ขอบเขตของการสังคมสงเคราะห์


ขอบเขตของการสังคมสงเคราะห์

ขอบเขตของการสังคมสงเคราะห์ อาจสรุปได้ดังนี้ 1. เป็นการทำงานเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของบุคคลทุกคนในสังคม นักสังคมสงเคราะห์ต้องช่วยให้บุคคลเข้าใจ ปัญหาและกล้าเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างไม่ท้อแท้ใจโดยการให้กำลังใจและช่วยให้เป็นผู้ที่มีความ เข้มแข็งในตนเอง (Ego strength) เช่นช่วยให้เขาสามารถนำทรัพยากรต่างๆ ในชุมชนมาใช้ ตลอดจนให้เขารู้จักต่อสู้ เพื่อ ขจัดปัดเป่าปัญหาต่างๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต 2. เป็นการทำงานกับระบบทรัพยากรต่าง ๆ ในสังคมถ้าหากนักสังคมสงเคราะห์สามารถช่วยทำให้ระบบ ทรัพยากรต่างๆ สนองตอบความพอใจและความต้องการแก่สมาชิกสังคมแล้ว ระบบนั้นก็ย่อมจะประสบผลสำเร็จตาม เป้าหมายก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม โดยส่วนรวมได้ซึ่งจะเป็นเครื่องสกัดกั้นปัญหาต่าง ๆ อันอาจจะเกิดขึ้น ถ้าหากนักสังคมสงเคราะห์สามารถช่วยแก้ปัญหาหัวหน้าครอบครัวขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัวได้แล้ว สมาชิกครอบครัวก็จะ ได้รับความรักความอบอุ่นและความมั่นคงในชีวิตได้ย่อมจะทำให้ครอบครัวมีความผาสุกและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ หรือในระบบการท างานในโรงงานอุตสาหกรรมถ้าหากนักสังคมสงเคราะห์สามารถช่วยให้ผู้ทำงานมีสวัสดิการที่ดีมีขวัญและกำลังใจดีย่อมจะทำให้ผลผลิตสูงการงานมีความเจริญก้าวหน้า 3. เป็นการท างานเกี่ยวกับนโยบายของสังคม นักสังคมสงเคราะห์ต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของ สังคมนั้นๆ เช่น นโยบายการประกันสังคม นโยบายการสร้างงานในชนบท ฯลฯ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของการสังคมสงเคราะห์ สรุป วัตถุประสงค์ของการสังคมสงเคราะห์มี 4 ประการดังนี้

1. การแก้ปัญหา (Problem solving) และการบรรเทาปัญหา(Relief) นักสังคมสงเคราะห์จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมและมีความรู้ความสามารถที่จะนำทรัพยากรต่างๆไม่ว่าทรัพยากรทางธรรมชาติ(National resources) และ ทรัพยากรทางสังคม (Social resources) เช่น วัสดุ อุปกรณ์ ความรู้ ความคิดและปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวบุคคล กลุ่มชน และชุมชน เข้ามาช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาให้บรรเทาเบาบางลง หรือให้หมดสิ้นไป

2. การป้องกัน (Prevention) นักสังคมสงเคราะห์จะต้องปฏิบัติจัดทำเพื่อป้องกันปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่จะ บังเกิดขึ้นไม่ว่าด้านเศรษฐกิจสังคม อารมณ์ จิตใจ และสุขภาพร่างกาย โดยการกระทำร่วมกับผู้ขอรับการสงเคราะห์ (Work with clients)

3. การบำบัดรักษา หรือการบริการ(Treatment or services) รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือสิ่งบกพร่อง ต่างๆ (Rehabilitation or restoration) ของผู้มีปัญหาให้ดีขึ้น

4. งานส่งเสริมหรือพัฒนา (Promotion or development)จัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการสังคมสงเคราะห์ เพราะการพัฒนาคนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล กล่าวคือเมื่อบุคคลได้รับการพัฒนาแล้วก็ย่อมจะไป พัฒนาคนอื่นๆต่อไปอีกโดยไม่รู้จักจบสิ้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เกิดขึ้นเสมอซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลง โครงสร้าง หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนักสังคมสงเคราะห์ควรพิจารณาด้านความเหมาะสมต่อเหตุการณ์ด้วย

หมายเลขบันทึก: 616080เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2016 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2016 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท