​ทำงานพัฒนาการศึกษาแนวใหม่ ... แนวยืนยันความสำเร็จ



การศึกษาไทยหากเป็นคน ก็อยู่ในสภาพตายก็ไม่ตาย ฟื้นก็ไม่ฟื้น เจ็บป่วยเรื้อรัง ร้ายกว่านั้นคือคนที่ ทำมาหากินอยู่ในระบบไม่คิดว่าป่วย ยังดำรงพฤติกรรมแบบเดิมๆ


นั่นเป็นการเขียนบันทึกแบบมองโลกในแง่ร้าย


แต่มองด้านดี มีมาตรการต่างๆ เข้าไปหาทางช่วยกันแก้ไข มากมาย เช่นโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โครงการโรงเรียนคุณธรรม โครงการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โครงการ ABE โครงการประชารัฐด้านการศึกษา เป็นต้น


เย็นวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙ ผอ. อ้อย แห่ง สสส., ผจก. เปา แห่ง SCBF, เลขาธิการแอ็ค แห่ง มสส., คุณหมอสมศักดิ์ ผม และทีมงาน นัดกันไปคุยที่ มูลนิธิสยามกัมมาจล โดยตั้งโจทย์ว่าหน่วยงานเหล่านี้จะทำ หน้าที่รับใช้สังคมไทย ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยอย่างไรดี


เราเห็นพ้องกันว่า มี “ผู้หวังดี” และมีความสามารถ เข้าไปช่วยกันทำกิจกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษาในโรงเรียน ในจังหวัด หรือในพื้นที่มากอยู่แล้ว และบางจังหวัด บางพื้นที่ มีการดำเนินการกันเอง ในพื้นที่ และบางจังหวัดเริ่มเห็นผล



ทำงานเสริมช่องว่าง ... ยืนยันผลสำเร็จ


เราคุยกันว่าเราจะไม่ทำงานแนว “เอาโครงการไปลงโรงเรียน หรือลงพื้นที่” แต่จะเข้าไป empower จังหวัดที่มีการดำเนินการระดับจังหวัด โดยแกนนำในจังหวัดลุกขึ้นมาสร้างความเข้มแข็งจากภายในพื้นที่ เราจะเลือก ๓ จังหวัดที่มีผล O-NET ระดับจังหวัดสูงขึ้นอย่างชัดเจน แล้วเข้าไปหาข้อมูลว่า ผลด้านการพัฒนา “คุณลักษณะ” (characters) ดีขึ้นหรือไม่ พร้อมกับหาข้อมูลเพื่ออธิบายว่า ที่ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ (ทั้งด้านวิชาการและด้านอุปนิสัย) ของเด็กในจังหวัดนั้นดีขึ้น เป็นเพราะปัจจัยอะไรบ้างเป็นตัวหลัก


เป้าหมายคือการทำงานแบบยืนยันผลสำเร็จ ของการทำงานพัฒนาการศึกษาในจังหวัด ด้วยกลไก ระดับจังหวัด ยืนยันว่าผลสำเร็จเกิดขึ้นจริง และสร้างการเรียนรู้ว่าผลสำเร็จนั้นมาจากปัจจัยสำคัญอะไรบ้าง สำหรับนำมาทำความเข้าใจร่วมกันในจังหวัด และในสังคมไทย เพื่อหนุนเสริมความริเริ่มสร้างสรรค์ และการดำเนินการต่อเนื่อง ระดับจังหวัด ที่มีอยู่แล้ว

มองอีกมุมหนึ่ง เป็นการทำงานสร้างข้อมูลหลักฐาน สำหรับนำมาใช้ในการพัฒนานโยบายด้านการศึกษา ให้เป็น evidence-based policy




วิจารณ์ พานิช

๑๖ ส.ค. ๒๕๕๙


หมายเลขบันทึก: 614961เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2016 06:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2016 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท