พระคือพลังแห่งแผ่นดิน


พระคือพลังแห่งแผ่นดิน

20 ตุลาคม 2559

ทีมวิชาการ สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย [1]

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”

5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” [2]

พระองค์เป็นพระเจ้าอยู่หัวในดวงใจของพสกนิกรชาวไทย “พระคือพลังแห่งแผ่นดิน” มาตลอดเวลากว่า 70 ปี (นับจากปี พ.ศ. 2489) ขอเท้าความนำเสนอในช่วงตลอดรัชกาลของพระองค์ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อเกษตรกร พสกนิกรชาวไทยมาตลอด

ทรงเริ่มพัฒนาการเกษตร “จากเขื่อนถึงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรทฤษฎีใหม่”

ภูมิพลแปลว่า “พลังแผ่นดิน” ช่วงระยะแรกในการครองราชย์ ประกอบการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) [3] พระองค์ทรงสร้างแหล่งเก็บกับน้ำ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอีกหลายเขื่อนทั่วทุกภาคของประเทศ

ต่อมาพระองค์ท่าน ทรงริเริ่มก่อสร้าง “ฝายเก็บน้ำขนาดเล็ก” ให้กระจายทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศ รวมเรียกว่า “โครงการแก้มลิง” [4]

ต่อมาพระองค์ท่านทรงริเริ่มสร้าง “ฝายชะลอน้ำ” [5] เพื่อปลูกหญ้าแฝก การแก้ดิน หมอดิน

ต่อมาพระองค์ท่านก็พระราชทาน “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” [6] โดยแนวคิด “การเกษตรทฤษฎีใหม่” 30 : 30 : 30 : 10 [7]

โดยการ นำที่ดินมาใช้ประโยชน์ ให้มีน้ำมีที่อยู่อาศัย การทำมาหารายได้ ขุดสระเก็บกักน้ำ 30% ปลูกข้าว 30 % ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 30 % เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ 10 %

และการปลูกป่าสามอย่าง (ป่าผลไม้กินได้ ป่าไม้เศรษฐกิจโตเร็ว ป่าไม้ใช้สอยเศรษฐกิจ หรือ ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ และไม้ใช้สอย) ประโยชน์สี่อย่าง (เพื่อปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ ปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยรับน้ำฝนอย่างเดียว และ เพื่อปลูกอนุรักษ์ดินและน้ำ) [8]

ราชาการเกษตรผู้ยิ่งใหญ่

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวล้วนเป็นการ “พัฒนาเกษตรกร” ที่เป็นประชาชนของพระองค์ทั้งสิ้น ให้พสกนิกรอยู่ดี มีความสุข ไม่มีหนี้สิน และทำกินอยู่บนที่ดินของตนเอง กล่าวคือ มีปัจจัยสี่ ไม่เป็นหนี้สินเป็นไทย นั่นเอง เพราะอาชีพเกษตรกรไทยเป็นอาชีพที่มีความสุข และที่หล่อเลี้ยงคนไทยทั้งประเทศ มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันให้อยู่เย็นเป็นสุข

พระองค์ท่านเป็น “พระราชาของเกษตรกร” ที่มี “พระราชวังของราชาการเกษตร” (วังจิตรลดา) [9] มีโครงการพระราชดำริมากมาย นอกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ แล้ว พระองค์ท่านยังทรงริเริ่ม[10] หมายความว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องเกิดจาก ความคิด ความรู้ ความต้องการภายใน เป็นแรงผลักดัน ด้วยต้นเอง ไม่ใช่เกิดจาก คนอื่นมากระตุ้นให้ทำ หรือส่งเสริมให้ทำ

นักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่อยู่ในหัวใจของพสกนิกรชาวไทย

กล่าวโดยสรุป ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ท่าน ก็คือ “พระราชาที่ยิ่งใหญ่ ที่ให้ความสำคัญ ในเรื่องการเกษตร ซึ่งเป็นวิถีชีวิต ของชาวไทยทั้งมวล” เป็น พระราชาแห่งการเกษตรผู้ยิ่งใหญ่ ที่มิใช่นักรบ แต่เป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่อยู่ในหัวใจของพสกนิกรชาวไทยทั้งมวล

ซึ่งเป็นไปตามพระปณิธานของพระองค์ท่านที่มีต่อพสกนิกรเกษตรกรชาวไทยทั้งมวลว่า “ไม่มีไฟ อยู่ได้ ไม่มีถนนอยู่ได้ ไม่มีน้ำเกษตรกรอยู่ไม่ได้” ขอพระองค์จงเสด็จสู่สวรรคาลัย



[1] Phachern Thammasarangkoon & Ong-art saibutra, Municipality Officer ทีมวิชาการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย, หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 ปีที่ 67 ฉบับที่ 23187 หน้า 10, การเมืองท้องถิ่น : บทความพิเศษ & หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 64 ฉบับที่ 4 วันศุกร์ที่ 21 – วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2559, หน้า 66

[2] “We shall reign in righteousness for the benefits and happiness of Siamese people.” ในความนี้ การบริหารจัดการบ้านเมือง ไม่ใช่คำนึงถึงแต่ประโยชน์ ความร่ำรวย หรือความเจริญทาง วัตถุเท่านั้น แต่ความสุขของประชาชนถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน

ดู ศุลีพร บุญบงการ, ศัพท์ควรรู้ ในโครงการพระราชดำริ, http://www.chaipat.or.th/site_content/download/797/7551/18.html

& พระผู้เป็นพลังของแผ่นดิน, 14 ตุลาคม 2559, http://positioningmag.com/9371

ถอดความจากนิตยสาร TIME ฉบับประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2509 ข้อมูลจาก : นิตยสาร POSITIONING ฉบับเดือนธันวาคม 2549

[3] แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509), http://coop.eco.ku.ac.th/learning1/five11.html

[4] สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.), โครงการแก้มลิง,

http://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/28

โครงการแก้มลิงมี 3 ขนาด คือ

1. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้นๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำเหล่านี้ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย เช่น เพื่อการชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น

2. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ มักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น

3. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือแก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง

[5] โครงการฝายชะลอน้ำ, http://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com/content/index.php?page=content&type=view&cat=18&id=297

& องค์การป่ารักษ์น้ำแห่งประเทศไทย -The Wildness Society Organization of Thailand, http://www.wilderness-thailand.com/index-thai.htm

& โครงการปลูกหญ้าแฝก ปลูกต้นไม้และสร้างฝายชะลอน้ำ, สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10(อุดรธานี), 25 สิงหาคม 2557, http://udonthani.dnp.go.th/real/news/detail_news.php?id=1597

โครงการฝายชะลอน้ำ (Check Dam) หรือฝายแม้ว เป็นชื่อเรียก โครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้

[6] จุมพล วิเชียรศิลป์, แนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง (Sufficiency Economy), มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, http://www.stou.ac.th/Offices/rdec/nakornnayok/Main/NK-STOU_Porpeng/Data/แนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง.pdf

& หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข, http://www.tupr.ac.th/sufficency3.php

เป็นบทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือ สรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

3 ห่วง คือ ทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้ ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง

2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม

& หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา, http://www.tupr.ac.th/sufficency2.html

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 กรอบแนวคิด ส่วนที่ 2 คุณลักษณะ ส่วนที่ 3 คำนิยาม ส่วนที่ 4 เงื่อนไข และ ส่วนที่ 5 แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ หรือ เป็นปรัชญา ที่ยึดหลักพิจารณา 5 ประการ (5 ส่วน)

[7] เกษตรตามแนว “ทฤษฎีใหม่”, 18 กันยายน 2556, http://ananya-32.blogspot.com/2013/09/3-1-2-3-4-30-30-30-10-30-30-30-10-30-30_18.html

[8] แนวคิดปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, http://www.greencoun.com/3forest_4benefits.php

[9] ประวัติความเป็นมาพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน, http://www.rspg.or.th/plants_data/palace/chitralada/cld4.htm

[10] หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัว, สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.), http://www.rdpb.go.th/RDPB/front/king.aspx

ทรงใช้คำว่า “ระเบิดจากข้างใน” นั่นคือ ทำให้ชุมชน หมู่บ้าน มีความเข้มแข็งก่อนแล้ว จึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหากับชุมชนหมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือราษฎรตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับสถานภาพ เพื่อที่ราษฎรเหล่านั้นจะได้สามารถพึ่งตนเองได้ และออกมาสู่สังคมภายนอกได้อย่างไม่ลำบาก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท