ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข



อย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชมคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข?

1.ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหาการกลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

ผู้สูงวัยไม่มีคนดูแล หากไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ให้สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เน้นการดูแลจากครอบครัวเป็นหลัก หากไม่สามารถติดต่อญาติได้ให้คนในชุมชนมาช่วยเหลือ โดยให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการยอมรับในตัวผู้ป่วย และวิธีใรการช่วยดูแลผู้ป่วย ร่วมกับให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ ดูแลสุขภาพ ประสานการส่งต่อกรณีฉุกเฉิน กรณีปัญหากลืนลำบาก ให้นักกิจกรรมบำบัดช่วยกระตุ้นกลืนในเขา นอกจากนี้ยังต้องแนะนำ หรือให้กิจกรรมเพื่อคงไว้ซึ่งสภาวะที่ดีของผู้ป่วย สอนผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันตามระดับความสามารถของผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ปกติ ยับยั้งการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ โดยให้กิจกรรมที่ผู้ป่วยอยากจะทำ มีแรงจูงใจในการทำ ไม่ต่อต้านกิจกรรมนั้นๆ และควรดูแลสภาพจิตใจของเขาด้วย

2.วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

ชักชวนผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หรืองานอดิเรกที่เคยให้ความสนุกสนานต่อผู้ป่วย มาก่อน เช่น เดินเล่น ชมภาพยนตร์ หรือเล่นกีฬา แต่ไม่ควรผลักดันมากเกินไป และเร็วเกินกว่าที่ผู้ป่วยจะรับได้เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกไร้ค่าไร้ความ สามารถให้มากขึ้น หางานที่ประเมินแล้วว่าผู้ป่วยสามารถทำได้ และต้องไม่ส่งผลเสียต่อผู้ป่วย อาจจะเริ่มจากงานเล็กๆน้อยๆ

และปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้ดีขึ้นคือคนในครอบครัว แนะนำพ่อแม่ คนใกล้ชิด ให้คอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด คอยพยุง หรือประคับประคองทางอารมณ์ของเขา โดยการรับฟัง เข้าใจ อดทน ห่วงใย สนับสนุนและให้กำลังใจการรับฟังผู้ป่วยอย่างตั้งใจ แทนการแสดงท่าทีรำคาญ หรือดูแคลนผู้ป่วย ควรจะชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตลอดจนความหวังอย่าเรียกร้องให้ผู้ป่วยต้องหายจากโรคอย่างรวดเร็ว อย่ากล่าวโทษผู้ป่วยซึมเศร้าว่าแสร้งทำ หรือขี้เกียจ เพราะถึงแม้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก็ยังต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งจึงจะมีอาการดีขึ้น ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว

3.วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันประกันพรุ่ง และติดเกม

ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนมักเกิดจากหลายสาเหตุ หลาย ปัจจัย การรักษาที่เหมาะสมจึงต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน เน้นแก้ไขสาเหตุ ร่วมกับการรักษาด้วยการบำบัดพฤติกรรม นอกจากนี้อาจจะมีการรักษาทางด้านจิตเวช การประสานงานทำความเข้าใจกับทาง โรงเรียนก็มีความสำคัญในการดูแลรักษาเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะไม่ ยอมไปโรงเรียน รองลงมาจากครอบครัว ดังนั้นครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ควรแนะนำให้พ่อแม่คนในครอบครัวทราบถึงปัญหาและแนะนำวิธีการปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่เหมาะสม ในกรณีที่ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนเกิดขึ้นแบบฉับพลัน ให้แนะนำพ่อแม่ผู้ปกครองนำเด็ก และวัยรุ่นกลับเข้าสู่โรงเรียนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ถือเป็นหัวใจ สำคัญในการรักษาภาวะนี้ แต่หากเป็นกรณีที่ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานเรื้อรัง การประเมินและวางแผนการรักษาอย่าง ละเอียดก่อนการนำเด็กและวัยรุ่นกลับเข้าสู่โรงเรียนจะมีความสำคัญ อย่างยิ่ง

การย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยจะมีความคิด ความรู้สึก ที่เกิดจากแรงผลักดันภายใต้จิตใจหรือจินตนาการ และโดยส่วนมากก็มีรากฐานมาจากความกลัว ซึ่งแม้ผู้ป่วยจะตระหนักดีว่าเรื่องที่คิดซ้ำ ๆ นั้นไร้สาระ ไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดได้ สามารถให้การรักษาโดยพฤติกรรมบำบัดโดย ไม่ให้หนีความกลัวที่เกิดขึ้น เพราะการทำแบบนั้นความกลัวก็จะหายเพัยงชั่วครู่ แต่หากเผชิญหน้ากับความกลัวนานๆ ความกลัวที่เกิดขึ้นจะค่อยๆลดลงเพราะเราจะเกิดความชินชาขึ้น นอกจากการฝึกโดยการเข้าหาและเผชิญหน้ากับสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวแล้ว ผู้ป่วยยังจะต้องงดเว้นการย้ำทำในขณะฝึกด้วย ผู้ป่วยอาจจะไม่ชอบการรักษาโดยการใช้พฤติกรรมบำบัด เพราะผู้ป่วยต้องทนทำสิ่งที่ตนกลัว แต่ถ้าผู้ป่วยยอมร่วมมือ การรักษามักได้ผลดี อาการต่าง ๆ จะหายได้อย่างรวดเร็วและหายได้อย่างค่อนข้างถาวร ที่สำคัญคือ ต้องลงมือทำจริง ๆ และให้เวลากับการฝึกแต่ละครั้งนานพอ อาจจะรักษาควบคู่กับการใช้ยา

การผลัดวันประกันพรุ่งอาจจะให้ทางครอบครัวคอยช่วยเหลือ ตักเตือนผู้ป่วยในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำ และยังต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ตัดบรรยากาศที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เราทำอย่างอื่นนอกจากงานที่ได้รับหรือสิ่งที่ต้องทำออกไป และแนะนำให้ผู้ป่วยอยู่กับกลุ่มคนที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากลงมือทำให้มากขึ้น การติดเกมก็เช่นกัน พ่อแม่ควรขอบเขตในการเล่นเกม จำกัดเวลาและ หากิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ และเหมาะสมกับผู้ป่วย สิ่งที่ผู้ป่วยถนัดหรือมีความสามารถด้านนั้นมาแทน เพราะถ้าเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยทำได้ดีก็จะส่งผลให้เขาอยากจะทำสิ่งนั้น

4.วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

เด็กสมาธิสั้นนั้นจะวอกแวกง่าย ไม่มีสมาธิในการทำอะไรนานๆ ควรฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้เวลานาน อาจจะเริ่มจากกิจกรรมที่เด็กมีความสนใจก่อน แนะนำพ่อแม่ให้จัดเวลาในการทำกิจวัตรต่างๆโดยให้เด็กทำตามเวลาที่ให้ไว้ และแทนที่จะให้ความสนใจ ดุว่า เมื่อลูกทำผิด เช่นรบกวนผู้อื่น พ่อแม่ควรเปลี่ยนมาให้ความสนใจเมื่อลูกทำตัวดี อาจจะปรับสภาพแวดล้อม ลดสิ่งกระตุ้นต่างๆออก ทั้งที่บ้านและโรงเรียน

พฤติกรรมการก้าวร้าวของเด็ก ส่งผลต่อการเข้าสังคมมาก ต้องรีบแก้ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก ไม่งั้นยิ่งอายุเพิ่มขึ้นอาจจะส่งผลให้พฤติกรรมก้าวร้าวนั้นรุนแรงขึ้น พ่อแม่เป็นปัจจัยสำคัญต่อพฤติกรรมนี้ แนะนำพ่อแม่ไม่ให้แสดงพฤติกรรมความรุนแรงให้เด็กเห็น หรือพาเด็กออกจากสภาพแวดล้อมที่มีการใช้ความรุนแรง หรือเด็กอาจจะมีเรื่องที่ไม่พอใจ บอกเด็กให้ระบายออกมาเป็นคำพูด แล้วใช้เหตุผลคุยกันแทน

การที่เด็กไม่ชอบออกจากบ้านก็ส่งผลต่อการเข้าสังคมเช่นกัน หาสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่ชอบออกจากบ้าน ว่าเป็นเพราะไม่ชอบคนหรือเพราะเคยเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีอะไรหรือเปล่า ถ้าไม่มีสาเหตุ อาจจะเริ่มจากการนำกิจกรรมที่เด็กชอบทำตอนอยู่ในบ้าน ให้นำออกไปทำบริเวณนอกบ้าน หรือหาสิ่งจูงใจนอกบ้านที่เด็กสนใจมาช่วยเพื่อให้เด็กยอมออกมา ปรับความรู้สึก ความคิดที่ไม่อยากออกจากบ้านให้ลดล

ภควดี ศรานุรักษ์ 5823025

อ้างอิงจาก

หมายเลขบันทึก: 616326เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท