​เทคนิคการเลือกเลนส์ เพื่อการส่องพระ


เทคนิคการเลือกเลนส์ เพื่อการส่องพระแท้

*********************************
การพัฒนาการพระแท้ ที่มีอายุ มี 4 ระดับการส่อง คือ
ก. "ในเนื้อ" ส่องดูพัฒนาการของเนื้อ และ มวลสารดั้งเดิม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุและสิ่งแวดล้อม
ข. "ผิว" ส่องดูพัฒนาการของผิว ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ
ค. "นอก" ส่องดูพัฒนาการต่อเนื่องของมวลสารนอกผิว ทั้งส่วนที่เกิดมาจากมวลสารภายใน และการทำปฏิกริยากันเองของมวลสารภายนอก
ง. "โครงสร้าง" ส่องดูส่วนประกอบของพุทธศิลป์ และ ตำหนิ ที่ควรปรากฏ หรือ มีอยู่ในแต่ละจุด
------------------------------------------

ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้น ต้องการความเข้าใจคุณสมบัติของเลนส์ และแสง ที่เหมาะสม ใน 6 ประเด็น คือ

1. ความกว้างของเลนส์ และพื้นที่ที่มองเห็นจริงตามระยะโฟกัส
2. ระยะโฟกัส ของเลนส์
3. ความละเอียดของภาพที่เห็น
4. แหล่งแสงที่ใช้ในการส่อง
5. มุมแสงตกกระทบและการสะท้อน
6. ความสว่างของแสง
---------------------------------------------------
ดังนั้น การเลือกเลนส์ ต้องสอดคล้องกันทั้งประเด็นของรูปแบบของพัฒนาการที่ต้องการดู และ ลักษณะของเลนส์ จะต้องมีความสอดคล้องกัน ที่จะทำให้มีการเน้นการมองไปยังจุดที่มีความสำคัญต่อการฟันธง แท้-เก๊ ทั้ง 4 ระดับ

ที่ยังต้องอาศัยความเข้าใจ และเทคนิคการพลิกเล่นแสง เพื่อความเข้าใจที่สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงต้องมีความหลากหลายของกล้องตามความจำเป็นที่ใช้ส่อง ตามลักษณะะที่ชอบ ตามความถนัด และตามความรู้ความเข้าใจได้เหมาะสม
------------------------------------------
และที่สำคัญ อย่าไปหลงเชื่อว่า กล้องแพงจะต้องดี หรือกล้องดีจะต้องแพง

ควรเลือกตามความเหมาะสมกับตัวเองเป็นหลัก ลองส่อง ลองอ่านเนื้อ ทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ แล้วท่านจะทราบว่ากล้องใดเหมาะกับท่าน และเจตนาในการใช้งานของท่านเอง พยายามเรียนรู้ ด้วยตัวเอง แต่อย่าติดยึดหรือทำตามแบบของใคร แล้วท่านจะพบความเหมาะสมของตัวท่านเอง ด้วยตัวท่านเอง

หมายเลขบันทึก: 612465เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2016 08:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2016 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ครับทำไมพระรูปหล่อที่มีอ่ยุร้อยปีขึ้น จะต้องเอาพิมพ์กับตำหนิเป็นหลัก ผมไม่เห็นด้วยเลยครับมันเข้าทางเซียนในกรณีที่พระแท้มีน้อยถ้าเป็นเมืองนอกเขาจะพิสูจความเก่าเป็นหลัก อาจารย์เคยสังเกตุบ้างหรือไม่ว่าพระเซียนหลวงพ่อเงินจะไม่มีขี้เบ้า ถ้ามีก็นิดหน่อย องพระจะแข็งกระด้างไม่อ่อนพริ้ว แค่นี้ก่อนนะอาจารย์ผมไม่รู้ว่าผมจะส่งไปให้อาจารย์อ่านได้หรือปล่าวเพราะเล่นไม่ค่อยเป็นต้องให้ลูกสอน ถ้ามีโอกาศผมจะส่งรูปพระให้อาจารย์ดู ถ้าพระองค์นี้ไม่ถึงยุค ผมว่าอาจารย์เป็นฝ่ายผิดเพระผมศึกษาตามอาจารย์ทั้งหมด รวมทั้งที่ว่าเนื้อแก่ทองโอกาศปลอมยากเพราะโรงงานไม่กล้าลงทุน ผมล้อเล่นนะที่บอกอาจารย์เป็นฝ่ายผิด กะว่าจะออกแนวตลกนิดหน่อย ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่เสียเวลาอ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท