ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข

1.ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

-ผู้ป่วยติดเตียงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้มากมาย จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ สิ่งสำคัญของการดูแลผู้ป่วยติดเตียงคือความสะอาด ต้องปรับสภาพบ้านให้เหมาะแกผู้ป่วย อากาศควรถ่ายเท ห้องไม่อยู่ในมุมอับ ผู้ป่วยติดเตียงต้องนอนท่าเดิมเป็นเวลานานซึ่งกล้ามเนื้ออาจจะโดนกดทับ เราจึงควรให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ หรือให้ลุกออกจากเตียงไปทำกิจกรรมอื่นๆเท่าที่ผู้สูงวัยสามารถทำได้ เช่น กิจกรรมที่เขาถนัดหรือสนใจ อาจจะแนะนำท่าบริหารเล็กน้อยให้ผู้สูงวัย

ส่วนปัญหากลืนลำบาก ต้องประเมินว่าเป็นการกลืนลำบากแบบไหนแล้วเข้าสู่ขั้นการบำบัดต่อไป สามารถใช้การกระตุ้นการกลืนมาช่วยในการบำบัด หรือช่วยปรับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหารของผู้สูงวัย อาการปวดหลังอย่างรุนแรง ให้คำแนะนำเรื่องท่าทางต่างๆในชีวิตประจำวันโดยไม่ให้กระทบกับอากาศปวดบริเวณหลังและบริหารท่าหลังง่ายๆที่ผู้สูงวัยสามารถทำได้ ทั้งนี้เราควรเน้นไปที่การส่งเสริงให้ผ็สูงวัยสามารถกลับมาช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด ในกรณีที่ผู้สูงวัยไม่มีคนดูแลควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเพื่อพาไปศูนย์พักพิงสำหรับผู้สูงอายุ


2.วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

- ภาวะซึมเศร้า เป็นอาการป่วยทางอารมณ์ที่ต้องการการรักษาโดยเร็ว เพราะถ้าหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจจะคิดสั้นถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ การรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายวิธี เช่น การใช้ยารักษา การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่วิธรที่นักกิจกรรมบำบัดทำได้ก็คือ การเปลี่ยนความคิดของคนวัยทำงานคนนี้ ซึ่งเราต้องทำให้เขาคิดบวกแล้วสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ ให้เขามองโลกในแง่ดีมากขึ้น โลกของเราไม่ได้มีแต่สิ่งร้ายๆ ถึงแม้โลกอาจจะทำร้ายเราในบางที แต่ก็เหมือนเหรียญที่มีสองด้าน ชีวิตเราก็เช่นกันไม่ได้มีแต่ด้านเลวร้าย ด้านที่ดีก็มี เราจึงควรโฟกัสด้านดีๆ ด้านไหนไม่ดีก็ปล่อยผ่านบ้าง อีกวิธีคือการเปลี่ยนพฤติกรรม คนที่เป็นภาวะซึมเศร้า ไม่ควรนั่งหรือนอนเฉยๆเพราะอาจจะเกิดความคิดที่ฟุ้งซ่านกว่าเดิมก็เป็นได้ นักกิจกรรมบำบัดจึงควรหากิจกรรมที่เหมาะสมให้เขาทำ เป็นงานเล็กๆน้อยๆที่เขาพอจะทำได้ เช่น จัดข้าวของ ล้างรถ

เนื่องจากวัยทำงานเป็นวัยที่ต้องแบกรับภาระอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งในกรณีนี้ที่ไม่มีงานทำ อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมา ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้มีงานทำ เริ่มจากการทำงานเล็กๆน้อยๆ เช่น ขายของกิ้ฟช็อป ทำงานพาร์ทไทม์ หรือ เป็นผู้ช่วยในตำแหน่งงานต่างๆ ที่ไม่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางมากนัก ซึ่งภาวะซึมเศร้าสามารถแก้ไขได้โดยการช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่างๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัว การหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง การปรับสภาพแวดล้อมต่างๆในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม นอกจากนี้พ่อแม่ของผู้ป่วยยังเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น เราจึงควรให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะของโรค และวิธีการช่วยเหลือที่พ่อแม่ของเขาสามารถทำได้


3.วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันประกันพรุ่ง และติดเกม

-ปัญหาการไม่ไปโรงเรียนของวัยรุ่นนั้น อาจจะมีปัญหาจากความกังวลข้างในจิตใจ แล้วแสดงออกมาพฤติกรรม ก้าวร้าว โวยวายไม่ยอมไปเรียน เราต้องประเมินดูก่อนว่าเด็กมีลักษณะมีอาการจิตเวชอื่นร่วมด้วยหรือไม่ โรคส่วนใหญ่ที่มักพบร่วมด้วย เช่น โรควิตกกังวลเกี่ยวกับการแยกจาก (separation anxiety disorder) โรคบกพร่องด้านการเรียน (learning disorder) หาสาเหตุก่อนว่าทำไมเด็กจึงไม่ยอมไปโรงเรียน อาจจะเป็นเพราะความย้ำคิดย้ำทำของเด็กร่วมด้วยที่เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน เด็กอาจจะเจอเหตุการ์ณที่กระทบจิตใจที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน เราต้องเข้าไปปรับปรับความคิดเด็ก ให้เด็กเปลี่ยนความคิดที่ไม่ดีต่อโรงเรียนให้ดีขึ้น และเราควรกำหนดเวลาการเล่นเกมของเด็กให้พอดีและเหมาะสมพูดถึงข้อเสียของการติดเกมให้เด็กฟัง และคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หรือหากิจกรรมอื่นๆให้เด็กทำแทน เช่น การเล่นกีฬา การเล่นดนตรีมาแทนการเล่นเกม เพื่อที่เด็กจะได้มีงานอดิเรกอย่างอื่นทำ ถ้าเราลดปัญหาการติดเกมได้ การผลัดวันประกันพรุ่งก็จะลดลงไปด้วย เพราะเด็กมีเวลามากขึ้น ไม่ใช่เอาแต่เล่นเกม หรือถ้าเด็กติดนิสัยไปแล้ว เราก็ต้องบอกให้เขารู้ หรือหากิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดการฝึกแบ่งเวลาและเข้าใจถึงการทำสิ่งต่างๆให้เสร็จโดยเร็วมันจะดีกว่าการหมักหมมไว้ทำทีเดียว


4.วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

-เด็กสมาธิสั้น เราควรหากิจกรรมที่ฝึกสมาธิ ทำให้เขาจดจ่อกับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งได้ มาให้เขาทำ เช่น การต่อจิ๊กซอว์ และผู้ปกครองเป็นคนที่อยู่กับเด็กมาเป็นปัจจัยสำคัญที่เด็กจะดีขึ้น โดยวิธีที่ได้ผลมากกว่าการดุว่าเด็กคือวิธีการที่ได้ผลดีกว่าคือ การให้คำชมหรือรางวัล (positive reinforcement) เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยได้ดีกว่า ส่วนพฤติกรรมก้าวร้าว เมื่อเด็กก้าวร้าวก็ควรใช้ความสงบหยุดเด็ก ไม่ควรว่ากล่าวหรือโมโหใส่เด็ก เมื่อเด็กสงบลง ก็ถามถึงเหตุผลให้เด็กระบายออกมาเป็นคำพูด เด็กไม่ชอบออกจากบ้าน เราก็ควรที่จะพาเด็กไปเปิดหูเปิดตาข้างนอก อาจจะทำกิจกรรมที่สนุกสนานร่วมกับผู้อื่น เช่นการเล่นกีฬา ทำให้ด็กรู้สึกสนุกสนานและสามารถที่จะอยู่กับคนแปลกหน้าได้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน หรือถ้าเด็กกลัวคนแปลกหน้า เราก็ควรที่จะทำให้เขารู้ว่าคนแปลกหน้าไม่ได้เลวร้านอย่างที่เขาคิด อาจจะไปสร้างสถานการ์ณ โดยการไปคุยกับคนที่เด็กไม่เคยเจออย่างสนิทสนม เมื่อเด็กเห็นเราสนิทใจ เขาอาจจะเริ่มเปิดใจและกลัวคนแปลกหน้าน้อยลง


เอกสารอ้างอิง

ดร.จริยาวัตร คมพยัคฆ์. พยาบาลในบ้าน. สืบค้นวันที่ 29 กันยายน, 2559 เข้าถึงได้จาก : https://www.doctor.or.th/article/detail/5967

ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล. โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. สืบค้นวันที่ 29 กันยายน, 2559 เข้าถึงได้จาก: http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

ไม่ปรากฎนาม. โรคซึมเศร้า อาการโรคซึมเศร้าที่ต้องรีบรักษา. สืบค้นวันที่ 30 กันยายน,2559 เข้าถึงได้จาก: http://health.kapook.com/view3241.html

พญ.นิดา ลิ้มสุวรรณ. ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน (school refusal). สืบค้นวันที่ 30 กันยายน,2559 เข้าถึงได้จาก: http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/09042014-1218

สำนักบริการคอมพิวเตอร์. โรคสมาธิสั้นคืออะไร. สืบค้นวันที่ 30 กันยายน,2559 เข้าถึงได้จาก: http://www.ku.ac.th/e-magazine/february48/know/sam...


จัดทำโดย สโรชา ปีตวิบลเสถียร 5823031 PTOT เลขที่28

หมายเลขบันทึก: 616327เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท