742. "ตั้งเป้าหมายชีวิต พิชิตโลก (Appreciative Inquiry เพื่อพัฒนาคนงานเขมร)"


สามก๊ก

Appreciative Inquiry ตอนนี้อยากเขียนมากๆ ถึงแม้จะไม่ค่อยมีเวลานัก ผมเองมีโอกาสได้ทำโจทย์ AI เกือบทุกวัน ... AI คือกระบวนการการค้นหาสิ่งดีๆ ร่วมกันของคนในองค์กร เพื่อนำสิ่งดีๆ มาแก้ปัญหา มาขยายผลสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก โดยเราเชื่อว่าในทุกระบบทุกองค์กรมีเรื่องราวดีๆ ซ่อนอยู่ในระบบ...เราจะทำ AI อย่างไร ผมเขียนมามาก...วันนี้ผมจะเขียน Update หน่อย ...ว่าทำอย่างไร ... พร้อมตัวอย่างประกอบของจริง

ประการแรก จะพูดถึงเรื่อง AI ต้องพูดถึงนิยามนิดนั่นคือข้างบน และ

ต้องหาโจทย์ทรงพลังก่อน (Affirmative Choices) ตัวนี้สำคัญ มันบอกสัญญาณว่าเราจะแก้ปัญหานั้นอย่างมีความหวัง ...สร้างโจทย์บวกๆ จะสร้างบรรยากาศนั้นได้ ...

เอามาจากคำบ่นก็ได้ ...เช่นที่หนึ่งบ่นว่า..คนงานเขมรขาดงานไม่มาทำงาน...

เราจัดเลย... Affirmative Choices….. สร้างโจทย์บวกๆ...เช่นอาจเป็น.. “คนงานเขมรที่นี่อยากมาทำงาน ไม่อยากขาดงานเลย” ได้แล้ว

เอามาเข้าวงจร 4 D เลย

เริ่มด้วยการค้นหาประสบการณ์เชิงบวก (Discovery) .. ผมถามว่าคนงานเขมรคนไหน ..มาทำงานทุกวันไม่ขาดเลย .. มีคนยกมือ..บอกชื่อ ... คนนี้เองที่มาทำงาน ไม่ขาดเลย ..

ที่สุดเราเชิญมา ให้ผมสัมภาษณ์... “เห็นเขาบอกว่าคุณมาทำงานทุกวันเลย ทำไมครับ อะไรทำให้คุณมาทุกวัน”

ชาวเขมรท่านนั้นบอกว่า (พูดไทยได้) ... “ผมมีความฝัน ผมฝันว่าอยากมีไร่นาเป็นของตนเอง..ตอนนี้มาทำงานเมืองไทยเพื่อเก็บเงิน แล้วอีกไม่นานก็จะกลับไปซื้อที่ทำนานที่กัมพูชา”

ผมเลยแชร์ต่อ ...ลูกศิษย์ผมเพิ่งไปทำมาอีกที่... ตอนประโยคเดียวกันเลย “มาทำงาน เพื่อเก็บเงินไปซื้อที่ทำนานที่บ้านเกิดเมืองนอน”

สรุปได้ว่าคนงานที่ตั้งใจทำงานไม่ขาดงาน จะมีการตั้งเป้าหมายชีวิต...ที่มีความหมาย

ไม่พอครับอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เคยเปิดกิจการสามล้อถีบเมื่อ 20-30 ปีก่อน ..เจอสามล้อสองประเภท พวกแรกคือขยันขับไม่ขาด ได้ตังค์มาก เก็บเงินอยู่ อีกกลุ่มบางที่ขาดงานเฉย เพราะเมาเหล้า มีปัญหาหนี้สิน..อาจารย์บอกเลยว่า กลุ่มแรกมักมีเป้าหมายชีวิตเช่นจะส่งลูกเรียนจบปริญญาให้ได้

นี่ก็นึกถึงพ่อแม่ผมที่แม้เราเราจะไม่ร่ำรวยแต่พ่อแม่ผมตั้งเป้าหมายชีวิตมาตั้งแต่เด็กว่าอยากให้ผมไปเรียนเมืองนอก...บ้านเราไม่เคยออกนอกทาง พ่อแม่ผมตั้งใจทำงาน ใช้แต่ของมือสอง ที่สุดผมเรียนจบมหาวิทยาลัยต่างประเทศได้

ถ้าคัณมองจุดร่วมของคนเขมร สามล้อ และบ้านผมเอง ชัดมากว่า คนที่ทำงานไม่ขาด ขยันทำงานคือคนที่มีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน


เพราะฉะนั้นมาทำต่อครับ

ขั้นต่อมาคือ Dream มาวาดฝันร่วมกัน อาจใช้การประชุมวาดวิสัยทัศน์ง่ายๆ โดยตั้งคำถามว่า...”ในสามปีข้างหน้าสมมติเราหลับไป แล้วตืนขึ่้นมาตอนนั้น ถ้ามีการนำทุกอย่างที่ค้นพบไปขยายผล วันนั้นจะเกิดอะไรขึ้นกับคนงานชาวเขมร”

“อาจตกลงกันว่าตื่นขึ้นมาเจอคนเขมรทุกคนที่มาทำงานเมืองไทยขยันขันแข็ง สู้งาน มีความหวังในชีวิต และทำไปสัก 10 ปี ก็มีเงินกลับไปซื้อที่นาที่เมืองของเขา และทุกคนจะเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างฝันให้คนรุ่นต่อไป”

Design .. ออกแบบความใัน ก็เอาเรื่องที่ผพบมาประชุมกัน ...อาจเชิญวิทยากรภายนอกมาช่วย ในยุคนี้ผมว่าเรื่องการตั้งเป้าหมายชีวิต ผมว่าตัวจริงด้านนี้น่าจะเป็นดร.เพียว ...คนนี้สู้ชีวิตจากลูกชาวไร่อ้อย ไม่ค่อยมีเงิน แต่ตั้งเป้าหมายพัฒนาตนเองเป็นจนได้ทุน จนไปจบปริญญาเอกที่ญี่ปุ่น ตอนนี้ออกหนังสือมา ขายดีมากที่ SE-ED ผมว่าน้องคนนี้เป็นคนจริง สอนในสิ่งที่ตนเองทำได้ Cheers ครับ

หรืออาจแนะนำให้แต่ละคนตั้งเป้าหมายชีวิต ที่เป็นรูปธรรม ... โดยเล่าเรื่องคนเขมร คนไทยที่เป็นตัวอย่างดีๆ ให้เขาฟัง

Destiny ลองทำ ขยายผลครับ มีงบก็เชิญคนภายนอกมาช่วย ไม่มีงบก็ใช้ตัวอย่างจริงนี่แหละในโรงงาน แล้วลองติดตามผล ดู

ถ้ามาดูสามก๊ก คุณจะเห็นเลยว่าเล่าปี่มีเป้าหมายชีวิต แล้วชีวิตเปลี่ยนอย่างไร จากใครไม่รู้ฐานะตกยาก กลายมาเป็นกษัตริย์ที่มี Hero ติดตาม เป็นคนมีอำนาจ และกลายเป็นตำนานถึงปัจจุบัน โจโฉ ซุนเซ็กก็เช่นกัน ...

เพราะจะคนเขมร สามล้อ สามก๊ก ... ถ้ามีเป้าหมายชีวิตชัดเจนแล้ว คุณจะกลายเป็นคนขยัน และความสำเร็จจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

จะว่าไปใครมีเป้าหมายชีวิต พิชิตโลก..แน่นอน

เอาง่ายๆ จะพัฒนาองค์กรไม่ว่าจะเป็นคนไทย คนเขมร ควรเริ่มต้นจากการสร้างเป้าหมายชีวิตก่อนนะครับ

จริงไหมครับ

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูกันนะครับ

ด้วยรักและปราถนาดี

ดร.ภิญโญ

www.aithailand.org


ท่านใดสนใจอยากคุย ติดตาม หรือเชิญโค้ชเพียวไปสอน โค้ชใจดีมาก รู้จริง ติดตามได้ที่


www.codeofsuccess.co.th





หมายเลขบันทึก: 616067เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2016 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2016 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท