จับเครื่องสำอางปลอมขายผ่านเน็ตกว่า 30 ล้านบาท


จับเครื่องสำอางปลอมขายผ่านเน็ตกว่า 30 ล้านบาท


(ที่มา http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=243...)


ดีเอสไอร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทลายเครือข่ายลักลอบขายเครื่องสำอาง น้ำหอม เลียนแบบยี่ห้อดังผ่านทางอินเทอร์เน็ต มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท

เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้จับกุม นายส้มโอ กุลสงคราม ซึ่งเป็นผู้ค้าและเจ้าของเว็บไซต์ www.bevershops.com ได้เปิดจำหน่ายเครื่องสำอาง น้ำหอม เครื่องหนัง และนาฬิกาปลอมยี่ห้อดังต่าง ๆ จำนวนกว่า 20,000 ชิ้น พร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง และสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์หลายรายการ ทั้งกระเป๋า เสื้อผ้า เข็มขัด แว่นตา และนาฬิกา มูลค่าความเสียหายมากกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งผู้ต้องหาเป็นผู้ค้ารายใหญ่ทางอินเทอร์เน็ตจำหน่ายสินค้าปลอมผ่านทางเว็บไซต์มาเป็นเวลานาน โดยนำสินค้าเข้ามาทางภาคตะวันออกโดยวิธีการจำหน่ายนั้นจะให้ลูกค้าสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ตและโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ก่อนที่จะส่งไปทางไปรษณีย์ สำหรับยอดขายในแต่ละเดือนของเว็บไซต์ดังงกล่าวมีมูลค่าการซื้อขายเดือนละไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท หรือไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อวัน


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)


วิดีโอประกอบความรู้ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์




บทลงโทษ

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผลกระทบ

– ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผิด เพราะเป็นสินค้าปลอม ข้อมูลอาจมีสรรพคุณเกินจริง ทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้ง่าย

– สร้างความเสียหายให้กับประชาชน เนื่องจากประชาชนซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ปลอมมาใช้อาจทำให้เกิดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบจากการใส่สารเคมีบางตัวมากเกินไป

– ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกกับข่าวสารที่ได้รับจากสื่อมวลชน และอาจจะไม่กล้าซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ มาใช้ เนื่องจากกลัวว่าอาจจะเป็นของปลอม ทั้งที่จริงสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นของจริง

– สร้างความเสื่อมเสียให้กับประเทศชาติ เนื่องจากคนภายนอกประเทศจะมองว่าประเทศนี้ไม่มีความซื่อสัตย์และไม่น่าไว้วางใจ ทำให้ไม่อยากมาเที่ยวเมืองไทยเพราะกลัวโดนหลอกลวงส่งผลกระทบไปยังภาคธุรกิจการท่องเที่ยวไทย

แนวทางแก้ไข

เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทุกหน่วยงานควรจับกุมอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด สร้างองค์กรป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อเร่งรัดและปราบปรามการกระทำความผิด จับกุมและสืบหาต้นตอการผลิตสินค้าหรือการนำเข้าแบบผิดกฎหมาย เพื่อจะได้ไม่มีผู้ใดสามารถขายสินค้าปลอมหรือผลิตสินค้าปลอมผ่านเน็ตได้ รวมทั้งตรวจสอบการเปิดการค้าทางเว็บไซต์อย่างเคร่งครัด

อ้างอิงข้อมูล : http://www.learners.in.th/blogs/posts/481369



สรุปเกี่ยวกับบทความข้างต้น

ควรจะศึกษาข้อมูลของสินค้าและที่มาของสินค้าให้แน่ใจว่าถูกกฎหมาย มีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เพราะหากเราอุปโภค หรือ บริโภคเข้าไปอาจจะเกิดผลเสียต่อตัวเราได้ เช่นพวกครีมปลอม อาจจะทำให้ใบหน้าหรือร่างกายเราเกิดสิ่งที่ตามมาได้ เช่นใบหน้าเกิดอาการแพ้รุนแรงหรือมีอาการแทรกซ้อน ซึ่งไม่คุ้มเลยกลับผลที่จะตามมา เพราะฉะนั้น เราต้องตรวจสอบให้แน่ชัด อย่าเชื่อคำโฆษณาทั้งหมด เพราะนั่นอาจจะเป็นกลลวง การตลาด ที่ทำให้ลูกค้าชวนเชื่อ เพราะฉะนั้นควรเลือกอย่างมีสติ





หมายเลขบันทึก: 612754เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท