ทำอย่างไรให้ใช้ใจช่วยชุมชน?


ขอบพระคุณทีมนักกิจกรรมบำบัดรพ.ดอนตูมที่เป็นกำลังและพลังชีวิตสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้สุขภาวะชุมชน...ขอบพระคุณอ.อ้อม อ.แอน อ.เดียร์ กรณีศึกษาทุกบ้าน ท่านผอ. ผู้นำชุมชน และนศ.ทุกท่าน รวมทั้งตัวผมเองที่ตั้งใจให้สังคมรับรู้บทบาทนักกิจกรรมบำบัดไทย

เมื่อวานนับเป็นครั้งที่สองที่อาจารย์นักกิจกรรมบำบัดทั้งม.มหิดลและรพ.ดอนตูมได้ระดมสมองกับจิตใจในการตอบโจทย์ว่า “ทำอย่างไรจะจัดกระบวนการเรียนรู้ให้น้องๆนักศึกษาปีที่สี่มีศักยภาพในการให้บริการกิจกรรมบำบัดในชุมชนได้อย่างเป็นมาตราฐานสากล” ถือว่ามีความก้าวหน้าทั้งผู้สอนที่มีบทบาทกระตุ้นการเรียนรู้ให้นศ.เห็นบทบาทนักกิจกรรมบำบัดที่สามารถฝึกฝนทักษะเมตตาเพื่อสุขภาวะทั้งผู้รับบริการและชุมชน นับว่าเหนื่อยมากๆ เพราะอาจารย์ทุกท่านต้องเรียนรู้รอบด้านเพื่อใช้ใจในการรับรู้สึกนึกคิดระหว่างอาจารย์ นศ. และผู้รับบริการ ผู้มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน


ผมประทับใจในคำพูดของ Fidler, G.S. (2001). Community Practice: It’s more than geography. Occupational Therapy in Health Care;13(3/4):7-9. ที่ว่า “นักกิจกรรมบำบัดควรตระหนักรู้ดูบทบาทของกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่กำลังปรับเปลี่ยนชุมชน (กลุ่มคนที่มีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป) ให้มีชีวิตประจำวันที่มีเป้าหมาย มีความหมาย และมีคุณค่า ได้แก่ การประเมินและจัดการความต้องการเพื่อสุขภาพที่ผู้รับบริการยังไม่ได้รับจากชุมชน การประเมินและจัดการการได้รับโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาวะและลดปัญหาสุขภาพ และการประเมินและจัดการระบบจิตอาสาผู้นำชุมชนช่วยเหลือผู้รับบริการที่มีภาวะพึ่งพิงทุกช่วงวัย”

สุดท้ายพวกเราก็ตกผลึกที่ว่า:-

  • กระบวนการเรียนรู้ขณะอาจารย์กำลังประเมินและจดจ่ออยู่กับการให้เหตุผลทางคลินิกเพื่อสร้างสัมพันธภาพ สื่อสารเชิงบวก และสร้างสรรค์คำแนะนำที่ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการในเวลาที่จำกัด พร้อมๆกับเพื่อครุ่นคิดสอนให้นศ.ทำงานเป็นทีมแล้วแบ่งคู่มาดูแลกรณีศึกษาด้วยความกล้าแสดงออกทางความคิดที่ดีงามและครอบคลุมบทบาทนักกิจกรรมบำบัดด้วยตนเอง - ดึงความรู้ที่ร่ำเรียนมาดัดแปร (แปรเปลี่ยนรูป) และดัดแปลง (ปรับเปลี่ยนเป็นอีกรูป) ให้ตรงกับบริบทสิ่งแวดล้อมของการจดจ่อทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างเต็มศักยภาพของกรณีศึกษา ผู้ดูแล และสภาพบ้าน
  • เมื่อมอบหมายงานในเชิงการค้นคว้าหาข้อมูล นักศึกษายังคงยึดติดรูปแบบการใช้สื่อทางกิจกรรมบำบัดเพียงอันใดอันหนึ่ง ขาดการเชื่อมโยงที่หลายหลายมิติ เช่น การสร้างสัมพันธภาพค้นหาความต้องการของผู้รับบริการ มากกว่าที่นศ.จะแสดงความต้องการของตนเพียงฝ่ายเดียว การสร้างทักษะการเข้าหาผู้บริการด้วยความจริงใจ เห็นอกเห็นใจ มีความเมตตาเอาใจเขามาใส่ใจเรา การสังเกตภาษากาย แววตา น้ำเสียง และการแสดงอารมณ์บวกลบให้พร้อมต่อการปรับประยุกต์สิ่งแวดล้อมภายในสู่ภายนอกผู้รับบริการ (เช่น ความสนใจ/พึงพอใจกับความสำคัญ/คุณค่าในสิ่งที่ต้องการจะทำให้ได้อย่างมีความสุขความสามารถในวันนี้และวันพรุ่งนี้ เป็นต้น)
  • ทักษะที่นศ.และอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดควรฝึกฝนตลอดชีวิตการทำงานเพื่อสุขภาวะชุมชน ได้แก่ การมองใจผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง การให้ความรู้แบบอ่อนน้อมถ่อมตน การให้เหตุผลทางคลินิก การส่งเสริมและการสร้างเสริมสุขภาพ การทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพและเครื่อข่าย การบริหารจัดการเวลา-พลังงาน-โครงงานต่างๆ การประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม และการตระหนักรู้คุณค่าวัฒนธรรมชุมชน
  • กรอบอ้างอิงที่นศ.และอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดควรทบทวนอยู่เสมอก่อนและหลังการลงชุมชน ได้แก่ Model 0f Human Occupation, Social Learning Theory, Ecology of Human Performance, Health Belief Model, Occupational Adaptation, Precede-Proceed Model, Person-Environment-Occupational Transtheoretical Model of Human Behavior, Performance Model Change [ขอบพระคุณแหล่งอ้างอิงจาก Scaffa, M. (Ed.). (2001). Occupational Therapy in Community-based Practice Setting. Philadelphia: F.A.Davis.]
  • จากประสบการณ์การฝึกจิตใต้สำนึกและการอ่านใจคนตามแนวคิดนพลักษณ์ ทำให้ผมเห็นปัญหาการสื่อสารเชิงบวกกับหลายๆคนที่ใช้ฐานคิดจนจิตไร้ใจ จะมีบุคลิกภาพคือ ลักษณ์ 5-6-7 ได้แก่ การคิดอยู่ในโลกส่วนตัวหรือย้ำคิดอยู่กับตนเองมากเกินไปทำให้ไม่ฟังความคิดดีๆจากผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง การคิดแลกเปลี่ยนอยู่กับคนที่ไว้ใจสุดๆและกลัวที่จะผิดพลาดหรือเสียเปรียบเมื่ออยู่นอกพื้นที่ความปลอดภัยกับผู้อื่นที่ตนไม่ไว้ใจ และการคิดฟุ้งมากมายคล้ายสมาธิสั้นวอกแวกง่ายไม่มีการกำหนดเป้าหมาย แผนการ และระยะเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นการที่จะทำงานร่วมกันระหว่างทุกๆฝ่ายที่มักมีแนวโน้มใช้ฐานคิดมากเกินไปจะทำให้เกิดอารมณ์กลัวการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ทำจำเจเป็นประจำ นับว่าเป็นเรื่องท้าทายที่นศ.และอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดควรฝึกสติสัมปชัญญะ พรหมวิหารสี่ และมีอริยสัจสี่ เพื่อสร้างกัลยาณมิตรด้วยความใส่ใจ เข้าใจ และมั่นใจ
  • ในประเด็นการสอนให้เหตุผลทางคลินิก จำเป็นที่อาจารย์พี่เลี้ยงควรอดทนอดกลั่น มิให้บริการแทนนศ.หากแต่รอเป็นผู้เรียนจากนศ.พร้อมๆกับเป็นผู้ตั้งคำถามชวนคิดสะกิดใจขณะนศ.กำลังประเมินและวิเคราะห์กิจกรรมการดำเนินชีวิตให้ได้ประเด็นการเข้าหาและช่วยเหลืออย่างปราณีต อีกทั้งคอยให้กำลังใจแบบเปิดใจทั้งตนเองและผู้รับบริการในบทบาทนักกิจกรรมบำบัดที่ชัดเจน คือ แนะนำตัว ตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง และจับประเด็นความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างมีชีวิตชีวา มิใช่การนั่งสัมภาษณ์ถามคำตอบคำ แต่ช่างสังเกตมีไหวพริบในการเชื้อเชิญผู้รับบริการสำรวจสิ่งแวดล้อมเพื่อทดลองทำกิจกรรมที่สนใจทำเป็นประจำแล้วอยากทำให้ดียิ่งขึ้น เช่น

จากนั่งพูดคุยความอยู่เย็นเป็นสุขของคุณตาสายตาเลือนลาง แล้วเดินไปดูเวลา ดูบริเวณที่กลัวล้มขณะใช้สายยางล้างหน้ามือเวลาร้อน แล้วเดินกลับมานั่งช่วยกันคิดหาวิธีที่จะเดินอย่างปลอดภัยร่วมกันด้วยการเสริมราวจับไม้ไผ่อีกด้านจากที่มีอยู่แล้วด้านหนึ่งและรองด้วยแผ่นกันลื่น เพราะความต้องการที่แท้จริงคืออยากอาบน้ำตรงนี่้ยามร้อนๆอย่างไม่ลื่น



จากประเมินการย้ายตัว เพราะผู้ดูแลอุ้มจนปวดหลังและทานยาดีขึ้น แต่ก็ต้องอุ้มคุณยายอัมพาตทุกวัน เมื่อประเมินข้อเข่าข้างอ่อนแรงที่บวมทั้งๆที่ไม่ได้ลงน้ำหนักเลย กล้ามเนื้อขาสองข้างลีบเพราะไม่มีโอกาสลงน้ำหนักด้วยความกลัวล้ม ให้ลองลงน้ำหนักก็ได้เพียง 10 วินาทีก็ยังคงเกาะนศ.แน่น แล้วมานั่งช่วยกันคิิดหาวิธีที่จะย้ายตัวในระดับที่ออกแรงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีเสริมเบาะให้สูงจากเตียงไปเก้าอี้และ/หรือที่เกาะยืนบวกเพิ่มความมั่นใจ เพราะความต้องการที่แท้จริงคืออยากยืนและเดินได้


จากประเมินการขี่จักรยานของคุณตาที่ไม่ได้ขยับข้อเท้าให้ข้อต่อพร้อมทำงานนั่ง และมีการลงน้ำหนักไม่เท่ากันสองข้างเพราะมีภาวะพาร์กินสัน มีคุณยายที่เข่าเสื่อมคอยดูแลบ้างแต่ก็มีบุคลิกภาพเจ้ากี้เจ้าการ มั่นใจว่าเก่งทำได้ทุกอย่าง แต่ก็แฝงด้วยความน้อยใจที่ยังคงหาเลี้ยงชีพกันสองตายายด้วยลูกๆไม่ทำงานที่อื่นหมด เพราะความต้องการที่แท้จริงคืออยากให้เท้าไม่บวม เดินขี่จักรยานได้ถนัดไม่ล้ม กลัวแพงถ้าต้องทำรองเท้าใหม่ มีรองเท้าแตะอยู่แล้ว อยากลองเสริมผ้ายืดรัดให้กระชับเวลาลงน้ำหนักและขยับกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า




หมายเลขบันทึก: 612752เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

งานชุมชนทำแล้วสนุก นะคะ ได้เห็นสภาพความเป็นจริงของผู้ป่วย และสิ่งแวดล้อม เรื่องการใช้ยา เรื่องอาหาร และความเป็นจริง นะคะ

นับเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆครับ

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.เปิ้นและว่าที่ดร.วินัย และมิตรภาพตลอดกาลเช่นคุณเพชรน้ำหนึ่งครับ

ขอบพระคุณมากครับดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท