ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมนี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมนี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข

1.ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรงและไม่มีคนดูแล

“ผู้ป่วยติดเตียง” หมายถึง บุคคลที่มีความเจ็บป่วยและต้องนอนอยู่ในเตียงหรือบนที่นอนตลอดเวลา อาจเป็นระยะหนึ่งหรือตลอดไป ซึ่งผู้ป่วยติดเตียงนับมีความยากลำบากในการดูแล จำเป็นต้องได้รับการดูแลใส่ใจจากผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นควรครอบครัวที่ดูแลเป็นหลัก นอกจากนี้ควรมีนักกิจกรรมบำบัดหรือนักกายภาพดูแล เพื่อจะได้ดูแลและช่วยพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆรวมถึงเรื่องการกลืนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้เองและสะดวกขึ้น รวมถึงได้ดูแลอาการที่คนไข้ปวดหลังเนื่องจากล้มลง

หนึ่งในนโยบายที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำลังดำเนินการคือการมีผู้ดูแลระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) และผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver)สำหรับพื้นที่ ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ไม่ใช่แค่ให้เพียง Care Giver มาดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับดึงให้ผู้สูงอายุติดบ้านได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วย

2.วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

โรคซึมเศร้าคือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล จึงต้องได้รับการรักษาโดยเร็วด้วยการปรึกษาจิตแพทย์

ครอบครัวและญาติพี่น้องถือเป็นคนสำคัญในทีมรักษา การคอยให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้จะช่วยได้มาก เพราะผู้ป่วยมักมองโลกในแง่ร้าย และมักจะลืมประเด็นนี้อยู่เรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังต้องให้กำลังใจให้ผู้ป่วยรับประทานยาให้สม่ำเสมอและระวังไม่ให้คนไข้

นักกิจกรรมบำบัดค่อยข้างจะมีบทบาทเป็นอย่างมากเพราะสามารถพัฒนาและดึงศักยภาพของคนไข้ให้ออกมา ทำให้คนไข้รู้ว่าตัวเองยังมีค่าแล้วหลังนี้ก็หารายได้เล็กๆน้อยๆแล้วค่อยๆพัฒนาอาชีพไปเรื่อยๆเพื่อสามารถให้ดูแลตัวเองและดูแลพ่อแม่ในอนาคตได้

3.วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันปะกันพรุ่ง และติดเกม

เนื่องจากเด็กวัยรุ่นบางคนเที่ยวกลางคืน ติดเกม และไม่มีเวลาสำหรับพักผ่อน ความคิดก็ไม่ไปกับสิ่งที่กำลังเรียนอยู่ ทำให้จิตใจเหม่อลอย ไม่มีสติในการเรียน ครูอาจารย์ให้งานอะไรก็ไม่ยอมทำพอกไปเรื่อยๆจนทำไม่ทัน ทำให้มีผลผลกระทบต่ออนาคตของวัยรุ่น การใช้สมอง สติ ปัญญา ในการเรียนจะลดน้อยลง จากปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นเหตุผลทำให้วัยรุ่นไม่อยากหรือไม่ยอมไปโรงเรียน

โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder(OCD) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ และมีการตอบสนองต่อความคิด ด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวผู้ป่วยเองก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำดังกล่าวได้ และหมดเวลาไปกับอาการดังกล่าวเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานจากอาการดังกล่าว ดังนั้นการรักษาที่ได้ผลดีคือ พฤติกรรมบำบัด โดยการให้ผู้ป่วยเผชิญ กับสิ่งที่ทำให้กังวลใจและป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมย้ำทำ ที่เคยกระทำ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มักล้างมือ ก็ให้จับของที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าสกปรก ให้รออยู่ช่วงหนึ่งจึงอนุญาตให้ล้างมือ การฝึกจะทำตามลำดับขั้น เริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกกังวลน้อยไปหามาก และระยะเวลาที่ไม่ให้ล้างมืออาจเริ่มจาก 10-15 นาที ไปจนเป็นชั่วโมง หากการรักษาได้ผลผู้ป่วยจะกังวลน้อยลงเรื่อยๆ จนสามารถจับสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ต้องรีบไปล้างมือดังก่อน นอกจากนี้ การให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย มีความสำคัญอย่างยิ่ง แพทย์ควรแนะนำสมาชิกในครอบครัว ถึงอาการของโรค แนวทางการรักษาและการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งแนะนำให้มีท่าทีเป็นกลางต่ออาการของผู้ป่วย โดย ไม่ร่วมมือและช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยมีอาการ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ต่อว่าผู้ป่วย เนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วยเครียด และยิ่งกระตุ้นให้อาการเป็นมากขึ้นได้ การรักษาวิธีอื่นๆ ได้แก่ การทำจิตบำบัดรายบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับอาการได้ กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด การกินยา ในรายที่อาการรุนแรง อาจมีการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การฝังแท่งกำเนิดไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก ( deep brain stimulation ) หรือ การผ่าตัด ( cingulotomy )

4.วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า โดยปกติโรคสมาธิสั้นจะมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ซนมาก สมาธิสั้น และหุนหันพลันแล่น แต่ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกสามอย่างนี้ อาจจะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจมีครบทุกอย่างเลยก็ได้ โดยอาการเหล่านี้จะต้องเกิดก่อนอายุ 12 ปี มีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ได้แก่

ขาดสมาธิ (attention deficit)

– อาจสังเกตได้จากเมื่อไปโรงเรียนคุณครูจะบอกว่าเหม่อ เรียกชื่อแล้วไม่หัน พูดสั่งให้ทำแล้วไม่ทำตาม ฟังคำสั่งได้ไม่ครบ เนื่องจากเด็กจะฟังประโยคยาวๆ ได้ไม่จบ เพราะใจไม่ได้อยู่กับคนพูด จะจับได้แค่ประโยคแรกๆ ทำให้เรียนได้ไม่ดี ไม่สามารถรับความรู้ใหม่ๆ ได้เต็มที่ ทำงานผิดพลาดบ่อย ทำการบ้านไม่เสร็จ ทำงานตามสั่งไม่ครบ ทำของหายบ่อยๆ เพราะจำไม่ได้ว่าวางไว้ที่ไหน

การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง (impulsivity)

– เด็กจะไม่รู้จักการรอคอย ต้องตอบโต้ทันที สังเกตได้จากเด็กจะชอบพูดสวน ชอบโพล่งขึ้นมากลางการสนทนา หรือชอบแซงคิว

– อาการซน (hyperactivity) เด็กบางคนอาจจะมีอาการซนและการขาดความสามารถในการควบคุมตัวเองเป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือบางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก พบได้บ่อยพอ ๆ กันในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย โรคสมาธิสั้นนี้พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในวัยเรียน เป็นโรคสมาธิสั้น เด็กจะวิ่งเล่นในแต่ละวันแบบไม่หยุด ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย มักชอบเล่นอะไรที่เสี่ยงๆ แผลงๆ เล่นแรง ไม่กลัวเจ็บ ยุกยิก อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องขยับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเสมอ นั่งนิ่งๆ ไม่ได้ ต้องผุดลุกผุดนั่ง ทำท่าจะลุกตลอดเวลา เมื่อเข้าโรงเรียนคุณครูมักจะบอกว่าเด็กไม่ยอมเรียน ลุกตลอดเวลา เดินวนในห้อง ในบางรายอาจลงไปนอนกลางห้อง เด็กมักเล่นกับเพื่อนที่โรงเรียนไม่ได้เพราะเล่นแรงมาก ทำให้ไม่มีใครเล่นด้วย

อ้างอิง

http://www.thaihealth.or.th/Content/27579-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%20'%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87'.html

https://www.doctor.or.th/article/detail/5967

http://manager.co.th/QOL/viewNews.aspx?NewsID=9580000031854

http://health.kapook.com/view3241.html

http://www.pccl.ac.th/external_newsblog.php?links=486

http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/05012014-1443

http://www.ku.ac.th/e-magazine/february48/know/samati.html

https://www.bumrungrad.com/healthspot/July-2014/children-attention-deficit-hyperactivity-disorder

หมายเลขบันทึก: 616332เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2017 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท