คุณ Gen ไหน...และทำไมจึงต้องปกป้องคน Gen Z ไม่ให้สูบบุหรี่


นอกจากเหตุผลด้านความเปราะบางที่เกิดจากคุณลักษณะนิสัยของ Gen Z แล้วยังมีเหตุผลสำคัญ 3 ประการที่จำเป็นต้องปกป้อง Gen Zจากบุหรี่ คือ 1) บริษัทบุหรี่เล็งเป้าไปที่ Gen Z 2) การเข้าถึงบุหรี่ของ Gen Z ยังเป็นเรื่องง่าย และ 3) บุหรี่มีฤทธิ์ทำให้เสพติด

คุณ Gen ไหนและ Gen Z คือ ใคร

สังคมทั่วไปประกอบด้วยคนหลากหลาย“อายุ” และหลากหลาย “รุ่น” หรือ “เจเนอเรชัน(generation)”และเป็นผลทำให้คนที่เกิดและเติบโตมาต่างยุคต่างสมัยกันมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันไปด้วยซึ่งปัจจุบันเจเนอเรชันหลักๆ ของโลกแบ่งออกเป็น5กลุ่มตามช่วงปีเกิดคือ

ไซเลนต์เจเนอเรชัน (Silent generation)เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2463-2483 ซึ่งเป็นยุคสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม และเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำ คนกลุ่มนี้มักเคร่งครัดระเบียบแบบแผนอนุรักษ์นิยม แต่ไม่ชอบความเสี่ยงภัย

เบบี้บูมเมอร์ (Baby boomer)เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489-2503 ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูของ เศรษฐกิจและสังคม คนกลุ่มนี้จึงทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงานมีความอดทนเร่งแสวงหาความมั่นคงในชีวิตมีความภักดีต่อองค์กรและให้ความสำคัญกับการทำหน้าที่พลเมือง

เจเนอเรชันเอกซ์ (GenerationX)เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2503-2523 ซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูของเศรษฐกิจและสังคม และคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิต คนกลุ่มนี้มีความคิดสร้างสรรค์ให้ความสำคัญกับสมดุลชีวิต และชอบงานที่ท้าทายหรือได้ความรู้ใหม่ๆ

เจเนอเรชันวาย (Generation Y)เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523-2543 ซึ่งเป็นยุคก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะโครงข่ายอินเทอร์เน็ต คนกลุ่มนี้มักตั้งคำถามกับทุกสิ่งทุกอย่าง หลงใหลและให้ความสำคัญกับตนเอง ทะเยอทะยาน และกล้าคิดกล้าทำ

เจเนอเรชั่นซี (Generation Z)เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน (มีอายุระหว่าง 7-20 ปี) ซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูของสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยี คนกลุ่มนี้มักเติบโตในครอบครัวเดี่ยวและเป็นลูกคนเดียว จึงมักให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านโลกออนไลน์มีพัฒนาการและสามารถเรียนรู้ได้เร็ว มีอำนาจซื้อสูงและชอบการใช้จ่าย ดังนั้นจึงมักตกเป็นเป้าหมายสำคัญของกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจต่างๆ รวมทั้งจากบริษัทบุหรี่ด้วย

ทำไมต้องปกป้อง Gen Z จากบุหรี่

นอกจากเหตุผลด้านความเปราะบางที่เกิดจากคุณลักษณะนิสัยของ Gen Z แล้วยังมีเหตุผลสำคัญ 3 ประการที่จำเป็นต้องปกป้อง Gen Zจากบุหรี่ คือ

  • บริษัทบุหรี่เล็งเป้าไปที่ Gen Z
  • การเข้าถึงบุหรี่ของ Gen Z ยังเป็นเรื่องง่าย
  • บุหรี่มีฤทธิ์ทำให้เสพติด

1. บริษัทบุหรี่เล็งเป้าไปที่ Gen Z

จากเอกสารลับของบริษัทบุหรี่หลายแห่ง พบว่าการแสวงหานักสูบหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชนคือเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่สำคัญของบริษัทบุหรี่ในดังถ้อยคำที่ได้มาจากบริษัทบุหรี่ฟิลลิป มอร์ริสที่ว่า

“เยาวชน เป็นกลุ่มเป้าเหมายสำคัญของธุรกิจยาสูบ เพราะต้องการลูกค้าใหม่มาทดแทนผู้ใหญ่ที่สูบจนป่วยตาย...ดังนั้น เยาวชนในวันนี้คือลูกค้าประจำคนสำคัญของเราในวันพรุ่งนี้..”

2. การเข้าถึงบุหรี่ของ Gen Z ยังเป็นเรื่องง่าย

เยาวชนนักสูบของไทยมากกว่าร้อยละ 90.0 ยังสามารถซื้อบุหรี่ได้ด้วยตนเองจากร้านค้าปลีกในชุมชนในจำนวนนี้เกือบทั้งหมดไม่เคยถูกสอบถามอายุหรือตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนก่อนซื้อ และร้อยละ 88.3 ยังสามารถซื้อบุหรี่แบบแบ่งขายเป็นมวนได้อยู่ซึ่งทำให้เข้าถึงบุหรี่ได้แม้มีเงินเพียง 5-10 บาทเท่านั้นรวมทั้งสถานการณ์การพบเห็นการโฆษณาบุหรี่ ณ จุดขาย และการซื้อหาบุหรี่ทางอินเตอร์เน็ตของเยาวชนยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

3. บุหรี่มีฤทธิ์ทำให้เสพติด

ฤทธิ์ของนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่มีอำนาจทำให้เกิดการเสพติดเทียบเท่ากับเฮโรอีน จากสถิติที่ผ่านมาพบว่า คนไทยที่เสพติดบุหรี่แล้วจะมีเพียงร้อยละ 27.0 เท่านั้นที่สามารถเลิกได้สำเร็จ ส่วนอีกร้อยละ 73.0 จะไม่สามารถถอนตัวได้และในที่สุดต้องทนทุกข์ทรมานและเสียชีวิตด้วยโรคที่มีสาเหตุมาจากบุหรี่ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม รวมทั้งเป็นภาระสำคัญของระบบสุขภาพในระดับประเทศ และที่น่าเป็นห่วงอย่างมากก็คือ ขณะนี้มีGen Z ติดบุหรี่แล้วถึง 353,898 คน ซึ่งหมายความว่าในจำนวนนี้จะมีถึง 258,346 คนที่ต้องเสพติดบุหรี่ไปตลอดชีวิต

ปกป้อง Gen Z อย่างไรให้ห่างไกลบุหรี่

มาตรการปกป้อง Gen Z ไม่ให้สูบบุหรี่นั้น จำเป็นต้องดำเนินการไปอย่างบูรณาการ ตั้งแต่ระดับบุคคลหรือตัวคน Gen Z เอง ควบคู่ไปกับการระดมความร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน และรัฐบาล โดยแต่ละส่วนควรมีบทบาทหน้าที่ดังนี้

ระดับบุคคล: คน Gen Z

  • ต้องแสดงศักยภาพให้สังคมเห็นว่า คน Gen Z ฉลาดรู้เท่าทันกลยุทธ์ของบริษัทยาสูบ
  • ใช้ Social media เพื่อสื่อสารให้สังคมรู้ว่า เราคืออนาคตของชาติ และเราจะเลือกทำเฉพาะสิ่งดีๆ และสร้างสรรค์แก่ตนเองและสังคม
  • เป็นตัวกลาง เพื่อระดมความร่วมมือจากผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชน ในการปกป้องตนเองและเพื่อนๆ คน Gen Z ให้ปลอดภัยจากบุหรี่
  • สมาชิกในครอบครัวต้องร่วมกันทำให้ บ้านปลอดบุหรี่ และเป็นแรงสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวที่ยังสูบบุหรี่ให้เลิกได้สำเร็จ
  • ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดี โดยการไม่สูบบุหรี่ หรือหากเสพติดแล้วก็ต้องไม่สูบในบ้าน หรือไม่สูบให้Gen Z เห็น
  • ผู้ปกครองต้องให้การดูแล ปกป้องและคุ้มครอง ลูกหลานเป็น Gen Z ที่ไม่สูบบุหรี่
  • สมาชิกในชุมชนต้องร่วมมือกันสำรวจเฝ้าระวัง และสร้างมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกันGen Z ในชุมชนไม่ให้เข้าถึงและสูบบุหรี่
  • ทุกภาคส่วนของชุมชนต้องส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรมที่สร้างสรรค์สำหรับ คน Gen Z ในชุมชน
  • รัฐบาลควรเร่งรัดพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อลดการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน
  • กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการควรมีนโยบายในระดับพื้นที่ที่ชัดเจนในการปกป้องและคุ้มครอง Gen Z ให้รู้เท่าทันกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ
  • สื่อสารมวลชนควรเร่งสร้างค่านิยม Gen Z คนรุ่นใหม่ ไม่สูบบุหรี่

ระดับครอบครัว

  • สมาชิกในครอบครัวต้องร่วมกันทำให้ บ้านปลอดบุหรี่ และเป็นแรงสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวที่ยังสูบบุหรี่ให้เลิกได้สำเร็จ
  • ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดี โดยการไม่สูบบุหรี่ หรือหากเสพติดแล้วก็ต้องไม่สูบในบ้าน หรือไม่สูบให้Gen Z เห็น
  • ผู้ปกครองต้องให้การดูแล ปกป้องและคุ้มครอง ลูกหลานเป็น Gen Z ที่ไม่สูบบุหรี่
  • สมาชิกในชุมชนต้องร่วมมือกันสำรวจเฝ้าระวัง และสร้างมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกันGen Z ในชุมชนไม่ให้เข้าถึงและสูบบุหรี่
  • ทุกภาคส่วนของชุมชนต้องส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรมที่สร้างสรรค์สำหรับ คน Gen Z ในชุมชน
  • รัฐบาลควรเร่งรัดพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อลดการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน
  • กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการควรมีนโยบายในระดับพื้นที่ที่ชัดเจนในการปกป้องและคุ้มครอง Gen Z ให้รู้เท่าทันกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ
  • สื่อสารมวลชนควรเร่งสร้างค่านิยม Gen Z คนรุ่นใหม่ ไม่สูบบุหรี่

ระดับชุมชน

  • สมาชิกในชุมชนต้องร่วมมือกันสำรวจเฝ้าระวัง และสร้างมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกันGen Z ในชุมชนไม่ให้เข้าถึงและสูบบุหรี่
  • ทุกภาคส่วนของชุมชนต้องส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรมที่สร้างสรรค์สำหรับ คน Gen Z ในชุมชน

ระดับรัฐบาล

  • รัฐบาลควรเร่งรัดพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อลดการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน
  • กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการควรมีนโยบายในระดับพื้นที่ที่ชัดเจนในการปกป้องและคุ้มครอง Gen Z ให้รู้เท่าทันกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ


คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า Gen Zคือ ความหวังและอนาคตสำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคนทุก Genที่จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญด้วยการเร่งระดมสรรพกำลังทั้งด้านความรู้ เทคโนโลยี และทรัพยากร ตลอดจนความรักและความปรารถนาดีเพื่อปกป้องและคุ้มครอง Gen Z ให้ปลอดภัยจากบุหรี่

เอกสารอ้างอิง

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ.(2559). ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปกฎหมายการจำกัดการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบของเยาวชนไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 10(2): 128-36.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ และปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์. (2557). พฤติกรรมการจำหน่ายบุหรี่ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 101-106.

ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. 2550. Generation Z : ใหม่ล่า...มาแรง. กรุงเทพธุรกิจ. (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550). (ออนไลน์). เข้าถึงจาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q4/2007november14p2.htm

มหาวิทยาลัยมหิดล. 2553. Gen-B, Gen-X, Gen-Y, Gen-Z คืออะไร ? เสี่ยงโรคอะไร ?. (ออนไลน์).
เข้าถึงจาก http://wemahidol.mahidol.ac.th/comm/space.php?uid=79&do=blog&id=824

ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช และลักขณา เติมศิริกุลชัย. (2551). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2534-2550. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

หมายเลขบันทึก: 611894เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2016 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2016 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท