take home 1


"เคสที่ 1 ผู้รับบริการวัย 65 ปีที่เป็นรูมาตอยด์มา 5ปี ต้องดูแลแม่วัย 97 ปี ไม่ได้ทำงานประจำ เดิมมีความสามารถเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ และชอบทำอาหารไทย กำลังกลุ้มใจเพราะมีหนี้สินกว่า 2 ล้านบาท"



ประเมินเพิ่มเติมทางกิจกรรมบำบัด

ทางร่างกาย

  • ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยใช้แบบประเมิน FIM & FAM , Barthel index , Routine task
  • ทางจิตใจ

  • ประเมินความเครียด โดยใช้แบบประเมิน SPST-20
  • ประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก
  • ประเมินสภาพบ้าน และสถานที่ทำงานของผู้รับบริการ
  • ประเมินการใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันJob Analysis : งานผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติเป้าประสงค์ (Goal) เป้าประสงค์ระยะสั้น
  • 1.ผู้รับบริการสามารถเซ็นเอกสารงานได้โดยให้อุปกรณ์ช่วยเช่น ปากกาเสริมด้าม

    2.ผู้รับบริการสามารถจัดตารางชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

    2.ผู้รับบริการสามารถตระหนักรู้ถึงความเครียดของตนเองได้

    เป้าประสงค์ระยะยาว

    1. ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำงานได้

    2. ผู้รับบริการสามารถจัดการความกังวลและความเครียดได้ด้วยตนเอง



    การวางแผนการรักษา (Intervention Plan)


    เป้าประสงค์ คือ ผู้รับบริการสามารถเซ็นเอกสารงานได้โดยให้อุปกรณ์ช่วยเช่น ปากกาเสริมด้าม

    กรอบอ้างอิงที่ใช้ในการรักษา (Frame of reference)

    PEOP

    หลักการ(Approach) Environmental modification

    วิธีการให้การรักษา

    ให้อุปกรณ์ช่วย ได้แก่ ปากกา ที่เสริมด้ามทำให้จับได้ง่ายขึ้น


    เป้าประสงค์ คือผู้รับบริการสามารถจัดตารางชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

    กรอบอ้างอิงที่ใช้ในการรักษา (Frame of reference)

    Physical rehabilitation , Biomechanics FoR , Psychosocial FoR

    หลักการ(Approach) Time management , energy conservation , self management

    วิธีการให้การรักษา

    1.ให้ผู้รับบริการเขียนกิจกรรมต่างในชีวิตที่ต้องทำ

    2.จากนั้นเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย

    3.เมื่อเรียงลำดับความสำคัญเสร็จแล้ว ให้นำกิจกรรมเหล่านี้มาเขียนลงตารางเวลา โดยใส่กิจกรรมที่สำคัญที่สุดลงไปก่อน แล้วค่อยใส่ลงไปตามลำดับความสำคัญเรื่อยๆ

    4.นำตารางที่เสร็จแล้วมาวิเคราะห์ร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด เพื่อดูว่ามีช่วงเวลาที่จะสามารถไปทำงานได้หรือไม่ แล้วถ้าไปทำงานแล้วจะต้องจัดการเรื่องการดูแลแม่อย่างไร เช่น จ้างคนดูแลในระยะเวลาที่ตนไม่อยู่ ฝากญาติที่อยู่ใกล้เคียงเป็นคนดูแล เป็นต้น


    เป้าประสงค์ คือ ผู้รับบริการสามารถตระหนักรู้ถึงความเครียดของตัวเองได้

    กรอบอ้างอิงที่ใช้ในการรักษา (Frame of reference)

    MOHO ,

    หลักการ(Approach) Psycho-education

    วิธีการให้การรักษา

    Psycho-education

    - ให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ถึงความกัวลของตนเอง โดยให้สังเกตสีหน้า ท่าทาง และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา เช่น หายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น

    - เมื่อทราบว่าตนเองกำลังเครียดแล้วให้หาสาเหตุของความเครียดนั้น เพื่อหาวิธีแก้ไข

    - ให้ผู้รับบริการเรียนรู้วิธีการจัดการความเครียดอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจาก

    วิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

    - นั่งในท่าสบาย

    - เกร็งกล้ามเนื้อไปทีละกลุ่ม ค้างไว้สัก 10 วินาที แล้วคลายออก จากนั้นก็เกร็ง ใหม่สลับกันไปประมาณ 10 ครั้ง ค่อยๆ ทำไปจนครบทั้ง 10 กลุ่ม

    - เริ่มจากการกำมือ และเกร็งแขนทั้งซ้ายขวาแล้วปล่อย

    - บริเวณหน้าผาก ใช้วิธีเลิกคิ้วให้สูง หรือขมวดคิ้วจนชิดแล้วคลาย

    - ตา แก้ม และจมูก ใช้วิธีหลับตาปี๋ ย่นจมูกแล้วคลาย

    - ขากรรไกร ริมฝีปากและลิ้น ใช้วิธีกัดฟัน เม้มปากแน่นและใช้ลิ้นดันเพดานโดยหุบปากไว้แล้วคลาย

    - คอ โดยการก้มหน้าให้คางจรดคอ เงยหน้าให้มากที่สุดแล้วกลับสู่ท่าปกติ

    - อก หลัง และไหล่ โดยหายใจเข้าลึกๆ แล้วเกร็งไว้ ยกไหล่ให้สูงที่สุดแล้วคลาย

    - หน้าท้องและก้น ใช้วิธีแขม่วท้อง ขมิบกันแล้วคลาย

    - งอนิ้วเท้าเข้าหากัน กระดกปลายเท้าขึ้นสูง เกร็งขาซ้ายและขวาแล้วปล่อย

    การฝึกเช่นนี้จะทำให้รับรู้ถึงความเครียดจากการเกร็งกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ และรู้สึกสบายเมื่อคลายกล้ามเนื้อออกแล้ว

    ดังนั้น ครั้งต่อไปเมื่อเครียดและกล้ามเนื้อเกร็งจะได้รู้ตัว และรีบผ่อนคลายโดยเร็ว ก็จะช่วยได้มาก

    การผ่อนคลายลมหายใจ

    - ฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณหน้าท้องแทนการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก

    - เมื่อหายใจเข้า หน้าท้องจะพองออก และเมื่อหายใจออก หน้าท้องจะยุบลง ซึ่งจะรู้ได้โดยเอามือวางไว้ที่หน้าท้องแล้วคอยสังเกตเวลาหายใจเข้าและหายใจออก

    - หายใจเข้าลึกๆ และช้าๆ กลั้นไว้ชั่วครู่แล้วจึงหายใจออก

    - ลองฝึกเป็นประจำทุกวัน จนสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ

    การหายใจแบบนี้จะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ทำให้สมองแจ่มใส ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงเหงาหาวนอน พร้อมเสมอสำหรับภารกิจต่างๆ ในแต่ละวัน

    O Acceptance of negative emotion คือยอมรับและเข้าอารมณ์ทางลบของตัวเอง เช่น อารมณ์โกรธ เศร้า เครียด อื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง และหาวิธีแก้ไขอารมณ์ลบที่เกิดขึ้น

    O Self –support in difficult situationคือการสนับสนุนตัวเองในสถานการณ์ที่ยากแก่การแก้ไข เราต้องคอยให้กำลังใจตัวเอง และเกื้อหนุนตัวเองเมื่อเราพบเจอปัญหา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหานั้นๆได้

    - ผู้รับบริการวางแผนแก้ไขปัญหาในอนาคตว่าจะแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดได้

    Work hardening

    จำลองการทำงานผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ เพื่อให้ผู้รับบริการได้ฝึกการทำงานเพื่อเตรียมพร้อมส่การทำงานในบริบทจริง และเพื่อประเมินหาปัญหาเพิ่มเติมที่ผู้รับบริการยังไม่สามารถทำได้

    ประเมินซ้ำ

    ผู้รับบริการสามารถไปทำงานตามเดิมได้หรือไม่

    ผู้รับบริการจัดการปัญหาและความเครียดที่เกิดขึ้นได้หรือไม่


    อ้างอิง

    Elena Heber, MSc, Dirk Lehr, PhD, [...], and Heleen Riper, PhD .Web-Based and Mobile Stress Management Intervention for Employees: A Randomized Controlled Trial . https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4749847/#!po=0.714286(2016). (29/09/59)
    คำสำคัญ (Tags): #takehome
    หมายเลขบันทึก: 617060เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2016 00:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2016 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท