กิจกรรมบำบัดในวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้า


สวัสดีค่ะ หลังจากห่างหายจากการเขียนบันทึกไปนาน วันนี้เลยอยากมานำเสนอข้อมูลจากการConference ขอขอบคุณเพื่อนและผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ที่ได้ร่วมกันพูดคุยถึงปัญหาในวัยทำงานที่มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจส่งผลต่อบทบาทหน้าที่การงาน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันด้วย

กรมสุขภาพจิตได้ให้ข้อมูลว่า โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย องค์การอนามัยโลกคาดว่า ในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะเป็นภาระโรคอันดับ 2 คนไทย 3.15 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่มีเพียงร้อยละ 11 ของผู้ป่วยที่เข้ารับรักษา ดังนั้น กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยยังเดินปะปนกับคนในสังคมโดยไม่รู้ตัวเองว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไป 20 เท่า(อ้างอิง http://health.kapook.com/view17707.html) ดังนั้นการที่ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ารู้ตัวและรีบดูแลตนเอง จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันในสังคมได้อย่างมีความสุข

อาการของโรคซึมเศร้า มีดังนี้

1. อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว

2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง

3. สมาธิเสีย คือ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ

4. รู้สึกอ่อนเพลีย

5. เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด

6. รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานน้อยลง

7. นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง

8. ตำหนิตัวเอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า

9. ฆ่าตัวตาย หากมีการพยายามฆ่าตัวตาย ก็ตั้งข้อสันนิษฐานได้เช่นกันว่า คนนั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า
*อาการของโรคซึมเศร้า ต้องมี 5 ใน 9 อย่างนี้นาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน

ซึ่งภาวะซึมเศร้า ทางกิจกรรมบำบัดสามารถอธิบายตามแผนภาพ ได้ดังนี้

ต่อไปจะพูดถึงรายละเอียดในแผนภาพนะคะ

Laws กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า

เช่น พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ : มาตรา ๑๕ ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้ (๑) ได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ โดยคำนึง ถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (๒) ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัด รักษาไว้เป็นความลับ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เปิดเผยได้

NGOs หน่วยงานที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวช เช่น สมาคมสายใยครอบครัว(อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://thaifamilylink.wordpress.com/)

Good practice การปฏิบัติตนกับภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้น

ต้องขอกล่าวก่อนว่า ภาวะซึมเศร้า จะส่งผลต่อด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด คือการแก้ที่ต้นเหตุ คือ

ด้านร่างกาย

- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ สมองจะหลั่งสารแห่งความสุขมาต่อสู้กับความเศร้า

- รับประทานกล้วยหอม ช่วยแก้ไขความผิดปกติของสารเคมีในสมองทางอ้อม

ด้านจิตใจ

- ระบายปัญหากับคนที่ไว้ใจ หรือเขียนบันทึกประจำวันเพื่อเป็นการสำรวจตนเอง

- หากิจกรรมที่ทำให้ตนเองมีความสุขทำ เพื่อเลี่ยงไม่ให้จมอยู่กับปัญหา

ด้านความคิด

- ลองทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

- เปลี่ยนมุมมองความคิด เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่หวังก็คิดซะว่าเป็นเรื่องเล็ก พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่

- หาคุณค่าและจุดเด่นในตนเอง

Well-being and Quality of life

เมื่อสามารถจัดการกับภาวะซึมเศร้าได้ตั้งแรกเริ่ม และมีการจัดการกับตนเองที่ดี ก็จะไม่ส่งผลต่อบทบาทการทำงาน(Role) ทำให้เกิดสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี

Best practice

ทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่จะจัดการกับภาวะซึมเศร้า คือ Self-management เริ่มที่ตนเอง วางแผนชีวิต ทำตารางเวลา ตระหนักรู้ถึงวิธีการจัดการกับปัญหา่างๆด้วยตนเอง

Program Evaluation

นักกิจกรรมมีส่วนช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า รวมถึงผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวช กลับมาทำงานและใช้ชีวิตในสังคมได้ ผ่านสื่อทางกิจกรรมบำบัด เพื่อให้เกิดสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่วัยทำงาน ที่่ต้องสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

"ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาส แต่เมื่อเรามีโอกาสในการดูแลชีวิตตนเองแล้ว เราควรรักษาไว้ให้ดีที่สุด" จิตใจเราก็เช่นกัน เราสามารถกำหนดให้มันเป็นในสิ่งที่เราต้องการได้

สมาชิกกลุ่ม

1. นางสาวสุชานันท์

2. นางสาวภาณิชา

3. นางสาวระวีวรรณ






หมายเลขบันทึก: 595917เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2015 00:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2015 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท