การศึกษาจาก Journal : Exploring the need for a new UK occupational therapy intervention for people with dementia and family carers: Community Occupational Therapy in Dementia (COTiD). A focus group study


การศึกษางานวิจัยนี้เริ่มมาจาก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการใช้ Community Occupational Therapy in Dementia (COTiD) programme ในผู้ป่วย dementia เปรียบเทียบกับการให้การรักษาแบบไม่มี OT แล้วมีผลแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำ ADL , คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีการลดลงของ Depression และอารมณ์ความรู้สึก ความสามารถของผู้ดูแลดีขึ้นด้วย โดยโปรแกรมการรักษา โดยเป็นการปรับปรุงทักษะในการทำกิจวัตรประจำวันที่มีความหมายสำหรับผู้รับบริการ โดย COTiD มีผลการรักษาที่ดี จึงทำให้ UK นำวิธีการรักษาแบบ COTiD มาปรับใช้กับบริบทของ UK ซึ่งงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อหาข้อมูล เกี่ยวกับมุมมองจากผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและครอบครัวที่มีต่อโปรแกรมการรักษา COTiD และขอบเขตที่ตัวโปรแกรมไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขาได้
  • เพื่อหาว่าโปรแกรมควรมีการปรับปรุงอย่างไรให้เหมาะสมกับบริบทใน UK

ในขั้นเตรียม จะมีการออกแบบคู่มือเพื่อนำมาสำรวจมุมมองผู้เข้าร่วมการปรับปรุงการรักษาแบบ COTiD โดยผู้เข้าร่วมไม่มีความรู้ด้าน COTiD มาก่อนและไม่เคยติดต่อกับนักกิจกรรมบำบัดมาก่อน โดยจะมีคลิป VDO ให้ดู ประมาณ 2-4 นาที เพื่ออธิบายและแสดงให้เห็นถึงการรักษาแบบ COTiD

การคัดเลือกคนมีการคัดเลือกผ่านทางอีเมล โทรศัพท์ และการเจอหน้า

  • ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมเข้าร่วมได้คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชน(UK)และเป็นบ้านของตนเอง , มีผู้ดูแลที่คอบดูแลอยู่ด้วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • ผู้ดูแลเป็นผู้ที่คอยดูแลอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือเคยทำมาภายในสองปีที่ผ่านมา
  • ทั้งสองคนจะต้องสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ และมีความสามารถในการอภิปรายกลุ่มได้

ขั้นตอน ใช้เวลาประมาณ 50-70 นาที มีการอภิปรายและพยายามให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น โดยจะมีการบันทึกข้อมูลเป็นVDO และการบันทึกเสียง มีการอธิบายตัวอย่างการใช้ COTiD และถามว่าสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง

มีการศึกษาใน 3 หัวข้อดังนี้

  • ‘loss and living with dementia’ การสูญเสียและการใช้ชีวิตของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม
  • ‘what helped us’ สิ่งที่สามารถช่วยผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมได้
  • ‘consistency and continuity’ ความมั่นคงและความต่อเนื่อง

ทั้ง 3 หัวข้อที่กล่าวไป ได้นำมาวิเคราะห์ควบคู่ไปกับคำพูดและการแสดงความคิดเห็น ต่อ COTiD

การสูญเสียและการใช้ชีวิตของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

- เมื่อถามถึงการใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ผู้เข้าร่วมจะพูดในแง่ลบ

- การมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำและความสนใจ ทำให้ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะต้องพึ่งพาผู้ดูแลเพิ่มมากขึ้น และยังมีความยากลำบากในการสนทนาเนื่องจากปัญหาเรื่องช่วงความสนใจ สำหรับปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาแรกที่พวกเข้าได้พบหรือมีประสบการณ์ ไม่มีใครพูดถึงว่าพวกเขามีวิธีการในการปรับตัวอย่างไรกับความยากลำบากที่เกิดขึ้น

- พวกเขาพูดถึงว่าไม่สามารถทำบทบาทหน้าที่ได้ เช่น การปรุงอาหาร มีการสูญเสียความรู้สึกการดำเนินชีวิตของตัวเองไป เช่น สูญเสียการทำงานอดิเรก เนื่องจากมีปัญหาความรู้ความเข้าใจ

- มีผู้ที่แสดงความคิดเห็นถึงการปรับตัวในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมว่า เป็นสิ่งที่ดี ได้แสดงออกถึงความคับข้องใจ ทำให้เกิดความเป็นสุขมากขึ้น

สิ่งที่ช่วย

- การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เป็นสิ่งที่ช่วยได้ทั้งด้านอารมณ์และจิตใจในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

- ได้มีการอธิบายถึงวิธีการรับมือจากผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม โดยการใช้ปฎิทินและไดอารี่ ได้รับการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากกลุ่มที่ประชุม เป็นการแลกเปลี่ยนกัน

- ได้บอกถึงข้อดีของ COTiD เนื่องจากได้ช่วยหางานอดิเรกใหม่ๆ แต่ก็บอกข้อเสียด้วยว่ายากที่ใช้ ในการตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบัน

- ผู้เข้าร่วมกล่าวว่าในงานวิจัยนี้อาจจะไม่ได้ประโยชน์โดยตรง แต่พวกเขายินดีที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัย ที่อาจจะได้ช่วยเหลือบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานการณ์คล้ายๆกันกับพวกเขาในอนาคต

ความมั่นคงและความต่อเนื่อง

- ควรมีการติดตามหลังการให้การบำบัดรักษา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมและครอบครัว มีความเข้าใจและปฏิบัติในการให้การบำบัดรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม



สรุป :

- ผู้เขาร่วมงานวิจัยมีการสนับสนุนการนำ COTiD มาปรับใช้อย่างเหมาะสมในUK แต่ผู้ดูแลมีความกังวลในเรื่องการตัดสินใจของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

- ผลการศึกษาในครั้งนี้ไม่แต่เห็นบทบาทของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแล ยังทำให้เห็นถึงความคิดเห็นในมุมมองของผู้ดูแลอีกด้วย ซึ่งทำให้เห็นว่าผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญในการให้การรักษากับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

- COTiD จะนำมาปรับใช้ควรมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับช่วงเวลาในปัจจุบัน และผสมผสานกับความต้องการของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการปรับ COTiD ใน UK


Reference: Hynes SM, Field B, Ledgerd R, Swinson T, Wenborn J, Bona L di, et al. Exploring the need for a new UK occupational therapy intervention for people with dementia and family carers: Community Occupational Therapy in Dementia (COTiD). A focus group study. Aging Ment Health. 2016;20(7):762–9.

คำสำคัญ (Tags): #COTiD
หมายเลขบันทึก: 616847เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2016 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2016 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท