Take home examination 2


กรณีศึกษา

"เคสวัย 70 ปี ที่เป็นสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากออกสังคม เงียบอยู่คนเดียว เดิมเป็นทนายความและเครียดด้วยภาวะหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้"

วิเคราะห์ตาม PEOP


Activity analysis : การปลูกต้นมะกรูด (ด้วยเมล็ด)


Clinical reasoning

Diagnostic scientific clinical reasoning : โรคสมองเสื่อม (Dementia)

โรคสมองเสื่อมเป็นคำที่เรียกกลุ่มอาการต่างๆที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของสมองที่เสื่อมลงหลายๆด้าน ซึ่งจะมีปัญหาในการใช้ความคิด การเรียนรู้สิ่งใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพ จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันทั้งในด้านการงาน การเข้าสังคม และชีวิตส่วนตัว โดยขณะที่แพทย์ประเมินผู้ป่วยว่ามีสมองเสื่อมหรือไม่ ผู้ป่วยต้องไม่มีอาการสับสนอย่าง ฉับพลันหรือมีระดับการรู้สึกตัวบกพร่อง (1)

Narrative clinical reasoning : “อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง”

Pragmatic clinical reasoning : ใช้เทคนิค Music therapy และ Novel Occupational therapy ในการช่วยเพิ่มความจำ ความเข้าใจ ลดภาวะความเครียดหรืออาการซึมเศร้าและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการสมองเสื่อม

Problem

  1. ผู้รับบริการมีความเครียดจากภาวะหนี้สินสะสมและคดีความไม่สำเร็จ
  2. ผู้รับบริการอยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง

Short term goal

  1. ผู้รับบริการมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเครียดได้ด้วยตนเอง ภายใน 1 สัปดาห์
  2. ผู้รับบริการสามารถทำงานแบบกิจกรรมยามว่างด้วยการปลูกต้นมะกรูดได้ ภายใน 3 สัปดาห์

Intervention

  1. ผู้รับบริการมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเครียดได้ด้วยตนเอง ภายใน 1 สัปดาห์

Frame of reference : Physical rehabilitation , Psychosocial rehabilitation

Technique : Relaxation technique , Stress management , Teaching and learning

Intervention

  • จากบทความ (2)ได้ใช้เทคนิค Music therapy ในผู้รับบริการสมองเสื่อม โดยเปิดเพลงที่มีจังหวะช้าๆเพื่อเป็นการผ่อนคลายและลดความเครียด ซึ่งผลที่ได้ออกมาจากบทความนี้นั้น Music therapy ทำให้ความจำ ความเข้าใจดีขึ้น ความเครียดและอาการซึมเศร้าดีขึ้น
  • จากบทความ (3) ใช้เทคนิค Novel Occupational therapy ซึ่งประกอบด้วย Relaxation technique (Progressive muscle relaxation การเกร็งกล้ามเนื้อและค่อยๆผ่อนคลายทีละส่วน and Music therapy การใช้ดนตรีบำบัด) , Physical exercise (Yoga exercise การเล่นโยคะ and Physical training program การออกกำลังกายทั่วไป ex. Walking, Dancing) ,Personal activity (Personal care of body กิจกรรมการดูแลตนเอง and Household tasks กิจกรรมการทำงานบ้าน) ,Cognitive exercise (Neurobic exercise เช่นการแปรงฟัน การหวีผม โดยใช้มือข้างที่ไม่ถนัด and PAROT program การนึกถึงเรื่องในอดีตและกิจกรรมการเตรียมอาหาร) และ Recreation activity (Cognitive-enhancement program กิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และการเขียน and Recreational activities กิจกรรมนันทนาการ) ซึ่งเทคนิคต่างๆเหล่านี้ช่วยเพิ่มหรือคงความสามารถในด้านความจำ ความเข้าใจและเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้รับบริการสมองเสื่อมให้ดีขึ้น

Re-evaluation : ใช้แบบประเมินความเครียด short version of Geriatric Depression Scale (sGDS) หรือแบบประเมินความเครียด (ST5) ของกรมสุขภาพจิต และดูถึงความถี่ของการเกิดความเครียด

2. ผู้รับบริการสามารถทำงานแบบกิจกรรมยามว่างด้วยการปลูกต้นมะกรูดได้ ภายใน 3 สัปดาห์

Frame of reference : Physical rehabilitation , MOHO

Technique : Work modification , Teaching and learning , Grading activity , Assistive device

Intervention

  • เนื่องจากผู้รับบริการอยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง มีความสนใจในการปลูกต้นไม้ทานได้ และเห็นคุณค่าในตนเองเมื่อได้ทำงานช่วยแหลือครอบครัว จึงทำให้เกิดเป็นแรงจูงใจขึ้นในการปลูกต้นไม้
  • เริ่มจากสอนผู้รับบริการถึงวิธีการปลูกต้นมะกรูด โดยพริ้นท์วิธีการทำเป็นรูปภาพอย่างง่าย เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถทำได้ด้วยตนเอง
  • ในขั้นตอนของการที่ต้องใช้ระยะเวลา เช่น การแช่เมล็ด และการรอต้นเติบโตเพื่อนำลงดินนั้น สามารถใช้นาฬิกาปลุกหรือนาฬิกาจับเวลา เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถทำขั้นตอนต่อไปโดยที่ไม่เกินเวลาได้ หรือนำรูปภาพของต้นที่พร้อมที่จะนำไปปลูกลงดินมาติด
  • การรดน้ำต้นไม้ ให้รดวันละ 1 ครั้งตอนเช้า โดยให้เป็นปฏิทิน เมื่อรดน้ำต้นไม้แล้วก็ให้กากบาท เพื่อไม่ให้เป็นการรดซ้ำ
  • เมื่อเริ่มมีผลผลิต เช่น ใบมะกรูด หรือลูกมะกรูด ก็ตัดและสามารถนำไปขายให้มีรายได้ได้ โดยอาจนำไปฝากขายหรือขายเองที่ตลาด เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการออกสังคมยิ่งขึ้นและได้มีรายได้นำมาช่วยเหลือครอบครัว
  • สามารถนำพืชผักสวนครัวที่ปลูกง่ายๆ มาเพิ่ม เช่น การปลูกต้นตำลึง ถั่วงอก ผักชี โหระพา กระเพรา เป็นต้น

Re-evaluation : ผู้รับบริการสามารถปลูกต้นมะกรูดได้ มีผลผลิตขึ้น และมีการรดน้ำทุกวัน


Reference

  1. รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า.สมองเสื่อม (Dementia). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2559].เข้าถึงได้จาก: http://haamor.com/th/โรคสมองเสื่อม.
  2. Lim EY, Yang DW, Shim YS, Yoon B, Hong YJ, Moon MS. The Effects of Occupational Therapy and Music Therapy on Patients With Mild Cognitive Impairment: A Pilot Study. J Korean Geriatr Soc. 2015;19(2):71-9.
  3. Kumar P, Tiwari SC, Goel A, Sreenivas V, Kumar N, Tripathi RK, et al. Novel occupational therapy interventions may improve quality of life in older adults with dementia. International Archives of Medicine. 2014;7(1):26.
  4. Laver K, Cumming R, Dyer S, Agar M, Anstey KJ, Beattie E, et al. Evidence-based occupational therapy for people with dementia and their families: What clinical practice guidelines tell us and implications for practice. Australian Occupational Therapy Journal. 2016:n/a-n/a.
  5. กระปุกดอทคอม.มาดูวิธีปลูกผักสวนครัวง่าย ๆ ที่คุณเองก็ทำได้.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม2559].เข้าถึงได้จาก:http://home.kapook.com/view44743.html.
หมายเลขบันทึก: 617059เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2016 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2016 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท