๔๓๓. โรงเรียนขนาดเล็ก...โรงเรียนประชารัฐ


ผอ.ก็ต้องวิ่งประสานงานภายนอกมากขึ้น ขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง ก็ได้รับความร่วมมือ ขอความอนุเคราะห์จากเทศบาลฯ ก็ให้พนักงานมาช่วยตัดหญ้า พัฒนาสิ่งแวดล้อม..เขาก็มาช่วยด้วยความเต็มใจ...ทำให้โรงเรียนดูเป็นระบบมีระเบียบ ...ไม่ถูกทอดทิ้งจากชุมชน...ถ้าเป็นแบบนี้...ก็เชื่อว่า...โรงเรียนขนาดเล็กไม่ว่าที่ไหน ก็น่าจะอยู่ได้

หลายปีมาแล้ว...ที่เคยจัดการเรียนการสอนกับครู ทั้งโรงเรียนที่มีอยู่ด้วยเพียง ๒ คน แต่ตอนนั้นนักเรียนมีไม่มาก ต่อมา..นักเรียนมากขึ้น..มีครู ๕ คน รวมผมด้วยก็ ๖ คน เป็นจำนวนครูที่บอกได้เลยว่า กำลังดี ถึงแม้จะมีถึง ๘ ชั้นเรียนก็ตาม คือ อนุบาล ๑ - ๒ และ ป.๑ ถึง ป.๖..

มีครู ๕ คน อยู่หลายปี จนเริ่มจะคุ้นชิน..ปีการศึกษานี้..ครู ที่เป็นพนักงานราชการ ที่ยังไม่ได้ประจำ ลาออกไปบรรจุเข้ารับราชการครู ก็เลยเหลือครู ๔ คน ทั้งโรงเรียนรวม ผอ.ด้วย ก็ ๕ คน

คณะครูปรึกษาหารือว่า อย่ากระนั้นเลย รวมชั้นกันเถอะ ครู ๑ คน สอนนักเรียน ๒ ชั้น ทั้งหมด ๘ ชั้น ใช้ครูผู้สอน ๔ คน....ผอ.ลอยไว้ เอาไว้สอนแทนครู เวลาครูไม่อยู่ ...ซึ่งปัจจุบันก็มีโรงเรียนฯ ที่ทำแบบนี้แล้วหลายพันโรงเรียน..ทั่วประเทศ

เป็นเกณฑ์ที่ สพฐ.. กำหนดไว้ชัดเจนว่า โรงเรียนใดก็ตาม ถ้านักเรียน ๗๐ – ๗๙ คน จะมีครูรวมผู้บริหารได้ทั้งหมด ๕ คน...วันนี้จึงเท่ากับว่าโรงเรียนมีครู...พอดีเกณฑ์แล้ว...ยากที่ต้นสังกัดจะมาช่วยเหลือหรือเยียวยาได้..ก็เลยต้องจัดการเรียนการสอนกันไป ให้เป็นปกติวิสัย และ เป็นธรรมชาติ

ผอ.ก็เลยต้องอำนวยการ ให้ความสะดวกกับครูอย่างเต็มที่ คอยช่วยเหลือ สนับสนุนสื่อการเรียนการสอน ช่วยสอนเสริมพิเศษบ้างในบางเวลาและ บางรายวิชา ตั้งแต่ชั้น ป.๑ – ป.๖ ทุกวัน ผ่านมาแล้วหลายวัน ก็เริ่มจะชิน และมีความสุข สนุกกับงาน ไม่รู้สึกว่าถูกกดดัน พยายามทำงานอย่างลงตัวที่สุด.. ด้วยความเข้าใจ และใช้การบริหารจัดการที่ไม่ทำให้ตัวเองหรือใคร อึดอัด แต่อยู่ให้ได้แบบสบายๆ ไร้กังวล เพื่อการก้าวข้ามผ่านอุปสรรคไปให้ได้....

จากข้อมูลฯ...พบว่า ยังมีมากมายหลายร้อยโรงเรียน ที่มีสถานะที่แย่กว่าเรา นักเรียนพอๆกัน แต่ครูน้อยกว่า และโรงเรียนที่มีนักเรียนมากมาย แต่มีครูไม่ครบชั้น และไม่มีครูวิชาเอกหลักๆ ที่โรงเรียนต้องการ...ล้วนเป็นปัญหานานัปการ..ที่ต้นสังกัดพยายามแก้ไขและปฏิรูปฯ

ก็เลยบอกนักเรียนชั้นโตๆ ป.๕ – ๖ ว่า อย่างไรแล้ว ก็ต้องช่วยงานครูบ้างนะ ช่วยสอนน้องบ้าง ส่วนชั้นเล็ก ๆ ก็เตือนว่า อย่าซน อย่าดื้อนะ ตอนนี้ ครูเราไม่เพียงพอ และครูต้องเหนื่อยมากขึ้น เห็นใจครูด้วยนะ บอกเด็กไปแบบนี้ เกือบทุกวัน...นักเรียนก็แสนดี เชื่อฟัง ครู และ ผอ.

เมื่อบุคลากรน้อยลง ผอ.ก็ต้องวิ่งประสานงานภายนอกมากขึ้น ขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง ก็ได้รับความร่วมมือ ขอความอนุเคราะห์จากเทศบาลฯ ก็ให้พนักงานมาช่วยตัดหญ้า พัฒนาสิ่งแวดล้อม..เขาก็มาช่วยด้วยความเต็มใจ...ทำให้โรงเรียนดูเป็นระบบมีระเบียบ ...ไม่ถูกทอดทิ้งจากชุมชน...ถ้าเป็นแบบนี้...ก็เชื่อว่า...โรงเรียนขนาดเล็กไม่ว่าที่ไหน ก็น่าจะอยู่ได้
ศธ. ประกาศชัดเจนแล้ว โรงเรียนขนาดเล็กเด็กน้อย อาจจะไม่ยุบรวมก็ได้ ถ้าอยู่อย่างมีคุณภาพ ทำให้นึกถึงและเข้าใจคำว่า ...โรงเรียนของชุมชน...หรือ โรงเรียน..ประชารัฐ ในสมัยนี้นั่นเอง คือ ถ้าโรงเรียนและชุมชนเข้มแข็ง...ใครก็ทำอะไรเราไม่ได้...

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๙ สิงหาคม ๒๕๕๙









หมายเลขบันทึก: 612076เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2016 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2016 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท