Take home examination 2



กรณีศึกษาที่ 2 : เคสวัย 70 ปี มีภาวะสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากออกสังคม เงียบอยู่คนเดียว เดิมเป็นทนายความ และเครียดด้วยภาวะหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้


วิเคราะห์ตาม PEOP ได้ดังนี้

Diagnostic clinical reasoning = ผู้รับบริการมีปัญหาด้าน work แบบ occupational imbalance

Narrative clinical reasoning = อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่างและกิจกรรมยามว่างของผู้รับบริการก็คือปลูกต้นไม้ทานได้ ดังนั้นจึงจะขอวิเคราะห็กิจกรรมปลูกต้นไม้ทานได้


Job analysis : การปลูกต้นไม้ทานได้

กิจกรรมที่ทำในงาน

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรม

ความสามารถที่ช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคในการทำงาน

พรวนดิน

body structure

ROM

Strength

energy

sensory

Coordination

Visual perception

Cognition

emotion

ส่งเสริม

  • sensory
  • Coordination
  • Visual perception
  • ROM
  • Strength

ขัดขวาง

  • Cognition(memory,learning,planning,decision making)
  • Emotion instability
  • stress

ใส่ปุ๋ย

ขุดหลุม

หย่อนเมล็ด

เอาดินกลบหลุม

รดน้ำ

จากการวิเคราะห์กิจกรรมการปลูกต้นไม้ทานได้ สิ่งที่ขัดขวางในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการที่เป็น dementia คือ ความคิดความเข้าใจ และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่อาจส่วผลต่อการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมยามว่างของผู้รับบริการที่เป็น dementia คือ ความกลัวในการสูญเสียความสามารถต่างๆของตนเอง การรับรู้ของคนในครอบครัวต่อความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ และความสามารถในการเข้าถึงชุมชน(1)

Problem

  1. มีความเครียดเรื่องหนี้สิน
  2. อารมณ์แปรปรวนง่าย
  3. ความสามารถในการทำกิจกรรมยามว่างที่น้อยลง


Short term goal

  1. เข้าใจวิธีการและสามารถจัดการความเครียดเมื่อเกิดขึ้นได้ภายใน เวลา 1 สัปดาห์
  2. ผู้รับบริการสามารถรับรู้ รู้เท่าทันอารมณ์ตนเองและสามารถลดการแสดงออกทางอารมณ์ที่มากเกินไปได้ ภายใน 1 สัปดาห์
  3. ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ทานได้กับครอบครัวภายใน 2 สัปดาห์

Long term goal

ผู้รับบริการสามารถใช้กิจกรรมยามว่างเป็นการทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัวได้


Intervention Program 4 สัปดาห์

สัปดาห์ที่ 1

Goal1 : เข้าใจวิธีการและสามารถจัดการความเครียดเมื่อเกิดขึ้นได้ภายใน เวลา 1 สัปดาห์

FoR : Psychosocial rehabilitation

Therapeutic : Progressive muscle relaxation, breathing exercise, teaching and learning process

Activity : เมื่อเกิดความเครียด ต้องจัดการผ่อนคลายตนเองสามารถทำได้ดังนี้

1.หลับตาแล้วเกร็งแล้วคลายกลุ่มกล้ามเนื้อ โดยเริ่มจากส่วนบนไปส่วนล่างของร่างกาย

2.การฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม ใช้มือวางไว้บริเวณชายโครงด้านหน้าให้ผู้รับบริการหายใจเข้าออกธรรมดาโดยไม่ต้องเกร็งหัวไหล่และทรวงอก สังเกตว่าขณะหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบลง

วิธีการสอนเริ่มจาก ผู้บำบัดทำให้ดูแล้วทำไปพร้อมกัน หลังจากนั้นให้ผู้รับบริการลองทำเองโดยผู้บำบัดคอยให้การแนะนำอยู่ใกล้ๆ แล้วสุดท้ายคือสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือดูแผ่นพับรูปภาพที่ให้ไว้แล้วทำได้เอง


สัปดาห์ที่ 2

Goal2 : ผู้รับบริการสามารถรับรู้ รู้เท่าทันอารมณ์ตนเองและสามารถลดการแสดงออกทางอารมณ์ที่มากเกินไปได้ ภายใน 1 สัปดาห์

FoR : Psychosocial rehabilitation

Therapeutic : emotional coping skills training , feedback, therapeutic use of self, therapeutic use of relationship

Activity :

  1. ปล่อยให้ผ็รับบริการแสดงอารมณ์นั้นๆออกมาให้หมด ผู้บำบัดไม่พูดแทรกขัดจังหวะ
  2. เมื่อผู้รับบริการเริ่มสงบลง ให้ผู้บำบัดถามผู้รับบริการว่ารู้สึกอย่างไร
  3. ให้ผู้รับบริการส่องกระจกดูสีหน้าท่าทางตนเองว่าเป็นอย่างไร
  4. ให้ผู้รับบริการลองfeedback ตัวเองดูว่าลักษณะตนเองเป็นอย่างไร เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร
  5. เมื่อผู้รับบริการสามารถสะท้อนตัวเองได้ถึงการแสดงอารมณ์เช่นนี้ว่าควรแสดงออกมาหรือไม่ ก็จะเริ่มให้ผู้รับบริการให้ดูวิดิโอแล้ววิเคราะห์ออกมาว่ามันมีความรู้สึกหรือลักษณะอะไรเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดการแสดงอารมณ์นั้นออกมาเพื่อที่จะได้ยับยั้งการแสดงอารมณ์นั้นได้ทันท่วงที โดยมีผู้บำบัดคอยช่วยชี้แนะ


สัปดาห์ที่ 3-4

Goal 3: ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ทานได้กับครอบครัวภายใน 2 สัปดาห์

FoR : Occupational adaptation,Physical rehabilitation

Therapeutic : work modification , assistive device, environmental modification

Activity : การให้ผู้รับบริการได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากๆ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมจะมีส่วนช่วยในการลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการ dementia มากยิ่งขึ้น(2) ดังนั้นเพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถของผู้รับบริการจึงจัดการทำกิจกรรมภายใต้เงื่อนไขดังนี้

Task modification

      • ผู้รับบริการต้องทำกิจกรรมนี้ร่วมกับผู้อื่นด้วย เช่น อาจให้คนในครอบครัวมาช่วยปลูกต้นไม้ เรียนรู้การปลูกต้นไม้จากผู้รับบริการ โดยอาจเริ่มจากให้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยแค่คนเดียวแล้วค่อยเพิ่มจำนวนคนไปเรื่อยๆ หลังจากนั้น ก็ให้เริ่มมีการเริ่มเข้าหาผู้คุยกับเพื่อนข้างบ้าน เช่น เดินเอาผลผลิตไปให้ แล้วค่อยไปช่วยครอบครัวขายผลผลิต เป็นต้น

Environmental modification

      • ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับครอบครัวถึงสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมหรือขัดขวางความสามารถของเขา และหน้าที่หรือสิ่งที่ครอบครัวสามารถช่วยเหลือได้
      • อุปกรณ์หรือสิ่งของต่างๆที่ผู้รับบริการใช้เป็นประจำควรจัดวางไว้ในตำแหน่งเดิม

Assistive device

      • ให้ผู้รับบริการพกสมุดจดติดตัวไว้เสมอ และให้บันทึกเหตุการณ์สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเอาไว้เสมอ ในสมุดอาจจดแผนที่ ที่อยู่ที่บ้าน เบอร์คนในครอบครัวที่สามารถติดต่อได้ไว้ด้วย ในกรณีที่เริ่มออกไปในชุมชน


      Procedural clinical reasoning =



      References

      1. Innes A, Page SJ, Cutler C. Barriers to leisure participation for people with dementia and their carers: An exploratory analysis of carer and people with dementia’s experiences. Dementia. 2015.

      2. Eriksson Sörman D, Sundström A, Rönnlund M, Adolfsson R, Nilsson L-G. Leisure Activity in Old Age and Risk of Dementia: A 15-Year Prospective Study. The Journals of Gerontology Series B: Psychological Sciences and Social Sciences. 2014;69(4):493-501.

คำสำคัญ (Tags): #occupational therapy#dementia
หมายเลขบันทึก: 616325เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท