ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข

1.ผู้สูงวัยติดเตียงยากจนมีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรงและไม่มีคนดูแล

ปัญหาแรกคือ เป็นผู้สูงวัยที่กลืนลำบากหกล้มปวดหลังรุนแรง

ผู้สูงวัยในกรณีนี้จะต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ เช่น แพทย์ นักกายภาพบำบัด พยาบาล รวมถึงนักกิจกรรมบำบัดด้วย สำหรับการกลืนลำบากนั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงวัยอย่างมาก จะต้องได้รับการประเมินและการฝึกการกระตุ้นอย่างถูกวิธีจากนักกิจกรรมบำบัด การหกล้มปวดหลังรุนแรงอาจจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวซึ่งจะต้องได้รับการรักษาและการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัด

ปัญหาที่สอง คือ ไม่มีคนดูแล

สำหรับกิจกรรมบำบัดนั้น การสร้างเสริมสุขภาวะให้กับผู้ป่วยก็เป็นอีกงานหนึ่งที่สำคัญ กล่าวคือการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือดูแลตนเองได้ ตลอดจนเกิดการพัฒนาระยะยาว การสร้างงานเพื่อก่อให้เกิดรายได้เลี้ยงดูตนเองได้ ในที่นี้การที่ผู้สูงวัยไม่มีคนดูแลนั้นหมายความว่ากิจกรรมบางอย่างอาจจะไม่มีความสามารถที่จะทำได้ ดังนั้นกิจกรรมบำบัดจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาสิ่งที่คนไข้มีอยู่ให้สามารถใช้ประโยชน์สำหรับการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การฝึกให้ผู้ป่วยใส่เสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง ทานอาหารได้ด้วยตนเอง เป็นต้น

2.วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่สูงวัยเลี้ยงดู

ปัญหาของผู้รับบริการรายนี้คือ มีภาวะซึมเศร้าและตกงาน

สำหรับอาการโรคซึมเศร้านั้น อาจมีสาเหตุมาความเครียดจากการตกงาน การรักษานั้นสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้มี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่ได้ดีกว่าเดิม การรักษาอีก 2 รูปแบบที่มีการศึกษาแล้วว่า สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี คือ การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม โดยการรักษารูปแบบแรกมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาระหว่าง ผู้ป่วยกับคนรอบข้างที่อาจ เป็นสาเหตุและกระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า ส่วนการรักษาแบบหลังจะช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมในแง่ลบกับตนเอง

ส่วนการรักษาโดยอาศัยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ก็นำมารักษาโรคนี้ โดยช่วยผู้ป่วยค้นหาปัญหาข้อขัดแย้งภายในจิตใจผู้ป่วย ทั้งนี้ เมื่อผู้รับบริการมีหัวใจที่แข็งแรงก็จะทำให้พร้อมที่จะทำสิ่งใหม่ๆได้ดีมากขึ้นด้วย สำหรับเรื่องงาน (work) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่สำคัญ ทางองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาช่วยในเรื่องการหางานรวมถึงการพัฒนาศักยภาพของประชากรในประเทศ เพื่อที่จะลดปัญหาการตกงานและส่งเสริมสุขภาวะของคนไทยให้ดีขึ้น

3.วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันปะกันพรุ่ง และติดเกม

การที่วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน แน่นอนว่าย่อมมีผลต่อ Education ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการดำเนินชีวิต การที่วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน อาจจะมีจากหลายสาเหตุ เช่น เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เรียนหนังสือไม่เข้าใจ ติดเกมเป็นต้นการแก้ไขที่เหมาะสมจึงต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน (multimodal treatment) เน้นแก้ไขสาเหตุ ร่วมกับการรักษาด้วยวิธี พฤติกรรมบำบัด (behavior therapy) หรือ การบำบัดพฤติกรรมและการ รู้คิด (cognitive behavioral therapy) หากปัญหาเหล่านี้ถูกแก้ไข การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเด็กวัยรุ่นก็จะมีประสิทธิผลทำให้สุขภาวะของวัยรุ่นก็จะดีขึ้นด้วยเช่นกัน

การย้ำคิดย้ำทำ ก็คือการทำพฤติกรรมเดิมๆซ้ำไปวนมา การทำอะไรซ้ำๆกันหลายๆครั้งอาจจะทำให้ผู้รับบริการมีความเครียดได้ ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาวะคือ การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัดเป็นการเข้าหาและเผชิญหน้ากับสิ่งที่ผู้ป่วยกลัว นอกจากนี้แล้ว การสร้างคุณค่าในตนเองหรือ high self-esteem ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้ผู้รับบริการมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้นเป็นผลพวงทำให้มีความวิตกกังวลน้อยลงด้วยเช่นกัน

การผลัดวันปะกันพรุ่ง คือการเลื่อนสิ่งที่ต้องการจะทำออกไปก่อน อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียนหนังสือ การเข้าสังคมได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างสุขภาวะที่ดี ผู้รับบริการควรผลัดวันปะกันพรุ่งอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ การจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะต้องทำแล้วก็ทยอยๆทำไปเรื่อยๆวันละเล็กวันละน้อย

การติดเกมในวัยรุ่นมีหลากหลายปัจจัย เช่น

> ปัจจัยทางครอบครัว : ไม่ได้เน้นเรื่องการมีระเบียบวินัยในตนเอง ตามใจเด็กและไม่มีกิจกรรมที่ทำร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

>ปัจจัยทางสังคม : สังคมที่ไฮเทค มีเครื่องมือมากมายในการเร่งเร้าอารมณ์เด็ก ทำให้สนุกเพลิดเพลินจนเกินพอดี สังคมวัตถุนิยม สังคมที่ขาดกิจกรรมแคลนกิจกรรม ล้วนเป็นผลที่ทำให้เด็กหันมาติดเกมมากยิ่งขึ้น

>ปัจจัยในตัวเด็กเอง : เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น เด็กมีปัญหาอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวลง่าย เด็กรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองต่ำ(low self-esteem)

ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือ ผู้ปกครองควรเข้ามามีบทบาท สร้างกิจกรรมที่มีการสานสัมพันธ์ระหว่างกันและสร้างสุขนิสัยที่ดีให้แก่เด็กด้วย นอกจากนี้ ควรจะเพิ่ม “เวลา” ให้กับเด็กมากๆเพื่อที่จะขจัดช่องว่างความไม่เข้าใจของช่วงวัยได้

4.วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

เด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าวและชอบตีคนแปลกหน้า โรคสมาธิสั้นคือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ได้แก่ ขาดสมาธิ (attention deficit), การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง (impulsivity), อาการซน (hyperactivity)
ดังนั้นการสร้างสุขภาวะให้กับเด็กสมาธิสั้นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว ผู้ปกครองและครูของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องเพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก การตีหรือการลงโทษทางร่างกาย เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ได้ผล และจะมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธหรือแสดงพฤติกรรมต่อต้านและก้าวร้าวมากขึ้น วิธีการที่ได้ผลดีกว่าคือ การให้คำชมหรือรางวัล (positive reinforcement) เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม หรือควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบหรือตัดสิทธิอื่น ๆ (negative reinforcement)

การไม่ชอบออกจากบ้าน อาจจะเป็นเพราะไม่มีความมั่นใจใจการเข้าสังคม ทำให้ไม่กล้าออกไปพบเจอและเรียนรู้โลกภายนอก ดังนั้นหากผู้รับบริการเป็นชอบเก็บตัวและกลัวการเข้าสังคม ผู้ปกครองควรสร้างความมีคุณค่าและความมั่นใจให้บุตรหลานโดยเปิดโอกาสให้บุตรหลานของท่านได้ทดลองเจอสังคมที่หลากหลาย เช่น การไปงานวันเกิดเพื่อนและไม่ควรผลักดันให้ทำสิ่งที่ใหญ่ๆในการเริ่มต้นเช่น การไปประกวดร้องเพลงเวทีใหญ่ อาจจะทำให้เด็กยิ่งขาดความมั่นใจและไม่กล้ามากขึ้นไปด้วย


นางสาวต่วนซุลลัยคอล ซาฮาบุดดีน

PTOT 5823022

อ้างอิงจาก :

http://www.manarom.com/social_thai.html

https://www.youtube.com/watch?v=pzqbN_

http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-0924

http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/psychiatrics/cap/knowledge53/I14.pdf

http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/...

http://health.kapook.com/view3146.html

http://www.ku.ac.th/e-magazine/february48/know/sam...

หมายเลขบันทึก: 616329เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท