​หลักการพุทธศิลป์ 360 องศา ในการพิจารณาพระแท้


**************************
สำหรับท่านที่จะศึกษา "พุทธศิลป์" จะต้องมองในทุกมุม ของพระแท้ ในองค์ที่ติดชัดเป็นหลัก เท่านั้น

โดยการส่องด้วยกำลังขยายต่างๆ แสงต่างๆ และมองด้วย มุมสูง ต่ำ ซ้าย ขวา บนลงล่าง ล่างขึ้นบน ฯลฯ
ที่จะทำให้เราเห็นมุมมองและรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันได้โดยง่าย


ที่มักไม่พบในพระที่ทำเลียนแบบ ที่มักจะขาดบางมิติของการมอง ในบางมุมไป

เพราะ พระที่ทำเลียนแบบ อย่างมากที่สุด ก็มักนำมาจากองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เป็นเพียงองค์หนึ่งในจำนวนที่สร้างมาทั้งหมด หรือแกะขึ้นมาใหม่ (ที่เพี้ยนอย่างแน่นอน) และทำซ้ำๆขึ้นมาใหม่ ที่น่าจะเพี้ยนตั้งแต่องค์แรกที่ทำ แต่ก็จะมีเอกลักษณ์ของกลุ่มพระเก๊ ที่พอจำได้องค์หนึ่ง ก็จะจำได้ทั้งหมด

หลักการแยกแยะ ก็โดยการตรวจสอบจากองค์ที่มั่นใจว่าเนื้อเก๊แน่นอน แล้วดูว่าพิมพ์ในมุมต่างๆ ว่าช่างเขาทำได้แค่ไหนแล้ว จำไว้ แล้วนำไปเทียบกับพระแท้

ทบทวนอย่างนี้เรื่อยๆ ก็จะสามารถใช้พุทธศิลป์ ที่มีเป็นร้อยๆจุด หลากมิติ ในการพิจารณาเก๊แท้ได้สะดวก และโดยง่ายครับ
------------------------------------------------
เรื่องนี้จะต้องเข้าใจก่อนการดูพระแท้จากรูปที่โพสต์ในเนตครับ

เพราะการดูรุปจะเน้นพุทธศิลป์เป็นหลัก ที่ไม่สามารถสั่งให้ใครถ่ายในมุมที่เราต้องการได้ จึงควรฝึกตัวเราให้ใช้ประโยชน์จากรูปที่มีอยู่ จะง่ายกว่า

หมายเลขบันทึก: 614966เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2016 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2016 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จริงครับ พระแท้จะมีมิติขององค์พระนั่นๆ พอเห็นมิติขององพระแล้ว ทำให้นึกถึงช่างที่แกะแม่พิมพ์ได้ละเอียดมากครับ. ขอบคุณอาจารย์ผมติดตามอาจารย์มาพอสมควรครับ.


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท