ตอบโจทย์ “ทำอย่างไร จะพัฒนาศักยภาพของบุคคล หรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข”


ผู้สูงวัยติดเตียง ยากจน มีปัญหาการกลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

ประเมินผู้รับบริการ : ภาวะติดเตียงหมายถึงผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงตลอดเวลาเนื่องจากสภาพร่างกายเสื่อมโทรม แม้แต่การขยับตัวหรือการขับถ่ายยังลำบาก เจากการเกิดอุบัติเหตุหกล้มส่งผลให้ปวดหลังอย่างรุนแรง นอกจากนี้ผู้รับบริการยังช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีปัญหาด้านการกลืนลำบาก ผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุและไม่มีผู้ดูแลอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดอันตรายนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เช่น แผลกดทับ และระบบทางเดินปัสสาวะมีปัญหา

วิเคราะห์ปัญหาจาก Area of Occupations

ADLs

  • Swallowing : ปัญหาการควบคุมและการจัดการอารหารหรือของเหลวในปาก
  • Functional mobility : ปัญหาการเคลื่อนย้ายตนเอง
  • Self-Care : ไม่สามารถดูแลตนเองได้ทั้งในเรื่อง bathing showering และ toileting and toilet hygiene

IADLs

  • Safety and emergency maintenance : ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยจากภาวะฉุกเฉินได้

Rest and Sleep

  • Sleep preparation : ปัญหาการจัดท่าทางให้ตนเองนอนหลับสบายจากแผลกดทับ


ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหา

Person factors

  • ยากจน

Body structure

  • Structure related to movement : เคลื่อนไหวร่างกายได้เพียงเล็กน้อย
  • Structure of nervous system : ปัญหาการกลือนลำบากมีสาเหตุมาจากกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืน
  • Function of the tongue : การใช้ลิ้นในการกลืนอาหาร
  • Sensory function and Pain : อาการปวดหลังอย่างรุนแรง

Body function

  • Self-care : การดูแลตัวเอง

Activities and participation

  • Self-care : การดูแลตัวเอง
  • Mobility : การเคลื่อนไหว

Environment factors

  • ขาดการติดต่อดูแลจากหน่วยงานต่างๆ

จะทำอย่างไร ?

1.ติดต่อหน่วยงานภาครัฐด้านผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้รับบริการเป็นผู้สูงวัย ที่มีฐานะยากจนและอาศัยอยู่คนเดียว มีปัญหาติดเตียง ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ปัญหาที่พบบ่อย คือ แผลกดทับ ติดเชื่อทางเดินอาหาร วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือต้องมีคนดูแล การที่มีคนดูแลผู้รับบริการจะช่วยให้ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้รับบริการ และมีสุขภาวะการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น

2.นักกิจกรรมบำบัดจะทำการวิเคราะห์ปัญหาการกลืนเพื่อเพิ่มศักยภาพการกลืนอาหารของผู้รับบริการให้ดีขึ้นโดยฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหวของริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม ฝึกการกลือนของผู้รับบริการโดยการให้เริ่มจากการกลืนน้ำลายของตนเองก่อน จากนั้นให้หัดกลือนน้ำแข็งก้อนเล็กหรืออาหารที่มีความหนืดเพื่อลดการสำลัก การปรับอาหารให้มีความหนืดและเป็นอาหารอ่อน จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าก้มศีรษะ เพื่อลดระยะในการกลืน ลดการการสำลัก และป้องกันอาหารและน้ำเล็ดลอดภายในช่องปาก หากผู้รับบริการมีการกินอาหารหรือน้ำจากอุปกรณ์ที่มีอยู่ลำบากนักกิจกรรมบำบัดจะทำการออกแบบอุปกรณ์หรือปรับอุปกรณ์เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถกินอาหารได้ง่ายขึ้น โดยในการฝึกกลืนทุกครั้งควรจัดท่าผู้รับบริการให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม ไม่ควรอยู่ในท่านอนราบเพราะอาจเกิดการสำลักได้

3.จัดท่านอนของผู้รับบริการให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมป้องกันการเกิดแผลกดทับ

4.ระหว่างการให้บริการและการรอหน่วยงานต่างๆ นักกิจกรรมบำบัดจะให้ความสำคัญในด้านสภาพจิตใจของผู้รับบริการมากที่สุด เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยุ่คนเดียว ปรับทัศนคติผู้รับบริการให้ผู้รับบริการไม่รู้สึกด้านลบต่อตนเองและเพิ่มความคิดด้านบวกให้ผู้รับบริการ

5.ส่งเสริมความสามารถที่ผู้รับบริการมี เช่น การสื่อสารกับรับรู้และความเข้าใจ ให้ผู้รับบริการสามารถสื่อสารได้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถแสดงออก บอก หรือเรียกผู้อื่นในเวลาฉุกเฉินได้

“ ผู้ป่วยในด้านร่างกายมักจะมีความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกว่าตนเองลำบาก หมดกำลังใจ ดังนั้นบทบาทสำคัญหนึ่งของนักกิจกรรมบำบัดต่อผู้รับบริการฝ่ายกายนอกจากส่งเสริมสมรรถภาพทางร่างกายแล้ว ยังต้องสร้างเสริมแรงจูงใจให้แก่ผู้รับบริการ ไม่ให้ผู้รับบริการรุ้สึกว่าตนเองอยู่ตัวคนเดียว ให้ผู้รับบริการมี Self-esteem ที่ดี มีความั่นใจในตนเอง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำให้ผู้รับบริการมีใจสู้ที่จะกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข”


วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่สูงวัยเลี้ยงดู

ประเมินผู้รับบริการ : ผู้รับบริการไม่มีงานทำเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะซึมเศร้า ลักษณะอาการคือท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่มีแรงจูงใจในการทำงานหรือการหางานทำ

วิเคราะห์ปัญหา โดย PEOP Model

Person: ผู้รับบริการมีความเครียด และภาวะซึมเศร้าซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง รู้สึกไม่อยากทำอะไร ไม่มีสมาธิ รู้สึกกดดัน ไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม

Environment: ผู้รับบริการไม่มีงานทำส่งผลให้พ่อแม่ต้องดูแล กระตุ้นให้เกิดความเครียด ท้อแท้ และภาวะซึมเศร้า

Occupation: ทำกิจกรรมน้อยลง กิจกรรมการดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพที่ต่ำลง

Performance: ลดศักยภาพในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ และการเข้าสังคม

จะทำอย่างไร ?

1.ให้การรักษาผู้รับบริการให้หายจากภาวะซึมเศร้าโดยการกระตุ้นผู้รับบริการให้ทำกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มจากกระตุ้นให้กลับมาทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ และเน้นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมต่างๆที่สำคัญในการดำเนินชีวิต

2.จากคำพูดในเว็บไซต์กระปุก.com ที่กล่าวว่า “เปลี่ยนความคิดพิชิตความเศ้รา” นักกิจกรรมบำบัดจะทำการเพิ่ม Positive-thinking ให้แก่ผู้รับบริการ ส่งเสริมให้มีความคิดที่มีเหตุมีผลมากขึ้น เช่น หากรู้สึกแย่หรือมีความคิดใดที่คิดขึ้นมาให้คิดถึงข้อดีข้อเสียในความคิดนั้น ความคิดนั้นถูกต้องแค่ไหน แล้วจะทำอย่างไรกับเรื่องนั้นดี

3.เมื่อผู้รับบริการเริ่มเข้าใจปัญญา นักกิจกรรมบำบัดจะร่วมกับผู้รับบริการในการสร้างเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับบริการ เพื่อลดความคิดฟุ้งซ่านหรือกังวล เช่น เสริมกิจกรรมยามว่าง การปลูกต้นไม้เลี้ยงสัตว์ เข้าวัดทำบุญ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการส่งเสริมให้ผู้รับบริการมี Positive thinking คิดต่อทำดีต่อผู้อื่น เพราะการทำดีกับผู้อื่นแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นจุดเริ่มต้นการมีความสุขที่ยิ่งใหญ่ได้

4.สร้างแรงจูงใจให้ผู้รับบริการอยากที่จะดูและตนเอง ให้ความสำคัญกับตนเอ มี Self-esteem ที่ดีขึ้น และสามารถกลับมาทำงานหรือกิจกรรมที่ตนเองชอบได้

5.ทำการปรับทัศนคติของผู้รับบริการและพ่อแม่ให้เข้าใจกันและกัน เห็นความสำคัญ ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวให้มากขึ้น และใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของครอบครัว เพื่อสร้างเป้าหมายในการพัฒนาครอบครัว เพราะดิฉันคิดว่าครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรามีความสุขและมีชีวิตที่ดีขึ้น

6.ร่วมกันหาสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความเครียดและภาวะซึมเศร้าเพื่อแก้ปัญหาและป้องกันการกลับมาซึมเศร้าอีกครั้ง

“ภาวะซึมเศร้าเกิดจากความรู้ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ รวมไปถึงกิจกรรมดำเนินชีวิต นักกิจกรรมบำบัดจึงมีบทบาทสำคัญในกาสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับบริการรู้สึกอยากกลับทำกิจกรรม โดยสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับบริการเห็นความสำคัญของครอบครัว เห็นความสำคัญของอนาคต ใส่ใจความรู้สึกของคนในครอบครัว เห็นความสำคัญและใส่ใจความรู้สึกของตนเอง ให้ผู้รับบริการรู้สึกถึงคุณค่าของการดำเนินชีวิต นอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดยังควรส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีการวางแผนเป้าหมายชีวิต ดิฉันเชื่อว่าครอบครัวจะสามารถเป็นแรงจูงใจที่จะทำให้ผู้รับการบำบัดสามารถกลับมาดำเนินชีวิตในแบบปกติหรือมีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นได้”


วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันประกันพรุ่ง และติดเกม

ประเมินผู้รับบริการ : ผู้ป่วยที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ จะมีอาการวิตกกังวล คิดซ้ำวนไปวนมา จนแสดงออกมาในรูปแบบพฤติกรรมทำซ้ำวนไปมา เพื่อให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น ในด้านการติดเกมของผู้รับบริการ ภาวะติดเกมคือการที่ผู้รับบริการใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตติดต่อกันเป็นเวลาและมีแนวโน้มจะเพิ่มส่งผลทั้งด้านจิตใจ ร่างกายและการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งภาวะติดเกมจัดอยู่ในโรคย้ำคิดย้ำทำต้องได้รับการบำบัด

จะทำอย่างไร ?

1.อธิบายขั้นตอน สาเหตุและและให้ความรู้แก่ครอบครัวผู้รับบริการ เพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือกับทางครอบครัวของผู้รับบริการเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ปกครอง

2.สร้างกติกาการเล่นเกมพร้อมกับการให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอื่นร่วมด้วย หรือเพิ่มกิจกรรมอื่นๆในช่วงเวลาที่ผู้รับบริการเล่นเกมและลดช่วงเวลาในการเล่นเกมลงเรื่อยๆ เพื่อลดความกังวลและความเครียดในการเล่นเกม

3.ส่งเสริมทักษะการควบคุมตนเองให้แก่ผู้รับบริการ ให้สามารถจัดการความรู้สึกตัวเองได้ เช่น ถ้าหากรู้สึกอยากเล่นเกมจนทนไม่ไหวให้หากิจกรรมอย่างอื่นทำเช่นออกไปลดต้นไม้ ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์

4.ปรับสิ่งแวดล้อมและบริการที่นั่งเล่มเกมของเด็กให้มีสิ่งกระตุ้นความอยากเล่นให้น้อยที่สุด

5.เน้นการเพิ่มการทำกิจกรรมอื่นๆที่มีความหมายเพื่อให้ผู้รับบริการลดความกังวลและอาการย้ำคิดย้ำทำ โดยการให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ เมื่อรู้สึกสนุกหลังจากนั้นผู้รับบริการจะรู้สึกอยากทำกิจกรรมอย่างอื่นอีกโดยที่ไม่ต้องรอนักกิจกรรมบำบัด

6.เพิ่มแรงจูงใจให้แก่ผู้รับบริการ เพื่อให้มีเป้าหมายในชีวิต สามารถเลิกได้ด้วยตัวเองและป้องกันการกลับมาติดเกมหรือย้ำคิดย้ำทำอีก

“วัยรุ่นเป็นวัยของการอยากรู้อยากลอง อยากเอาชนะ แต่ยังไม่สามารถควบคุมตนเองได้ดี ทำให้เมื่อได้เล่นเกมแล้วไม่สามารถแยกแยะเวลา หรือรู้ตนเองตนเองกำลังทำร้ายสุขภาพกายและจิตของตนเอง นักกิจกรรมบำบัดจะมีส่วนในการปรับทัศนคติต่อการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น ให้เขาได้เห็นว่า กิจกรรมที่เขาทำอยู่มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร กิจกรรมแต่ละกิจกรรมมีคุณค่าอย่างไร ครอบครัวจะมีส่วนร่วมในการปรับทัศนคติและบำบัดโดยการสร้างกติกาในการเล่นเกม มีการควบคุมเวลา เพื่อให้เด็กสามารถจัดการการดำเนินชีวิตของตนเองได้ ครอบครัวจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้เด็กใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีความสุขกับชีวิตที่แท้จริง”


วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

ประเมินผู้รับบริการ : สมาธิสั้น หมายถึง การที่เด็กเบื่อหน่ายง่าย ไม่สามารถจดจ่อในการเรียน หรือกิจกรรมต่างๆได้ในเวลาที่สมควร ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้ ความเข้าใจ แต่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดสมาธิสั้น คือ ขาดทักษะในด้านการฟัง การมอง การเคลื่อนไหวและการควบคุมประสาทสัมผัส ในส่วนของการตีคนแปลกหน้า จัดเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวในแบบ พฤติกรรมก้าวร้าวเยี่ยงศัตรู เป็นพฤติกรรมก้าวร้าวที่มุ่งที่จำทำร้ายร่างกายผู้อื่น ซึ่งในบางครั้งพฤติกรรมก้าวร้าวไม่ได้มาจากการคิดมุ่งร้ายต่อผู้อื่น แต่มาจากการบกพร่องจากร่างกายหรือสติปัญญา โดยในการบำบัดเด็กพ่อแม่จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการบำบัดเพราะเด็กจะมีความผูกพันธ์กับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง

จะทำอย่างไร ?

1.ให้ความรู้ อธิบายสาเหตุ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดสมาธิสั้น และวิธีการบำบัดเด็ก แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง เพื่อให้ลดความกังวลและความเครียด โดยมุ่งให้ผู้ปกครองเข้าใจเด็กให้มากที่สุด

2.กำหนดพฤกรรมเป้าหมายร่วมกับผู้ปกครองให้ชัดเจน เน้นให้ผู้ปกครองให้ความรัก ความใส่ใจ ความเข้าใจเด็ก ลดการใช้พฤติกรรมรุนแรงกับเด็ก ใช้ความสงบเข้าหาเด็ก เช่นหากเด็กมีอาการโกรธให้พ่อแม่เข้าไปกอดเด็กจนกว่าเด็กจะสงบ แล้วใช้ความเข้าใจถามถึงสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้เด็กไม่พอใจจึงแสดงความก้าวร้าวออกมา

3.สร้างกิจกรรมให้เด็กทำโดยเน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านสมาธิ และเป็นกิจกรรมที่เด็กให้ความสนใจ รวมถึงส่งเสริมทักษะและความสามารถที่เด็กมีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น

4.ใช้ความอดทน ใส่ใจรายละเอียดเล้กในการเปลี่ยนแปลงของเด็ก ส่งเสริมทักษะการแสดงอารมณ์ให้เด็กสามารถแสดงอารมณ์ทั้งดีและไม่ดีออกมาอย่างเหมาะสม

5.ส่งเสริมการให้เด็กได้เห็นในมุมที่ต่าง เช่น ให้เด็กได้รับรู้และเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น

6.นักกิจกรรมบำบัดจะพูดคุยกับคุณครูให้คุณครูได้เข้าใจเด็กเช่นเดียวกับพ่อแม่ รวมไปถึงการสร้างเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมห้อง

“ดิฉันเชื่อว่าการบำบัดเด็กนั้น ต้องบำบัดจากความรัก ความอบอุ่น ดังที่กล่าวกันมาปากต่อปากว่าเด็กเปรียบเสมือนไม้อ่อน หากเราดัดให้สวยงามได้ เมื่อกลายเป็นไม้แข็งก็จะคงทนคนความสวยงามนั้นได้ ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ พ่อแม่ควรเข้าใจในพัฒนาการและสิ่งที่ลูกเป็นเพื่อร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีการรับรู้ ความเข้าใจ และการแสดงอารมณ์ให้สมวัย”


เอกสารอ้างอิง

หมายเลขบันทึก: 616335เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I have a little poem that vaguely talk abour 'disadvantaged' in Hope and Pride https://www.gotoknow.org/posts/616284

;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท