takehome2


"เคสที่ 2 ผู้รับบริการวัย 40 ปี ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบมา 3 ปี เบื่อและอยากลาออกจากการทำงานอาจารย์ที่หนักจนไม่มีเวลาพักผ่อนและเสี่ยงเป็นหลอดเลือดสมองตีบมา 3ปี ไม่ชอบออกกำลังกาย มีความสามารถเป็นพิธีกร ดีเจ และ นักเขียน และกำลังเครียด เพราะเป็นเสาหลักเลี้ยงดูครอบครัวกว่า 3 คน และ มีหนี้สินบ้านจากการผ่อนชำระด้วยเงินเดือนจากงานอาจารย์ประจำ"

Job analysis งานอาจารย์


ประเมินเพิ่มเติมทางกิจกรรมบำบัด

ทางร่างกาย

  • ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยใช้แบบประเมิน FIM & FAM , Barthel index , Routine task
  • ทางจิตใจ

  • ประเมินความเครียด โดยใช้แบบประเมิน SPST-20
  • ประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก
  • ประเมินสภาพบ้าน และสถานที่ทำงานของผู้รับบริการ
  • ประเมินการใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวัน
  • ปัญหาที่พบ (Problem) 1.ผู้รับบริการมีเวลาทำงานกับเวลาพักไม่สมดุลกัน2.ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการทำงานน้อยลง3.ผู้รับบริการมีความเครียดจากการทำงานทำให้เสี่ยงเป็นเส้นเลือดในสมองตีบเป้าประสงค์ (Goal)1.ผู้รับบริการสามารถจัดการเวลาพักและเวลาทำงานได้อย่างสมดุลกัน 2.ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น 3.ผู้รับบริการสามารถจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นขณะทำงานได้ การวางแผนการรักษา (Intervention Plan) เป้าประสงค์ คือ ผู้รับบริการสามารถจัดการเวลาพักและเวลาทำงานได้อย่างสมดุลกันกรอบอ้างอิงที่ใช้ในการรักษา (Frame of reference)Biomechanics FoR , Physical Rehabilitation หลักการ(Approach) Energy Conservation , Time managementวิธีการให้การรักษา - จัดตารางเวลาทำงานของผู้รับบริการวางแผนการทำงานก่อนจะเริ่มทำ โดยจะให้ผู้รับบริการ § เรียงความสำคัญของงานที่จะทำ § กำหนดวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ § กำหนดระยะเวลาที่จะทำงานนี้เสร็จสิ้น § กำหนดเวลาที่ใช้พักระหว่างการทำงานหรือแบ่งเวลาส่วนหนึ่งไว้เป็นเวลาส่วนตัวบ้างเพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ส่งเสริมสุขภาพ§ *วางตารางเผื่อไว้สำหรับงานที่ผิดพลาด หรืองานที่ต้องเลื่อนออกไป - จัดการตัวเองให้ทำตามตารางงานที่ได้วางแผนไว้ข้างต้นo ผู้รับบริการควรตระหนักรู้ถึงตารางงานที่ได้วางแผนไว้o เตือนตัวเองเมื่อถึงเวลาพักหรือทำงาน o ทำตามตารางงานที่ได้วางแผนไว้อย่างเคร่งครัดพยายามทำงานให้เสร็จทันเป้าหมายที่กำหนดไว้และเมื่อถึงเวลาพักก็ควรหยุดทุกอย่างและพักให้เต็มที่ - ผู้รับบริการวางแผนแก้ไขปัญหาในอนาคตว่าจะแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดได้ เป้าประสงค์ คือ ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น กรอบอ้างอิงที่ใช้ในการรักษา (Frame of reference)Behavioral FoRหลักการ(Approach) changing behaviorวิธีการให้การรักษา - ให้ผู้รับบริการหาเหตุผลทางบวกเกี่ยวกับว่าทำไมถึงเลือกมาทำอาชีพนี้ - ให้กิจกรรมที่เป็นการเสริมแรงจูงใจจากภายนอกเช่นได้รับผลตอบแทน โดยหลีกเลี่ยงการโดนลงโทษ - จากนั้นให้กิจกรรมที่มีกฎระเบียบของพฤติกรรมเพื่อให้เขามีส่วนร่วม โดยใช้ประสบการณ์เป็นตัวควบคุม - ให้เลือกกิจกรรมที่ทำเองเหตุผลที่ทำเพราะทีค่า มีความหมาย และยอมรับว่ามันเป็นตัวของตัวเอง เป้าประสงค์ คือ ผู้รับบริการสามารถจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นขณะทำงานได้กรอบอ้างอิงที่ใช้ในการรักษา (Frame of reference)Behavioral FoR , Psychosocial FoR หลักการ(Approach) Psycho-education , self managementวิธีการให้การรักษา -ให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ถึงความเครียดของตนเองโดยให้สังเกตสีหน้า ท่าทาง และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา เช่น หายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น-ให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ถึงความเครียดของตนเองโดยให้สังเกตสีหน้า ท่าทาง และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา เช่น หายใจเร็วขึ้นหัวใจเต้นเร็วขึ้น -เมื่อทราบว่าตนเองกำลังเครียดแล้วให้หาสาเหตุของความเครียดนั้น เพื่อหาวิธีแก้ไข-ให้ผู้รับบริการเรียนรู้วิธีการจัดการความเครียดอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจากO Muscle, Breathing relaxation การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการควบคุมการหายใจให้ผ่อนคลายวิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ - นั่งในท่าสบาย- เกร็งกล้ามเนื้อไปทีละกลุ่มค้างไว้สัก 10 วินาที แล้วคลายออกจากนั้นก็เกร็ง ใหม่สลับกันไปประมาณ 10 ครั้ง ค่อยๆทำไปจนครบทั้ง 10 กลุ่ม - เริ่มจากการกำมือ
    และเกร็งแขนทั้งซ้ายขวาแล้วปล่อย - บริเวณหน้าผากใช้วิธีเลิกคิ้วให้สูง หรือขมวดคิ้วจนชิดแล้วคลาย - ตา แก้ม และจมูกใช้วิธีหลับตาปี๋ ย่นจมูกแล้วคลาย- ขากรรไกร ริมฝีปากและลิ้นใช้วิธีกัดฟัน เม้มปากแน่นและใช้ลิ้นดันเพดานโดยหุบปากไว้แล้วคลาย- คอ โดยการก้มหน้าให้คางจรดคอเงยหน้าให้มากที่สุดแล้วกลับสู่ท่าปกติ- อก หลัง และไหล่ โดยหายใจเข้าลึกๆแล้วเกร็งไว้ ยกไหล่ให้สูงที่สุดแล้วคลาย- หน้าท้องและก้น ใช้วิธีแขม่วท้องขมิบกันแล้วคลาย- งอนิ้วเท้าเข้าหากันกระดกปลายเท้าขึ้นสูงเกร็งขาซ้ายและขวาแล้วปล่อยการฝึกเช่นนี้จะทำให้รับรู้ถึงความเครียดจากการเกร็งกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆและรู้สึกสบายเมื่อคลายกล้ามเนื้อออกแล้วดังนั้นครั้งต่อไปเมื่อเครียดและกล้ามเนื้อเกร็งจะได้รู้ตัว และรีบผ่อนคลายโดยเร็วก็จะช่วยได้มากการผ่อนคลายลมหายใจ- ฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณหน้าท้องแทนการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก- เมื่อหายใจเข้า หน้าท้องจะพองออกและเมื่อหายใจออก หน้าท้องจะยุบลงซึ่งจะรู้ได้โดยเอามือวางไว้ที่หน้าท้องแล้วคอยสังเกตเวลาหายใจเข้าและหายใจออก- หายใจเข้าลึกๆ และช้าๆกลั้นไว้ชั่วครู่แล้วจึงหายใจออก- ลองฝึกเป็นประจำทุกวันจนสามารถทำได้โดยอัตโนมัติการหายใจแบบนี้จะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้นทำให้สมองแจ่มใส ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงเหงาหาวนอน พร้อมเสมอสำหรับภารกิจต่างๆในแต่ละวัน O Acceptance of negative emotion คือยอมรับและเข้าอารมณ์ทางลบของตัวเอง เช่นอารมณ์โกรธ เศร้า เครียด อื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจอารมณ์ของตัวเองและหาวิธีแก้ไขอารมณ์ลบที่เกิดขึ้นO Self –support in difficult situationคือการสนับสนุนตัวเองในสถานการณ์ที่ยากแก่การแก้ไขเราต้องคอยให้กำลังใจตัวเอง และเกื้อหนุนตัวเองเมื่อเราพบเจอปัญหาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหานั้น
  • ประเมินซ้ำ ผู้รับบริการสามารถไปทำงานตามเดิมได้หรือไม่
  • ผู้รับบริการจัดการปัญหาและความเครียดที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
  • ผู้รับบริการมีความเครียดหรือกังวลลดลงหรือไม่
  • อ้างอิง

    Elena Heber, MSc, Dirk Lehr, PhD, [...], and Heleen Riper, PhD . Web-Based and Mobile Stress Management Intervention for Employees: A Randomized Controlled Trial . https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4749847/#!po=0.714286(2016). (29/09/59) Johannes Siegrist, Morten Wahrendorf. Work Stress and Health in a Globalized Economy . https://books.google.co.th/books/about/Work_Stress_and_Health_in_a_Globalized_E.html?hl=th&id=zz2lDAAAQBAJ (2016). (29/09/59) Marylène Gagné, Jacques Forest, Maarten Vansteenkiste ,Et.Dl. The Multidimensional Work Motivation Scale: Validation evidence in seven languages and nine countries. http://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/1359432X.2013.877892?scroll=top&needAccess=true . (2013).(29/09/59)

  • คำสำคัญ (Tags): #takehome
    หมายเลขบันทึก: 617068เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2016 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2016 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท