กรมราชทัณฑ์กับเส้นทางสู่ความเป็นมืออาชีพด้านการแก้ไข ๒๐๑๖


การเลื่อนระดับความก้าวหน้าในหน้าที่ของราชทัณฑ์มืออาชีพ จะต้องคำนึงถึงกับการสั่งสมองค์ความรู้ และ ทักษะ ด้านมืออาชีพด้านการแก้ไข (Corrections Professionals).............................


องค์ประกอบที่สำคัญของ ราชทัณฑ์มืออาชีพ (Corrections Professionals) สามารถจำแนกได้จากบุคลากรราชทัณฑ์มืออาชีพด้านต่างๆ เช่น มืออาชีพด้านการควบคุม (Security Professionals) มืออาชีพด้านการแก้ไข (Corrections Professionals) ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุม (Security Expert) ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไข (Corrections Expert) ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมการฝึกอบรมมืออาชีพ (Expert professional training programs) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายราชทัณฑ์ (Corrections Expert Law) ผู้เชี่ยวชาญด้านราชทัณฑ์ และ ความยุติธรรม (Justice & Corrections Expert ผู้เชี่ยวชาญราชทัณฑ์ และ ที่ปรึกษาด้านนโยบาย (Corrections Expert & Policy Consultant) ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบ และ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Audit and Compliance Specialist) รวมตลอดถึง ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice Professionals) เป็นต้น


หลักสูตรมืออาชีพด้านการแก้ไข (ครูสมาธิ รุ่นพิเศษ)

ที่ผ่านมาการพัฒนาความรู้เพื่อรองรับความเป็นมืออาชีพด้านการแก้ไข ของกรมราชทัณฑ์ มีอยู่ใน โปรแกรมเพื่อการแก้ไข (Rehabilitation programs) โปรแกรมต่างๆ มากมายหลายโปรแกรม เช่น โปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ โปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย โปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย รวมตลอดถึง ความรู้ ทักษะ ที่ปรากฏอยู่ใน หลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรพัศดี หลักสูตรนักศึกษาผู้บัญชาการเรือนจำ (นผบ.) นักบริหารงานราชทัณฑ์ระดับสูง (นรส.) เป็นต้น แต่ยังมิได้มีการกล่าวการรวบรวมองค์ความรู้ และ การจัดระบบของมืออาชีพด้านการแก้ไข ในทางวิชาการที่เป็นกิจจะลักษณะ แต่ประการใด สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอในบทความนี้ จะเป็นการกล่าวถึง มืออาชีพด้านการแก้ไข (Corrections Professionals) ที่เน้นความเป็นกิจจะลักษณะ การพัฒนาความรู้ ทักษะ ด้านการแก้ไข นำร่องด้วยโปรแกรมอบรมพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาจิตใจ “หลักสูตร ครูสมาธิ” ของกรมราชทัณฑ์ ระหว่างวันที่ ๙ สิงหาคม - ๖ กันยายน ๒๕๕๙ ณ วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ จากเรือนจำ / ทัณฑสถานต่างๆ จำนวน ๑๓๐ คน เนื้อหา และ กิจกรรมของหลักสูตร ที่สำคัญ เช่น การฟังเทปบรรยายธรรม ของพระธรรมมงคลญาณ การเดินจงกรม และ การนั่งสมาธิ (การเรียนรู้ด้านทฤษฎีการเดินจงกรม และ การนั่งสมาธิ) โดยมีคณะวิทยากร ประจำสถาบันพลังจิตตานุภาพ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระธรรมมงคลญาณ พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร เป็นผู้ให้การอบรม หรือ ที่ในบทความต่อไปนี้ จะเรียกว่า หลักสูตร มืออาชีพด้านการแก้ไข ๒๐๑๖ โดยสังเขป ดังนี้


หลักสูตรมืออาชีพด้านการแก้ไข (ครูสมาธิ รุ่นพิเศษ)


หลักสูตรมืออาชีพด้านการแก้ไข (ครูสมาธิ รุ่นพิเศษ)


หลักสูตรมืออาชีพด้านการแก้ไข (ครูสมาธิ รุ่นพิเศษ)


หลักสูตรมืออาชีพด้านการแก้ไข (ครูสมาธิ รุ่นพิเศษ)


หลักสูตรมืออาชีพด้านการแก้ไข (ครูสมาธิ รุ่นพิเศษ)


หลักสูตรมืออาชีพด้านการแก้ไข (ครูสมาธิ รุ่นพิเศษ)


หลักสูตรมืออาชีพด้านการแก้ไข (ครูสมาธิ รุ่นพิเศษ)

โดยสรุป

กรมราชทัณฑ์กับเส้นทางสู่ความเป็นมืออาชีพด้านการแก้ไข ๒๐๑๖ ที่นำเสนอในบทความนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงให้เห็นว่า กรมราชทัณฑ์ได้มีการพัฒนาความรู้ ทักษะ ด้านการแก้ไขอันมีลักษณะเป็นการเริ่มต้นเดินบนเส้นทางสายราชทัณฑ์มืออาชีพมาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นถึงบริบทของราชทัณฑ์มืออาชีพ ว่า จะต้องประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะ ด้านใดบ้าง องค์ประกอบของมืออาชีพด้านการแก้ไข (Corrections Professionals) จะต้องมีความรู้ ทักษะ ตามโปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ โปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย โปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย รวมตลอดถึง ความรู้ ทักษะ ที่ปรากฏอยู่ใน หลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรพัศดี หลักสูตรนักศึกษาผู้บัญชาการเรือนจำ (นผบ.) นักบริหารงานราชทัณฑ์ระดับสูง (นรส.) เป็นต้น รวมตลอดถึง การพัฒนาความรู้ ทักษะด้านการพัฒนาจิตใจ ตามหลักสูตร ครูสมาธิรุ่นพิเศษ ที่นำเสนอในบทความนี้ ฯลฯ มิฉะนั้น กรมราชทัณฑ์ก็จะต้องเดินรั้งท้ายหน่วยงานอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ อัยการ ศาล กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ กรมคุมประพฤติ) อีกต่อไป กรมราชทัณฑ์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหาความเชื่อมโยงกับเส้นทางสู่ราชทัณฑ์มืออาชีพ ดังกล่าว โดยอาจเริ่มต้นจากกำหนดหลักเกณฑ์การรับสมัครเจ้าหน้าที่ของกรมคุกที่อาจต้องไปศึกษาของสหรัฐอเมริกาที่รับสมัครจากผู้ที่จบปริญญาตรีทางด้านอาชญาวิทยา หลักเกณฑ์ในการสอบคัดเลือก หรือ เลื่อนระดับความก้าวหน้าในหน้าที่ ที่จะต้องคำนึงถึงกับการสั่งสมองค์ความรู้ ทักษะ ด้านมืออาชีพด้านการแก้ไข ในเชิงระบบเป็นสำคัญ รวมตลอดถึงการแยกความความเหมือนความต่างระหว่างเจ้าหน้าที่คุก กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่น เพื่อหาลักษณะเด่น หรือ ลักษณะพิเศษ ของงานราชทัณฑ์ เพื่อที่จะได้เริ่มต้นก้าวไปบนเส้นทางสู่ราชทัณฑ์มืออาชีพอย่างแท้จริง


................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙


อ้างอิง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.samathi.com/activity-detail.php?actid=8...

หนังสือกรมราชทัณฑ์ ที่ยธ ๐๗๐๔.๔ / ๒๒๙๙๑ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง โครงการอบรมพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาจิตใจ “หลักสูตร ครูสมาธิ”





ความเห็น (2)

ขอบคุณอาจารย์ต้น มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีลอดมา ขอบคุณมากน่ะครับอารย์

ขอบคุณอาจารย์ ดร.ดารณี ชัยอิทธิพร มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีลอดมา ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท