​นโยบายพลังงานที่ฉ้อโกงชาติ???


ในประเทศไทย เซลล์แสงอาทิตย์ โดยเฉพาะโซล่าร์ฟาร์ม ได้รับการอุดหนุนอย่างสุดโต่งมานานกว่าสิบปี ด้วยเงินของรัฐที่ได้มาจากภาษีอากรของประชาชนทั่วไป โดยนโยบายและแผนงาน จากหน่วยงานภาครัฐหลายหน่ายงาน เช่น กพช. กระทรวงพลังงาน กกพ. ความผิดพลาดเชิงนโยบายและแผนนี้ ได้สร้างความร่ำรวยมหาศาลกับเครือข่ายธุรกิจเซลล์แสงอาทิตย์ ที่นำเข้าเซลล์ราคาถูก แต่คุณภาพต่ำจากประเทศจีน.

นโยบายพลังงานที่ฉ้อโกงชาติ???

ผมได้รับบทความข้างล่างจาก ศ. ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต อ่านแล้วผมสงสัยว่าเหมาะกับ ชื่อบันทึกนี้หรือไม่


การเปรียบเทียบการผลิตไฟฟ้าด้วย ถ่านหิน กับ เซลล์แสงอาทิตย์*

ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ สวัสดิ์ ตันตระรัตน์

บทคัดย่อ

ในประเทศที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสูง เช่น ญี่ปุ่น ส.ร.อ. สหราชอาณาจักร โรงไฟฟ้าถ่านหินมีกำลังผลิตสูงกว่าโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์มาก. ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหิน ก็ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาก. แหล่งสำรองถ่านหินในโลก มีมากพอที่จะตอบสนองความต้องการของโลกได้ไม่น้อยกว่าสองศตวรรษ. จุดอ่อนหลักของการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น จีน คือมาตรฐานสิ่งแวดล้อมยังไม่ดีพอ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างรุนแรง

จุดอ่อนของเซลล์แสงอาทิตย์ คือต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงที่สุด. ในประเทศไทย เซลล์แสงอาทิตย์ โดยเฉพาะโซล่าร์ฟาร์ม ได้รับการอุดหนุนอย่างสุดโต่งมานานกว่าสิบปี ด้วยเงินของรัฐที่ได้มาจากภาษีอากรของประชาชนทั่วไป โดยนโยบายและแผนงาน จากหน่วยงานภาครัฐหลายหน่ายงาน เช่น กพช. กระทรวงพลังงาน กกพ. ความผิดพลาดเชิงนโยบายและแผนนี้ ได้สร้างความร่ำรวยมหาศาลกับเครือข่ายธุรกิจเซลล์แสงอาทิตย์ ที่นำเข้าเซลล์ราคาถูก แต่คุณภาพต่ำจากประเทศจีน.

การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซลาร์ฟาร์มแย่งที่พื้นที่เกษตรกรรมและจะกลายเป็นขยะอิเล็คโตรนิกส์เมื่อหมดอายุใช้งาน จึงเป็นการฉ้อฉลประชาชนที่รุนแรงขึ้น ด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และการเมือง. ที่น่าแปลกใจมาก คือมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ยังรับการแจกโซล่าร์ฟาร์มจากกระทรวงพลังงาน.

ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่ดีในการผลิตไฟฟ้า ถ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินดำเนินการตาม EHIA อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งมีความรับผิดขอบต่อสังคม โดยเฉพาะชุมชนในบริเวณรอบโรงไฟฟ้า.

ส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์นั้น จะเป็นทางเลือกในพื้นที่นอกระบบสายส่ง เมื่อไม่มีแหล่งพลังงานอื่นที่เหมาะสมกว่า.

บรรณานุกรมแนะนำ:

Annual Energy Outlook, Levelized cost and levelized avoided cost, US

Energy Information Administration, 2015.

World Energy Perspective, Cost of energy technologies, World Energy Council, 2513.

* บรรยาย ณ สำนักวิทยาศาสตร์ รภ.

.

การเปรียบเทียบการผลิตไฟฟ้าด้วย ถ่านหิน กับ เซลล์แสงอาทิตย์*

ไฟฟ้าจากถ่านหิน

  • ในประเทศที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสูง เช่น ญี่ปุ่น ส.ร.อ. สหราชอาณาจักร
  • ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหิน ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาก.
  • แหล่งสำรองถ่านหินในโลก มีมากพอที่จะตอบสนองความต้องการของโลกได้ไม่น้อยกว่าสองศตวรรษ.
  • จุดอ่อนหลักของการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า ในประเทศที่มาตรฐานสิ่งแวดล้อมยังไม่ดีพอ เช่น จีน ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างรุนแรง
  • ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่ดีในการผลิตไฟฟ้า ได้
  • โรงไฟฟ้าถ่านหินต้องดำเนินการตาม EHIA อย่างเคร่งครัด
  • จุดอ่อนของเซลล์แสงอาทิตย์ คือต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงที่สุด ในประเทศ.
  • เซลล์แสงอาทิตย์ โดยเฉพาะโซล่าร์ฟาร์ม ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ อย่างสุดโต่ง มานานกว่าสิบปี
  • เงินอุดหนุนของรัฐได้มาจากภาษีอากรของประชาชนทั่วไป
  • ความผิดพลาดเชิงนโยบายและแผน มาจากหน่วยงานภาครัฐหลายหน่ายงาน เช่น กพช. กกพ. กระทรวงพลังงาน
  • เครือข่ายธุรกิจเซลล์แสงอาทิตย์ ได้มีความร่ำรวยมหาศาล ด้วยนโยบายและแผนดังกล่าวและการนำเข้าเซลล์ราคาถูก แต่คุณภาพต่ำจากประเทศจีน.

โรงไฟฟ้าถ่านหินมีกำลังผลิตสูงกว่าโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์มาก.

และมีความรับผิดขอบต่อสังคม โดยเฉพาะชุมชนในบริเวณรอบโรงไฟฟ้า.

ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

รัฐบาลปัจจุบัน

  • ไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • โซลาร์ฟาร์มแย่งที่พื้นที่เกษตรกรรม และเป็นขยะอิเล็คโตรนิกส์เมื่อหมดอายุใช้งาน
  • การฉ้อฉลประชาชนที่รุนแรงขึ้นนี้ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และการเมือง.
  • มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ยังรับการแจกโซล่าร์ฟาร์มจากกระทรวงพลังงาน.
  • ไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์นั้น ควรเป็นทางเลือกในพื้นที่นอกระบบสายส่ง

เมื่อไม่มีแหล่งพลังงานอื่นที่เหมาะสมกว่า.

หมายเลขบันทึก: 612527เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Sunlight is 'clean and free'; coal is 'dirty and heating up our world'; nuclear is 'risky forever'; winds are 'noisy and ugly';...

We will need power supplies from many 'alternative' sources - when the Sun is not shining (rains, storms, nights); when coal dust deposits in our lungs, when water in dams dries up; when gas...

A national power grid that can assure power in all places and conditions is what we need. What types of technologies for boiling water and turning turbines at what costs are just variables in the equation.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท