“ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข”


1 ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

เริ่มแรกเราควรเข้าไปสัมภาษณ์ให้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยก่อน อาจถามถึงสาเหตุของการเจ็บป่วย ถามถึงลักษณะบริเวณบ้าน ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเข้าไปดูสถานที่จริงด้วยเพราะอาจมีอุปกรณ์บางอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวันเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากยิ่งขึ้น ควรตั้งเป้าประสงค์ร่วมกันว่าผู้ป่วยต้องการอะไร ผู้ป่วยมีปัญหาตรงไหนที่ขัดขวางต่อการใช้ชีวิตประจำวันบ้าง หากปวดหลังรุนแรงมาก เกินกว่าที่เราจะช่วยเหลือได้ก็ควรร่วมงานกับวิชาชีพอื่น เช่น หมอ นักกายภาพบำบัด เป็นต้น ส่วนปัญหาการกลืนลำบากเราก็ควรทำการรักษา ซึ่งการกระตุ้นกลืนก็จะมีวิธีการดังนี้

- จัดท่าในการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ผู้ป่วยควรนั่งหลังตรง คอตรง ไม่เอียงไปใดด้านหนึ่ง

- การกระตุ้น/ยับยังปฏิกิริยาการตอบกลับในช่องปากที่มาก/น้อยเกินไป(Hypo/Hyper Reflex)ให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดกลไกลการป้องกันตัวอย่างอัตโนมัติเมื่อมีอาหาตกเข้าหลอดลม

- การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อของปาก แก้ม ลิ้น (Oral-motor stimulation) ให้สามารถควบคุมการทำงานในการดูด เคี้ยว กลืน ได้อย่างเหมาะสม

- ปรับระดับอาหารให้เหมาะสมตามความสามารถในการกลืนของผู้ป่วย โดยมีความข้นของอาหารดังนี้

-(Puree) อาหารข้นหนืด ไม่มีน้ำผสมอยู่ เช่น ฟักทองบด มันบด

- (Thick Puree- No liquids) เช่น สังขยา วุ้น โจ๊กข้น

- (Thick and thin puree-thick liquid) เช่น โยเกิร์ต

- (Mechanical soft thick liquid) เช่น ข้ามต้มปลา

- (Mechanical soft diet) เช่น อาหารอ่อน ข้าวต้มเครื่อง ก๋วยเตี๋ยวน้ำ

- (Regular diet) อาหารปกติ

ส่วนปัญหาไม่มีคนดูแลเราก็ควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยคนนี้ได้ เช่น กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(สถานสงเคราะห์คนชรา) เป็นต้น


2 วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

โรคซึมเศร้าคือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล ซึ่งการรักษาอาการซึมเศร้านี้เราควรทำงานร่วมกับจิตแพทย์ ให้ช่วยรักษาอาการซึมเศร้าให้หายเสียก่อน จากนั้นเราก็ควรดึกศักยภาพและความถนัดพื้นฐานของผู้ป่วยออกมาเพื่อต่อยอดการทำงานต่อไป เช่น ผู้ป่วยชอบทำอาหารและทำอาหารอร่อย ก็ให้ผู้ป่วยเปิดร้านอาหารเล็กๆทำ หากเงินทุนไม่มากพอก็อาจจะขายตามตลาดนัด หรือไปสมัครงานตามร้านอาหาร โรงเรียน เป็นต้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือครอบครัว พ่อแม่คือคนที่สำคัญในรักษา ควรให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยสม่ำเสมอ ควรบอกผู้ป่วยอยู่เสมอว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ จะช่วยได้มาก เพราะผู้ป่วยมักมองโลกในแง่ร้าย
จะลืมประเด็นนี้อยู่เรื่อย ๆ อีกทั้งยังต้องให้กำลังใจให้ผู้ป่วยรับประทานยาให้สม่ำเสมอหากผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงต้องพึ่งยาในการรักษา เพราะความที่ยาออกฤทธิ์ช้าทำให้ผู้ป่วยอาจเข้าใจผิดว่ายานี้ไม่ได้ผล


3 วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันปะกันพรุ่ง และติดเกม

ภาวะการติดเกม จัดอยู่ในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ มักใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์เล่นเกมเป็นเวลานานและมีแนวโน้มการใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพ่อแม่เตือนหรือห้ามไม่ให้เล่นมักจะหงุดหงิด ในวัยรุ่นมีโอกาสติดเกมได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมซึ่งเป็นช่วงที่มีเวลาว่างมาก จึงเล่นโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ได้ทุกๆวัน เกือบตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาเปิดเทอมจึงไม่อยากไปโรงเรียน เมื่อพ่อแม่บอกให้ทำอะไรมักจะบอกว่าเดี๋ยวก่อน เล่นเกมให้เสร็จก่อน ขั้นตอนแรกที่เราควรทำก็คือเข้าไปพูดคุย สัมภาษณ์พ่อแม่หรือผู้ปกครองให้ทราบถึงพฤติกรรมและลักษณะนิสัยของวัยรุ่นก่อน จากนั้นควรตั้งเป้าประสงค์ร่วมกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง หาแนวทางในการบำบัดรักษา เช่น ให้ตระหนักถึงข้อเสียของการเล่นเกม ควรจัดตารางเวลาในแต่ละวันโดยแบ่งสัดส่วนการเล่นเกมให้เหมาะสม หากิจกรรมที่ตัววัยรุ่นเองชอบ มีประโยชน์ทำในเวลาว่าง หากอยากเล่นเกมก็อาจจะปรับเปลี่ยนการเล่นเกมที่ฝึกสมองพัฒนาไอคิว


4 วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

เด็กที่สมาธิสั้นมักจะไม่อยู่นิ่ง ควบคุมตัวเองไม่ได้ หุนหัน ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ไม่ได้คิด อาจจะพูดโต้ตอบโดยที่ไม่คิด ข้ามถนนโดยที่ไม่ดูรถ ไม่สามารถรอยคอยสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ อาจจะแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เมื่อไม่พอใจก็จะทำลายของเล่นนั้น ซึ่งเด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเรียน มีภาวะต้านสังคม เริ่มแรกอาจจะมีการดื้อต่อคำสั่ง และทำร้ายคนอื่นเมื่อไม่พอใจ จึงเป็นเหตุที่ทำให้เด็กมีความก้าวร้าว และมีอาการต้านสังคม เมื่อเจอคนแปลกหน้าก็มักจะตีคนแปลกหน้า เด็กจึงไม่ยอมออกจากบ้านไปพบปะผู้คน

เริ่มแรกเราควรเข้าไปพูดคุยกับพ่อแม่ของเด็กก่อน ไม่ควรเข้าไปพูดคุยกับเด็กโดยตรง เพราะเด็กยังไม่รู้จักเรา อาจไม่ไว้ใจและทำร้ายเราได้ ควรสอบถามเพื่อให้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กให้มากเพราะจะเป็นผลดีในการหาแนวทางในการรักษารักษาต่อไป เมื่อเด็กเห็นเราสนิทสนมกับครอบครัวของตัวเองแล้วนั้นเราสามารถที่จะถามไถ่ตัวของเด็กบ้างเพื่อที่จะได้รู้ว่าเด็กมีการตอบสนองอย่างไรต่อบุคคลอื่น จากนั้นเราควรร่วมตั้งเป้าหมายระยะยาวร่วมกับพ่อแม่ของเด็ก แนะนำวิธีการให้การบำบัดรักษา เช่น พ่อแม่ควรสอนให้เด็กมองโลกในแง่ดี หาข้อดีของสิ่งต่างๆรอบๆตัว สอนให้รู้ว่าบุคคลรอบข้างบางคนก็ยังเป็นมิตร และที่สำคัญควรให้กิจกรรมในบำบัดรักษา โดยอาจจะเริ่มจากกิจกรรมที่เด็กชอบ เช่น วาดภาพ ระบายสี ต่อบล็อก ฯลฯ


อ้างอิง

ฝึกกลืน..ไม่ใช่แค่การป้อนอาหาร(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/507239. 30 กันยายน 2559

สมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:http://www.siamhealth.net. 30 กันยายน 2559

โรคซึมเศร้า อาการโรคซึมเศร้าที่ต้องรีบรักษา(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://health.kapook.com/view3241.html. 30 กันยายน 2559

โรคเกมสถานการณ์น่าห่วงของเด็กไทย(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:http://baby.kapook.com. 30 กันยายน 2559


จัดทำโดย

นางสาวศิริลักษณ์ สิงห์กา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท