ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


ส่วนที่5 Open-book & Take Home Exam -
ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


1- "ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนเเรง และไม่มีคนดูเเล"

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผู้ป่วยติดเตียง กิจกรรมบำบัด
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&...



ผู้สูงวัยติดเตียง หมายถึงกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังนั้น จัดเป็นกลุ่มที่ 3 จากเกณฑ์การจำแนกความสามารถของผู้สูงอายุ โดยพิจารณาจากความสามารถทางร่างกาย และความคิดความเข้าใจ ตามหนังสือคู่มือจิตอาสากิจกรรมบำบัด ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

ซึ่งแนวทางการดูแลขั้นพื้นฐานที่ควรทำทุกวัน สำหรับผู้สูงวัยติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
ให้ฝึกออกกำลัง 3 ข้อดังนี้
- ออกกำลังใจ : ไม่ต้องเข้มงวดเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหาร ให้ระวังตอนตอบคำถามตอนทาน
พูดคุยให้ตื่นตัวเสมอ ให้ฝึกยิ้มกว้าง (ทำสามครั้ง)
- ออกกำลังคิด : ปรับเตียง 45 ํ-90 ํ
จับลุกนั่งบนเตียง + ฝึกหายใจเข้าจมูกเป่าปาก 3 ครั้ง +
ฝึกหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟ่บ 3 ครั้ง
- ออกกำลังกาย : ปรับเตียง 45 ํ-90 ํ

จับลุกนั่งบนเตียง + ให้หลับตา ขมวดคิ้ว ย่นจมูก ฝึกทำ 3 ครั้ง +
ทำปากจู๋ สบฟัน 3 ครั้ง + ก้มคอเล็กน้อยกลืนน้ำาย ไอ 1 ครั้ง ออกเสียง อา อู โอ ต่อกันดังๆ 1 ครั้ง
แล้วทำกิจกรรมบำบัดด้วยอาการ ฝึกกลืน

ปัญหากลืนลำบาก กิจกรรมบำบัดด้วยการฝึกกลืน เบื้องต้นควรมีเนื้ออาหารข้นหนืด มีรสไม่หวาน ไม่เค็ม
ไม่รสจัด และควรกลืนง่ายหลังบดกับเหงือก หากมีสายให้อาหารควรใช้อาหารฝึกกลืนก่อนให้สายอาหารทางสาย 1 ชม.
*ควรก้มคอกลืนอาหารที่ป้อน ห้ามแหงนคอไปข้างหลัง หยุดป้อนทันทีถ้ามีอาการสำลัก

หกล้มจนปวดหลังรุนแรง ต้องดูจากสาเหตุว่าหกล้มเนื่องจากอะไร หากเกิดจากสถานที่หรือสิ่งแวดล้อม (external environment) นักกิจกรรมบำบัดก็มีบทบทาที่จะเข้าไปแก้ไขสถานที่ adapt ให้เหมาะกับความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยให้มากที่สุด เพื่อที่จะไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีก

ไม่มีคนดูแล ก็ต้องถามรายละเอียดอีกที ว่ามีญาติ หรือลูกหลานที่ไหน แล้วอยู่อย่างไร เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป



2 - " วัยทำงาน มีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผู้ป่วย ซึมเศร้า
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&...




มีภาวะซึมเศร้า ไม่มีงานทำ ทำให้ผู้สูงวัยต้องเลี้ยงดู
ต้องขอกล่าวก่อนว่า ภาวะซึมเศร้า จะส่งผลต่อด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด คือการแก้ที่ต้นเหตุ คือ


ด้านร่างกาย
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ สมองจะหลั่งสารแห่งความสุขมาต่อสู้กับความเศร้า
- รับประทานกล้วยหอม ช่วยแก้ไขความผิดปกติของสารเคมีในสมองทางอ้อม

ด้านจิตใจ
- ระบายปัญหากับคนที่ไว้ใจ หรือเขียนบันทึกประจำวันเพื่อเป็นการสำรวจตนเอง
- หากิจกรรมที่ทำให้ตนเองมีความสุขทำ เพื่อเลี่ยงไม่ให้จมอยู่กับปัญหา

ด้านความคิด
- ลองทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
- เปลี่ยนมุมมองความคิด เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่หวังก็คิดซะว่าเป็นเรื่องเล็ก พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
- หาคุณค่าและจุดเด่นในตนเอง


นักกิจกรรมมีส่วนช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า รวมถึงผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวช กลับมาทำงานและใช้ชีวิตในสังคมได้
ผ่านสื่อทางกิจกรรมบำบัด เพื่อให้เกิดสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่วัยทำงาน ที่่ต้องสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

อ้างอิงจาก คุณสุชานันท์ พันธุ์เพ็ง
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/595917

3 - " วัยรุ่น ไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันประกันพรุ่ง และติดเกม "

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัยรุ่น ติดเกม
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&...



วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ต้องหาสาเหตุก่อนว่าทำไมถึงไม่อยากไปโดยทำตามขั้นตอนการประเมินของนักกิจกรรบำบัด เช่น การประเมินการรับรู้
ประเมินความสามารถของข้อต่อ ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อหาต้นเหตุของสาเหตุให้เจอ

ย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคหรือความบกพร่องทางจิตใจอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้สื่อกิจกรรมบำบัดรักษาได้ ดังนี้

สื่อทางกิจกรรมบำบัด (Media of Occupational Therapy)

Therapeutic use of self — การที่ใช้ตัวเราเป็นสื่อในการบำบัดรักษา ไม่ว่าจะเป็นการชี้ให้ผู้รับบริการรับรู้ถึงความสมเหตุสมผลของความคิดและการกระทำ รวมไปถึงการสอน การให้ความรู้ และการให้คำแนะนำต่างๆแก่ผู้รับบริการ

Therapeutic Relationship — สัมพันธภาพระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับบริการ ผู้บำบัดต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้รับบริการก่อน เพื่อจะได้ทำให้ผู้รับบริการไว้วางใจในตัวผู้บำบัด เชื่อในสิ่งที่ผู้บำบัดบอก และแนะนำไป

Activity analysis — การวิเคราะห์กิจกรรม ซึ่งก่อนที่จะให้การบำบัดรักษา ผู้บำบัดต้องทำการวิเคราะห์ก่อนว่า จะทำอะไร เพื่ออะไร ให้ผลอย่างไร และส่งผลอย่างไรต่อผู้รับบริการ

Teaching and Learning process — การสอน และการเรียนรู้ ผู้รับบริการแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และแน่นอนว่าการเรียนรู้ของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้บำบัดจึงต้องมีการประยุกต์ และปรับการสอนให้เหมาะสมกับระดับความสามารถผู้รับบริการแต่ละคน

Environment modification — การปรับสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีผลต่อผู้รับบริการ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมต่างๆของผู้รับบริการ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้รับบริการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากที่สุด

อ้างอิงจาก คุณ ระวีวรรณ ชาวสามหน่อ
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/589755

ผลัดวันประกันพรุ่ง สาเหตุ การผลัดวันประกันพรุ่งนั้นมีมากมาย เช่น งานที่ทำยากเกินไป ไม่น่าสนใจ ไม่อยากทำ น่าเบื่อ มีงานอื่นที่ต้องทำมากกว่า กลัวว่าจะทำงานนั้นไม่ดี เลยไม่เลือกทำ มีความเครียดที่จะต้องทำ บริหารเวลาไม่เป็น ติดเล่นมากกเกินไป และ อีกสาเหตุที่สำคัญคือ เป็นโรคสมาธิสั้น โดยวิธีการแก้ไขในเบื้องต้น ก็พยายามสร้างคุณค่า (value) ให้กับงานนั้นๆ บอกถึงข้อดี ข้อเสีย ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

ติดเกม มองลึกไปถึงปัญหา ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้วัยรุ่นมองเห็นถึงปัญหา ครอบครัวควรมีความสัมพันธ์ และหากิจกรรมที่ใช้อยู่ร่วมกันให้มาก เพื่อให้เค้าชอบมากกว่าการไปเล่นเกม

4 - "วัยเด็ก สมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน"

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็ก ก้าวร้าว
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&...



สมาธิสั้น มีหลายรูปแบบ ซึงใช้ occupation ในกากรรักษาดังนี้

- Cognitive Orientation to daily Occupational Performance (CO-OP) ช่วยเพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skill),พัฒนาด้านการรู้คิด (Cognitive),พัฒนาด้านพัฒนาการ (Development) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมดำเนินชีวิต ใช้ได้ผลในเด็ก DCD,PDD,Aspergers,ADHD วัดผลโดย COPM,GAS,BOTMP,RPM,demographic questionnaire

- Cognitive-Functional intervention (Cog-Fun) เพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต,เพิ่มการทำงานของสมองระดับสูง (Executive Function),เป้าหมายเพื่อทำลายข้อจำกัดด้านการรู้คิด (Cognitive)อารมณ์ (Emotional) และสิ่งแวดล้อม(Environment) ให้สามารถมีส่วนร่วมในบริบทแวดล้อม วัดผลโดย BRIEF,COPM

- Physical Exercise เพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว (Motor skill), เพิ่มการทำงานของสมองระดับสูง (Executive Function),เพิ่มระดับสารสื่อประสาทและ Neurotrophins,ช่วยปรับพฤติกรรม ด้านสังคม ความคิด และการคงความสนใจ ใช้ได้ในเด็ก ADHD,TD วัดผลโดย TGMD-2, Stroop Color and Word Test,WCST

อ้างอิงจาก อาจารย์ ณัฐสุดา เชื้อมโนชาญ
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/589668

ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า อาจเกิดจากความบกพร่องจากช่วงพัฒนาการด้านอารมณ์ และที่สำคัญคือครอบครัว คนใกล้ชิด ที่มีพฤติกรรมอย่างไรกับเด็ก ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทที่จะเข้าใช้สื่อรักษากับเด็ก และแนะนำสิ่งที่ควรทำควรพูดกับเด็กให้กับญาติ และ ครอบครัวของเด็ก
โดย ฝึกทักษะการสื่อสารสังคมให้กับเด็ก ดังนี้

  • ให้เด็กมีส่วนร่วมสนทนาทุกครั้ง
  • ยอมรับคำพูดของเขาที่สามารถทำได้ดีที่สุด
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่เงียบ ง่ายต่อการสื่อสาร
  • อยู่ใกล้ชิดกับเด็กให้มากที่สุดเพื่อเกิดการเรียนรู้มารยาท และความประพฤติที่ดีของเด็ก
  • ชมเชยเวลาเด็กทำสิ่งที่ดี

อ้างอิงจาก คู่มือจิตอาสากิจกรรมบำบัด ผศ.ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง

ไม่ชอบออกจากบ้าน อาจเกิดจากปัญหาเด็กไม่มีความมั่นใจ หรือรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อพบคนแปลกหน้า ซึ่งเบื้องต้นก็แนะนำผู้ปกครองให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น โดยให้ผู้ปกครองทำเป็นตัวอย่างก่อนเป็นต้น หรือ การส่งเสริมการสื่อสารและสัมพันธภาพกับผู้อื่นโดยผู้ฝึกแนะนำ สื่อสารด้วยเหตุผลจนปฏิบัติให้เกิดความสม่ำเสมอ พยายามใช้คำพูดที่เป็นทางบวก ต้องไม่ใช้ "อย่า" หรือ "ห้าม" ทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่ปล่อยวางและเบี่ยงเบนสู่การทำกิจกรรมด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสม (มีเวลา เงื่อนไข ขั้นตอน การสื่อสาร บทบาท และสัมพันธภาพ ที่ชัดเจน)

อ้างอิงจาก ผศ.ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/218539


รวมอ้างอิงทั้งหมด

คู่มือจิตอาสากิจกรรมบำบัด ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง
https://www.gotoknow.org/posts/595917
https://www.gotoknow.org/posts/589755
https://www.gotoknow.org/posts/589668
https://www.gotoknow.org/posts/589668
https://www.gotoknow.org/posts/218539

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 616331เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท