ฟื้นคืนสุขภาวะและศักยภาพการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม2


มาต่อกันที่กรณีศึกษาที่ 2 กันเลยนะคะ

กรณีศึกษาที่ 2 เคสวัย 70 ปี เป็นสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากเข้าสังคม เงียบคนเดียว เดิมเป็นทนายความ และเครียด ด้วยภาระหนี้สินสะสมจากคดีความไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้

วิเคราะห์ตาม PEOP


Motivation : อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง

Negative role transformation : จากอดีตเป็นทนายความ ต้องกลายเป็นผู้ว่างงานและมีความเครียดเรื่องภาระหนี้สินสะสมจากคดีความไม่สำเร็จ

Positive role transformation : สามารถจัดการความเครียดตนเองและทำงานเหมือนกิจกรรมยามว่างได้

Job analysis : การปลูกผักเรดโอ๊ค

กิจกรรมที่ทำในงาน

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง

หว่านเมล็ดที่ได้มาลงภาชนะที่เตรียมไว้

  • Attention
  • Sequencing
  • Visual perception
  • Hand function

เอาฟางคลุม

  • Attention
  • Sequencing
  • Visual perception
  • Hand function

รดน้ำ

  • Orientation of time
  • Memory
  • Hand function
  • Visual perception

ย้ายกล้าไปปลูกในแปลง

  • Orientation of time
  • Memory
  • Hand function
  • Visual perception
  • Sequencing

การเลือกปลูกผักเรดโอ๊ดเนื่องจากเป็นต้นไม้ทานได้ ดูแลง่ายและมีระยะการเก็บเกี่ยวเร็วภายใน 40 วัน มีรายได้ดี

โรคสมองเสื่อม (dementia) อาจทำให้ผู้รับบริการสูญเสียการทำหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อม ๆ กัน แบบค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ พฤติกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ขัดขวางต่อการทำกิจกรรมและส่งผลกระทบต่อการทำงาน ควรมีการปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้รับบริการ

Problem lists

  • ผู้รับบริการมีความเครียดเกี่ยวกับหนี้สินจากคดีความไม่สำเร็จ
  • ผู้รับบริการต้องการทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง
  • ผู้รับบริการไม่เข้าสังคม

Intervention Plan

Goal 1: ผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดการความเครียดได้ด้วยตนเอง ภายใน 1 สัปดาห์

FoR/Model: MOHO, Psychosocial rehabilitation

Approach: Relaxation technique, Energy conservation, Stress management, CBT

Therapeutic activity:

  • Progressive muscle relaxation โดยการให้หลับตา เกร็งแล้วคลายกลุ่มกล้ามเนื้อจากส่วนบนไปส่วนล่างของร่างกาย พยายามตั้งสมาธิไปที่บริเวณที่เกร็ง รับรู้ว่ากำลังเกร็งและให้รู้สึกถึงความผ่อนคลายเมื่อปล่อย
  • Meditation & Breathing exercise ฝึกนั่งสมาธิและฝึกหายใจ โดยให้หายใจเข้าออกยาวๆ หายใจเข้าท้องป่องหายใจออกท้องแฟบ
  • Cognitive Behavioral Therapy ฝึกรับรู้ความคิดด้านลบและความคิดที่ไม่เป็นจริงที่ตนเองกังวล และแทนที่ด้วยความคิดที่เป็นจริง มีเหตุผล

ใช้วิธีการให้ผู้บำบัดเป็นผู้นำสอนผู้รับบริการ ทำไปพร้อมกันจนผู้รับบริการสามารถนำไปทำเองได้

Goal 2: ผู้รับบริการสามารถทำงานปลูกเรดโอ๊ดแบบกิจกรรมยามว่างได้ ภายใน 4 สัปดาห์

FoR/Model: Occupational adaptation, Occupational transtheoretical model (MOHO+PEOP), Ergonomic

Approach: Work conditioning, Work hardening, Job modification, Repetition

Therapeutic activity:

Occupational transtheoretical model

Volition Subsystem : P+E ให้ผู้รับบริการรับรู้ปัญหาของตนเองทั้งด้านการดำเนินโรค ความเครียดและรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและพึงพอใจก็คือการปลูกต้นไม้กินได้ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตรงกับความต้องการที่อยากทำงานเหมือนกิจกรรมยามว่างก่อให้เกิดรายได้

Habituation Subsystem : รับรู้นิสัยและบุคลิกภาพของตนเอง

Performance Subsystem : รับรู้จุดแข็ง/ข้อดี จุดด้อย/ข้อเสีย ของตนเองและยอมรับ มีส่วนร่วมกับครอบครัวและสังคมเพื่อลด Occupational Imbalance และเพิ่ม Work-Leisure balance performance

  • Work conditioning
    • ให้ผู้รับบริการเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการปลูกเรดโอ๊ด โดยอธิบายขั้นตอนอย่างเข้าใจง่าย ปรับลดกิจกรรมให้ง่ายขึ้นและให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยทำกิจกรรมบางขั้นตอน
    • ใช้การเขียนอธิบายเพื่อช่วยให้ผู้รับบริการง่ายต่อการทำความเข้าใจ
    • ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจโดยการทำกิจกรรมกระตุ้น เช่น กิจกรรมการเพิ่มความจำ กิจกรรมการเรียนรู้ลำดับขั้นตอนการปลูกเรดโอ๊ด กิจกรรมการรับรู้เวลา กิจกรรมการเล่นเกมเสมือนปลูกเรดโอ๊ด
  • Work hardening
    • ให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมปลูกเรดโอ๊ต โดยปรับลดขั้นตอนให้เหมาะสมตามที่ผู้บำบัดแนะนำ ใช้วิธีการลงมือทำจริงและทำซ้ำๆเพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจและจดจำได้ จากนั้นให้ลองไปทำในสถานที่จริงและผู้บำบัดปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการในบริบทจริงมากที่สุด
  • Job modification
    • ตั้งเวลาในการรดน้ำต้นไม้เช้า-เย็น
    • ให้ครอบครัวร่วมกันทำกิจกรรมยามว่างในขั้นตอนการย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลง
    • ปรับกิจกรรมให้ง่ายขึ้น โดยลดขึ้นตอนของกิจกรรม
    • ปรับกิจกรรมให้ยากขึ้นโดยการลดความช่วยเหลือของครอบครัวลง เพิ่มปริมาณการปลูก
  • สภาพแวดล้อม
    • จัดให้แปลงปลูกต้นไม้เป็นระเบียบเรียบร้อย แบ่งโซนชัดเจน ไม่วางสิ่งของเกะกะ มีแสงสว่างเพียงพอ

Goal 3: ผูู้รับบริการมีการเข้าร่วมสังคมเพิ่มมากขึ้น ภายใน 2 เดือน

FoR/Model: Psychosocial rehabilitation

Approach: Group support

Therapeutic activity:

- ผู้บำบัดแนะนำกลุ่มทางสังคมทางด้านการปลูกต้นไม้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้รับบริการเข้าร่วมทางสังคม โดยบอกถึงประโยชน์ ข้อดีของการเข้าร่วมในกลุ่มนั้นๆ เพิ่มแรงจูงใจโดยการให้ดูรูปภาพหรือสิ่งที่ทางกลุ่มประสบความสำเร็จ

- ผู้บำบัดพาผู้รับบริการไปเข้าร่วมกลุ่มในช่วงแรกจนผู้รับบริการคุ้นเคยและสามารถปรับตัวได้ จึงให้ผู้รับบริการสามารถเข้าร่วมกลุ่มได้ด้วยตนเอง

- เมื่อผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้ อาจให้ครอบครัวร่วมกันเป็นผู้บุกเบิกกลุ่มผู้สูงอายุปลูกต้นไม้กินได้ขึ้นมาเพื่อรวบรวมสมาชิก แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ มีสัมพันธภาพทางสังคมมากขึ้น

Reference

1. Katherine M. Richardson and Hannah R. Rothstein. Effects of Occupational Stress Management Intervention Programs. Journal of Occupational Health Psychology.2008;Vol. 13, No. 1, 69–93

2. Risa Kimura, Makiko Mori, Miyuki Tajima, Hironori Somemura, Norio Sasaki, et al. differEffect of a brief training program based on cognitive behavioral therapy in improving work performance: A randomized controlled trial. Journal of Occupational Health.2015; 57: 169–178

3. Toshimichi Nakamaea, b, , , Kayano Yotsumotoa, Eri Tatsumic, Takeshi Hashimotoa. Effects of Productive Activities with Reminiscence in Occupational Therapy for People with Dementia: A Pilot Randomized Controlled Study [internet] 2014. [cited 2016 Sep 29]. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S156918611400014X..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/616845

4. Sasiwan. เปิดพื้นที่เพื่อผู้สูงวัยปลูกผัก ปฏิบัติธรรม[อินเตอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/16756.html


หมายเลขบันทึก: 617135เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท