถือเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับนักเรียนเพื่อเผชิญหน้ากับอนาคตด้วยภาพในทางบวกที่มีความสำเร็จและมีความสุข

การวัดและประเมินผลการวัดผลและประเมินผลจะเป็นการวัดผลแบบ Constructist assessment นิยมเรียกว่าการวัดผลเชิงประจักษ์ตามทฤษฎีการเรียนรู้Constructrism Theoryที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้วยมุมมองที่ว่าผู้เรียนที่ผ่านประสบการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแล้วย่อมมีความรู้ความสามารถแท้จริงในเรื่องนั้นและได้ลงมือปฏิบัติจริงย่อมสามารถสร้างคุณสมบัติให้พวกเขาคิดเป็นทำเป็นและแก้ปัญหาได้

ความต่างระหว่างการวัดแบบดั้งเดิมและการวัดในศตวรรษที่ 21 คือ

การวัดแบบดั้งเดิมจะขึ้นอยู่กับการทดสอบนักเรียนจำเป็นจะต้องหาคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพื่อตอบคำถามแต่ในศตวรรษที่ 21 การสอนการได้รับความรู้และการตรวจสอบ คือกระบวนการเดียวกันและเกิดขึ้นพร้อมพร้อมกันจะมีการสังเกตนักเรียนดูการทำงานของนักเรียนและประเมินไปถึงมุมมองของนักเรียนด้วย

วิธีประเมินได้แก่

1. การอภิปรายปากเปล่าOral คือครูตั้งหัวข้อที่น่าสนใจหรืออาจร่วมกับนักเรียนยกเอาสิ่งที่นักเรียนสนใจมาตั้งเป็นหัวข้ออภิปรายหรือให้มีการอภิปรายหัวข้อต่างๆวิธีนี้ผู้ประเมินสามารถรู้ถึงคุณภาพและคุณสมบัติของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน

2. แผนภูมิKWL (H) เทคนิคนี้สามารถนำมาใช้ได้ตลอดการศึกษาเพื่อประเมินหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเป็นเทคนิคที่แสดงถึงความคืบหน้าของผู้เรียน

3. แผนที่ความคิดMind Mapping คือแผนการปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งว่าจะทำอะไรทำอย่างไรเมื่อไหร่เพื่ออะไร

4. ลงมือทำจริงHands-on สิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้นักเรียนในการจัดสภาพแวดล้อมของพวกเขาผู้สอนสามารถใช้แบบตรวจสอบรายการและสังเกตเพื่อประเมินความสำเร็จของนักเรียนด้วยสิ่งของเครื่องใช้จริงๆ

5. ทดสอบล่วงหน้าPre-testing จะช่วยให้ครูตรวสอบความรู้เก่าที่นักเรียนนำมาต่อยอดความรู้ใหม่เพื่อที่ครูจะนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอนต่อไป

แหล่งที่มา

www.rote21.org.com

https//www.gotoknow.org

คำสำคัญ (Tags): #ครูในศตวรรษที่21
หมายเลขบันทึก: 618735เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

เนื้อหาดีมากๆค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท