ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


1.ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหาการกลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

ผู้สูงวัยที่ติดเตียงอาจให้หน่วยงานทางรัฐบาลติดต่อทางโรงพยาบาลให้ช่วยมาดูแลและแนะนำวิธีการช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุดตามความสามารถที่จะทำได้ เช่น ให้เปลี่ยนท่าการนอนเพื่อป้องกันแผลกดทับ เป็นต้น

ผู้สูงวัยมีปัญหาการกลืนลำบากต้องให้นักกิจกรรมบำบัดช่วยกระตุ้นกลืนโดยฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อริมฝีปาก กระพุ้งแก้มและลิ้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอและไม่ให้อาหารเข้าไปในทางเดินหายใจ

หกล้มจนปวดหลังรุนแรงต้องทราบสาเหตุที่ผู้ป่วยหกล้มเพราะอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบที่อยู่อาศัยหรือปัญหาที่ตัวของผู้สูงวัยเอง โดยติดต่อทางโรงพยาบาลในชุมชนหรือหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นให้ช่วยหาผู้ดูแลและปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยมากขึ้นและผู้ป่วยสูงวัยไม่มีคนดูแลต้องติดต่อหน่วยงานรัฐในเบื้องต้นเพื่อช่วยหาคนดูแลและแนะนำวิธีการช่วยเหลือตัวเองแก่ผู้สูงวัย

2.วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

ก่อนอื่นต้องจัดการปัญหาภาวะซึมเศร้าเพื่อปรับสุขภาวะของจิตใจให้เข้มแข็งและมีความสุขโดยผู้บำบัดต้องให้กำลังใจและแรงเสริมจากพ่อแม่เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกกล้าที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองให้ก้าวผ่านปัญหานี้ ปัญหาของการไม่มีงานทำให้ติดต่อทางหน่วยงานรัฐว่ามีงานอะไรที่สามารถให้ผู้รับบริการทำได้บ้างและนำศักยภาพของผู้รับบริการไปพัฒนาต่อเพื่อให้ตรงกับความต้องการของงานที่ผู้รับบริการต้องการทำ

3.วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันปะกันพรุ่ง และติดเกม

วัยรุ่นที่ไม่ไปโรงเรียนควรถามสาเหตุของการที่ไม่อยากไปโรงเรียนเพื่อที่จะหาวิธีแก้ไขได้ อาการย้ำคิดย้ำทำโดยทั่วไปเกิดร่วมกับโรคกลัวสังคม โรควิตกกังวลทั่วไป เป็นต้น สาเหตุมีปัจจัยทางชีวภาพที่เกิดจากสมองสารสื่อประสาทและพันธุกรรม ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนรู้อาจเกิดจากการเชื่อมโยงของสถานการณ์ที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย การย้ำทำนั้นเกิดจากการที่คิดว่าพฤติกรรมที่ทำนั้นลดความกังวลได้ การรักษาที่ได้ผลดีคือ พฤติกรรมบำบัด ส่วนการผลัดวันปะกันพรุ่ง สาเหตุในเบื้องต้นมาจากมีสมาธิสั้น งานที่ทำไม่น่าสนใจ เกิดความกังวลต่องานที่จะต้องทำ เป็นต้น การที่จะให้ผู้รับบริการทำงานที่สำคัญที่ผู้รับบริการคิดว่ายากและใช้เวลานาน ทำได้โดยให้ผู้รับบริการคิดว่างานที่ทำอยู่นั้นเป็นการเลี่ยงงานที่สำคัญมากกว่าและจัดลำดับความสำคัญของงาน ปัญหาการติดเกมเกิดขึ้นมากในช่วงวัยรุ่นเพราะการเล่นเกมทำให้อยากเอาชนะและรู้สึกสนุก แต่ถ้าเล่นมากไปจนเป็นปัญหาควรได้รับการแก้ไข ขั้นแรกควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีก่อนเริ่มปรับพฤติกรรม ตั้งกติกาก่อนการให้เล่นเกมและเอาจริงเอาจังกับกติกาที่ตั้งไว้ สร้างแรงจูงใจให้เลิกเล่นเกมและหากิจกรรมมาทดแทน ควรปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่สม่ำเสมอ พ่อแม่ควรใส่ใจและแนะนำการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

4.วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

เด็กสมาธิสั้นสาเหตุเกิดจากสมองส่วนหน้าและสารสื่อประสาททำงานผิดปกติ ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม โรคที่พบร่วมด้วยคือโรคการเรียนรู้บกพร่อง โรควิตกกังวล ปัญหาพฤติกรรมดื้อ ต่อต้านไม่ทำตามคำสั่ง รักษาเด็กสมาธิสั้นเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายและใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด การปรับพฤติกรรมทำได้โดยก่อนเริ่มทำกิจกรรม จัดสถานที่ให้เหมาะสมเพื่อให้เด็กไม่วอกแวก การตั้งกติกาและสื่อสารกับเด็กให้ชัดเจน ช่วงทำกิจกรรม แบ่งงานให้ทำเป็นขั้นตอนย่อยๆแล้วให้เด็กค่อยๆทำไปทีละขั้น การให้สัญญาณเตือนเพื่อให้เด็กหันมาสนใจ แต่ต้องระมัดระวังคือการไม่แสดงท่าทีที่ไม่พอใจและรำคาญในการเตือน หลังทำกิจกรรม ให้รางวัลและชมเชยเพื่อเป็นแรงเสริมให้เด็กอยากทำสิ่งนั้นอีก

พฤติกรรมก้าวร้าวและตีคนแปลกหน้าต้องทำความเข้าใจของที่มาก่อนว่าเกิดจากปัญหาอะไรเพราะเป็นปัญหาที่ซับซ้อนควรประเมินว่าปัจจัยใดที่ทำให้เด็กเป็นเช่นนี้ การเลี้ยงดูมีผลอย่างมากไม่ควรใช้ความรุนแรงเข้าไปหยุดความก้าวร้าวของเด็กควรใช้ความสงบหยุดความก้าวร้าวแล้วค่อยถามสาเหตุว่าทำไมถึงทำเช่นนี้ แต่ถ้าเด็กก้าวร้าวรุนแรงมากควรได้รับการประเมินในโรงพยาบาลเพื่อหาทางบำบัดต่อไป

ไม่ชอบออกจากบ้านอาจเกิดความกังวลในการเข้าสังคม คำแนะนำในการช่วยเหลือสำหรับพ่อแม่ สร้างโอกาสในการเข้าสังคมโดยหัดเริ่มจากสังคมเล็กๆก่อน ให้รางวัลและกำลังใจเพื่อให้เด็กกล้าพูด อย่าแสดงท่าทีรำคาญหากลูกแสดงท่าทีที่ไม่ได้ดังใจเพราะจะทำให้เด็กเกิดความเครียดนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

การรักษาโดยจิตแพทย์ใช้วิธีพฤติกรรมบำบัดเพื่อให้สิ่งที่เด็กกลัวหรือตื่นเต้นอยู่นั้นได้พิสูจน์ว่ามันไม่ใช่สิ่งที่คิด การฝึกให้เด็กเริ่มต้นการสนทนาหัดผ่อนคลายความเครียดและการให้ยารักษาที่ลดความกลัวและกังวลของเด็ก


น.ส.อามีร่าห์ จินเดหวา 5823019


อ้างอิง

http://www.med.cmu.ac.th/hospital/nintmed/2012/int...

http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowled...

http://www.popterms.mahidol.ac.th/newsletter/showa...

https://www.it24hrs.com/2014/problem-of-game/

http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowled...

http://www.manarom.com/social_thai.html

หมายเลขบันทึก: 616322เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท