วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ตอนที่ 2 ไปทำงานกับ “อาชีพนักส่งเสริมฯ หม่อนไหม”


การเป็น "วิทยากรกระบวนการ" ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่อยู่ที่ว่า...ใครจะอดทน หมั่นฝึกฝนตนเองได้นาน รู้จริง และแม่นกว่ากัน...ซึ่งเรียกว่า...ฝีมืออาชีพ.

     เมื่อวันที่ 4-6  กันยายน 2549 ได้มีโอกาสเป็นวิทยากรจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง ความรู้พื้นฐานในการทำงานส่งเสริมการเกษตร ให้กับเจ้าหน้าที่ของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติ โดยใช้สถานที่ของสถาบันหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เป็นที่พบปะของนักส่งเสริมฯที่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานดังกล่าวทั่วประเทศ  เป็นการจัดชั้นเรียน ประมาณ 80-100 คน                

     ก่อนที่จะไปทำกระบวนการกันจริง ๆ ดิฉันก็ได้สอบถามทีมงานที่ไปรับงาน    มาว่า ...การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานแห่งนี้...1)  เขาต้องการเป้าหมายอะไรบ้าง?  และ 2) เขาต้องการให้เราทำอะไร? บทบาทไหนบ้าง?  ซึ่งคำตอบที่ได้รับก็คือ  1)  เจ้าของงานชิ้นนี้ต้องการปูพื้นฐานการทำบทบาทเป็นนักส่งเสริมการเกษตรในหน้าที่และภารกิจของ...การส่งเสริมฯ หม่อนไหม  2)  เจ้าของงานต้องการให้เราไป จัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ให้กับผู้เข้ารับการ   เรียนรู้  และ 3) เจ้าของงานเขามอบการจัดชั้นเรียนให้กับทีมงานของเรา                

     จากคำตอบดังกล่าวได้นำไปสู่การทำบทบาทหน้าที่ในเวทีเรียนรู้ก็คือ    เราเป็น วิทยากร กระบวนการ  ที่อำนวยความสะดวก (Facilitator)ให้กับเจ้าหน้าที่เรียนรู้ภายใต้ประสบการณ์เดิมที่มีอยู่  ฉะนั้นการจัดชั้นเรียนจึงเริ่มต้นจาก

          1) รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน

          2) ออกแบบการเรียน การสอน 

          3) กำหนดแผนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 

          4) จัดกระบวนการเรียนรู้  

          5) ประเมินและ สรุปผลและข้อเสนอแนะ                

     หลังจากนั้น ทีมวิทยากรกระบวนการซึ่งมีจำนวน 3 คน คือ 1) คุณสวัสดิ์  วิระวงศ์พรหม  เป็นหัวหน้าทีม  2) คุณอรรถพร  จิดามณี  และ 3) คุณศิริวรรณ   หวังดี (ผู้เขียน) ก็เริ่มต้นประชุม  เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์  กำหนดขอบเขตของเนื้อหาสาระ  แผนการเรียนการสอน  การประเมินและสรุปผล  และการแบ่งบทบาทหน้าที่  ซึ่งสรุปได้ว่า   

          1.  วัตถุประสงค์  การจัดการเรียนรู้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติ ในการทำหน้าที่และภารกิจตามบทบาทของนักส่งเสริมการเกษตร  

          2.  ขอบเขตของเนื้อหาสาระการจัดชั้นเรียนให้กับเจ้าหน้าที่มีกรอบของเนื้อหาสาระ แบ่งเป็น  9  กิจกรรม คือ 1)  แนวคิดและวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตร    2) การสร้างกลยุทธ์และวิธีการส่งเสริมฯ อาชีพหม่อนไหมกับชุมชน  3) การรวบรวมประสบการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพของเจ้าหน้าที่  4)  การวิเคราะห์พื้นที่และชุมชน  5) เทคนิคและเครื่องมือในการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกร  6) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7) บทบาทการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)  8) การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  และ 9) การสรุปองค์ความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร 

          3.  แผนการเรียนการสอน  การจัดทำแผนการเรียนการสอนเพื่อใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ได้กำหนดกรอบข้อมูล ประกอบด้วย                1) กิจกรรม/ประเด็น  2) ขั้นตอนการปฏิบัติ  3) เครื่องมือ/เทคนิค  4) ข้อสรุปที่เกิดขึ้น  และ 5) เวลา/ผู้รับผิดชอบ   

          4.  การประเมินและสรุปผล  การประเมินผลการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ได้ใช้วิธีการ ได้แก่  1) สังเกตพฤติกรรมการทำงาน  และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน  2) จากชิ้นงานที่ปฏิบัติของกลุ่ม  3) จากการฝึกปฏิบัติ  4) จากการสนทนาแบบไม่เป็นทางการ  และ 5) จากผลการประเมินโดยใช้แบบประเมินผล                

          5.  การแบ่งบทบาทหน้าที่  การเป็น วิทยากรกระบวนการที่มีการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนในทีมงานควรจะต้องรู้และเข้าใจบทบาทที่ตนเองต้องปฏิบัติและกระทำ แบ่งออกเป็น  1) การนำเข้าสู่เนื้อหาสาระ 2) การเรียนการ สอน  และ 3) การเชื่อมโยงและสรุปบทเรียน                

     โดยเจ้าหน้าที่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้จะประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่ที่มาจากกรมส่งเสริมการเกษตร (เดิม) แล้วแบ่งแยกจากการปรับโครงสร้างให้มาสังกัดหน่วยงานดังกล่าว  2) เจ้าหน้าที่ที่มาจากกรมวิชาการเกษตร (เดิม) แล้วแบ่งแยกจากการปรับโครงสร้างให้มาสังกัดหน่วยงานดังกล่าว  และ 3) เจ้าหน้าที่ที่มาจากหน่วยงานอื่น ๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (เดิม) แล้วแบ่งแยกจากการปรับโครงสร้างให้มาสังกัดหน่วยงานดังกล่าว   ฉะนั้น กลุ่มผู้เรียนจึงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานส่งเสริมการเกษตรอยู่บ้างแล้ว ซึ่งมาจากกรมส่งเสริมการเกษตร  และ 2) ไม่มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานส่งเสริมการเกษตรที่มาจากหน่วยงานอื่น ๆ      

     ดังนั้น การจัดทำแผนการเรียนรู้ จึงยึดหลักการ ได้แก่  1) การเรียนรู้ของผู้ใหญ่  2)  การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  3) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  4) บทบาทของผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)  และ 5) ความแตกต่างระหว่างบุคคล   การวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ออกแบบ โดยเริ่มจาก

          ขั้นที่ 1  สร้างความคุ้นเคยและประเมินความคาดหวัง 

          ขั้นที่ 2  ให้แนวคิดและวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตร

          ขั้นที่ 3  ฝึกปฏิบัติ การสร้างกลยุทธ์ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับชุมชน

          ขั้นที่ 4  ฝึกปฏิบัติ การวิเคราะห์พื้นที่และชุมชน

          ขั้นที่ 5  อภิปรายกลุ่ม เทคนิคและเครื่องมือในการทำงานกับชุมชน

          ขั้นที่ 6  ฝึกปฏิบัติ การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

          ขั้นที่ 7  เสริมความรู้ การปรับเปลี่ยนบทบาทนักส่งเสริมฯ เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้                               

          ขั้นที่ 8  เชื่อมโยงและสรุปบทเรียนในงานส่งเสริมการเกษตร  

          ขั้นที่ 9  เสริมความรู้ การจัดการองค์ความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร       

          ขั้นที่ 10  ประเมินและสรุปผลการเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้ดังกล่าว  สามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง                  

     หลังจากนั้น ดิฉันกับทีมงานก็ได้ช่วยกันรวบรวม สื่อการเรียนการสอน เพื่อนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในวันจริง  ได้แก่  1)  VDO จำนวน  2  เรื่อง คือ  เรื่องที่ 1  การสร้างเครือข่ายในการทำงาน  และ เรื่องที่ 2  PAR กับงานส่งเสริมการเกษตร  2) กรณีตัวอย่าง กลุ่มอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม”  3)  แผนที่ประเทศไทย  และ 4) สื่ออื่น ๆ  ที่ทีมวิทยากรกระบวนการจะนำมาใช้ในแต่ละขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอน                

     ในวันจริง คือ วันที่ 4-5 กันยายน 2549  เราได้มีการจัดชั้นเรียนจริง ๆ ได้เริ่มต้นจาก

          ขั้นที่ 1  สร้างความคุ้นเคยและประเมินความคาดหวัง ซึ่งสรุป ได้ว่า เจ้าหน้าที่ที่เข้ารับการเรียนรู้ต่างมีเป้าหมายเพื่อต้องการนำความรู้ไปใช้ในการทำงานกับพื้นที่และชุมชน ได้แก่ การเป็นวิทยากรกระบวนการ  เทคนิคและทักษะการทำงานส่งเสริมการเกษตร  การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  การจัดกิจจกรมการเรียนรู้  การทำงานเป็นทีม  การถ่ายทอดเทคโนโลยี  และการทำงานเป็นทีม   

          ขั้นที่ 2  ให้แนวคิดและวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตร ซึ่งสรุปได้ว่า  นัก  ส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรให้ประกอบอาชีพทางการเกษตรให้บรรลุผล  โดยมีการทำงานให้ยึดหลักการ ได้แก่ สามัคคีธรรม สังคหวัตถุ 4  และอื่น ๆ  การทำงานส่งเสริมฯ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ควรเป็นลักษณะที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการกระทำจริง  การให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลาง  และสร้างเครือข่ายในการทำงาน  ส่วนเนื้อหาสาระควรมีความรู้เกี่ยวกับ การผลิตหม่อนเลี้ยงไหม  การตลาด  การติดตามและประเมินผล  และ อื่น ๆ

          ขั้นที่ 3  การเชื่อมโยงประสบการณ์เรียนรู้สู่การทำงานเป็นทีม  โดยนำกิจกรรมไดโนเสาร์มาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ร่วมกันทำงาน  ซึ่งเจ้าหน้าที่ร่วมกันสรุปได้ว่า  การทำงานเป็นทีมจะมีกฎเกณฑ์และระเบียบคอยกำกับสมาชิกในทีม  และการทำงานให้สำเร็จนั้น องค์ประกอบของทีมงานเป็น  สิ่งจำเป็น ได้แก่  1)  ผู้นำ  2)  เป้าหมาย  3)  คน/สมาชิก  4)  ความรู้    5)  การวางแผน/ออกแบบงาน  6)  การจัดสรร/แบ่งงาน  7)  ทรัพยากร  8)  กิจกรรม  สิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งประสบการณ์ที่เจ้าหน้าที่ได้รับ                               

          ขั้นที่ 4  การกำหนดเป้าหมายงาน  โดยใช้ AIC เข้ามาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ภายใต้การตั้งคำถามว่า  1) ท่านเห็นงานหม่อนไหมในตอนนี้เป็นเช่นไร  และ 2) ท่านต้องการเห็นงานหม่อนไหมในอนาคตเป็นเช่นไร  โดยให้ทำเป็นรายบุคคล  หลังจากนั้นให้นำมารวมเป็นกลุ่ม แล้วมีการนำเสนอ  แล้วสรุปเป็นภาพรวมของกลุ่มใหญ่ (4 กลุ่ม) ซึ่งสรุปได้ว่า  การทำงานหม่อนไหมเป็นงานที่สร้างเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนได้ ฉะนั้น การทำงานจึงควรประกอบด้วย การทำงานที่เป็นระบบ (ข้อมูลพื้นฐาน  วิเคราะห์  สรุป)  มีความต้องการของชุมชน  มีการจัดทำเป็นแนวทางและแผนการพัฒนาหม่อนไหมในการทำงาน  มีแผนพัฒนากลุ่มอาชีพ  มีแผนปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่  มีฐานกลุ่มอาชีพ  มีการสนับสนุน  และมีการติดตามประเมินผล

          ขั้นที่ 5  วิเคราะห์พื้นที่และชุมชน  โดยใช้แผนที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่เป็นกลุ่ม ภายใต้คำถามว่า  1)  ความสำเร็จของอาชีพผลิตหม่อนเลี้ยงไหมนั้นดูได้จากอะไรบ้าง?  2)  อาชีพหม่อนไหมที่ทำสำเร็จตอนนี้มีอยู่ที่ไหนบ้าง?  3)  แล้วกลุ่มที่ทำสำเร็จนั้นเขามีกระบวนการผลิตอย่างไร? ได้แก่  ผลผลิตจำนวนเท่าไหร่  จำนวนต้นทุนการผลิตเท่าไหร่?  มีรายได้เท่าไหร่?  และ ได้กำไรเท่าไหร่?  และ 4)  แล้วในแต่ละขั้นตอนการผลิตพบปัญหาอะไรบ้าง? และมีทางออกของการแก้ปัญหานั้นอย่างไร?  ซึ่งข้อสรุปที่ได้คือ  ในการทำงานส่งเสริมการผลิตหม่อนเลี้ยงไหมนั้น เจ้าหน้าที่ควรจะดูข้อมูลพื้นฐานที่เกษตรกรทำอยู่ ได้แก่  กระบวนการผลิตที่เกษตรกรทำจริง ๆ นั้นมีกี่รูปแบบ  แต่ละรูปแบบให้ผลกำไรเท่าไหร่และลงทุนเท่าไหร่  และในรูปแบบนั้น ๆ เกษตรกรพบปัญหาอะไรบ้าง?  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นองค์ความรู้ของชุมชน/กลุ่ม ที่เจ้าหน้าที่นำมาใช้เป็นฐานในการทำงานและพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรได้ โดยเนื้อหาสาระดังกล่าวที่เกษตรกรทำจะนำมาสู่ Best Practice หรือตัวอย่างของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพหม่อนไหมแล้วประสบผลสำเร็จได้                               

          ขั้นที่ 6  กลยุทธ์การทำงานส่งเสริมการเกษตรกับชุมชน  โดยใช้สื่อการเรียนการสอน (VDO) ที่มีการทำงานประสบผลสำเร็จเรื่อง  การสร้างเครือข่ายในการทำงาน  เป็นสื่อในการเรียนรู้ให้กับเจ้าหน้าที่  ซึ่งสรุปว่า  การทำงานส่งเสริมการเกษตรให้บรรลุผลสำเร็จนั้นเครือข่ายนำมาใช้เป็นวิธีการและเครื่องมือให้กับเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันได้                               

         ขั้นที่ 7  การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  โดยนำ Case Study  ของกลุ่มอาชีพหม่อนไหม มาใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ได้ฝึกปฏิบัติ ได้แก่  การรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน  การวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่ม (SWOT)  ปัญหาอุปสรรค  และแนวทางการพัฒนาที่เป็น ไปได้  หลังจากนั้น การนำเสนอการเรียนรู้ได้จัดเวทีสรุปบทเรียนเป็นเวทีการเสวนาในเนื้อหาสาระดังกล่าว  ซึ่งสรุปว่า  เจ้าหน้าที่ต่างมีคุณลักษณะของการทำหน้าที่เป็นนักส่งเสริมฯ คือ กล้าพูด  กล้าแสดงความคิดเห็น  กล้าแสดงออก  การเป็นผู้นำ  และสามารถจัดเวทีการสนทนาและพูดคุยที่ให้คนอื่นมีส่วนร่วมได้                               

          ขั้นที่ 8  เสริมความรู้ เรื่อง การเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)  โดยวิทยากรกระบวนการ เป็นผู้สรุปและเติมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่  แนวคิดหลักการ  องค์ประกอบ  และผลที่เกิดขึ้น ของ Facilitator ที่เจ้าหน้าที่ปรับเปลี่ยนบทบาทในการทำงานกับชุมชน  แล้วทำการเปรียบเทียบกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริงกับเจ้าหน้าที่ที่เรียนรู้ในครั้งนี้                        

          ขั้นที่ 9  การวิจัยชุมชน  โดยใช้สื่อการเรียนการสอน (VDO) เรื่อง  PAR  กับงานส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เห็นพัฒนาการในการเรียนรู้และการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่ได้นำวิธีการวิจัยมาพัฒนาอาชีพทางการเกษตร และเป็นการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ได้เกิดการพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันเกษตรกร 

          ขั้นที่ 10  เชื่อมโยงและประมวลสรุปข้อมูล การเรียนรู้ในครั้งนี้ได้จบบทเรียน คือ ในตอนนี้ได้มีโรงเรียนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเกิดขึ้นแล้ว โดยทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นวิชาชีพเฉพาะให้กับผู้เรียนที่มีอยู่มากมายและหลากหลายตามความต้องการของผู้รับบริการ ฉะนั้น ครูผู้สอนจึงต้องหาความต้องการของผู้เรียนก่อนว่า  นักเรียนเขาต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร บ้าง?  และ ต้องการเรียนรู้แบบไหน?เพื่อโรงเรียนแห่งนี้จะได้จัดเนื้อหาวิชา และจัดการเรียน การสอน ได้ตรงตามความต้องการของนักเรียนซึ่งเป็นผู้ใหญ่และต่างมีประสบการณ์ในเรื่อง   เหล่านี้  ได้แก่  เรื่องการผลิต  เรื่องการตลาด  เรื่องระบบน้ำ  เรื่องการแปรรูป    เรื่องโรคแมลง  เรื่องการถ่ายทอดความรู้  และ เรื่องการทำวิจัย  ส่วนเทคนิคการเรียนรู้ที่นำมาใช้นั้น ได้แก่  ใช้สื่อบุคคล    สื่อโสตทัศน์  การอภิปรายกลุ่ม  การจัดเสวนา  การระดมสมอง  การสนทนา  และอื่น ๆ  ฉะนั้นครูผู้สอนจึงต้องถามตนเองว่า...   ตัวเรานั้นมีความรู้และทำเป็นหรือยัง? ได้แก่ เรื่องขยายพันธุ์    เรื่องการผลิตไข่พันธุ์ดี  เรื่องการสาวไหม  และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการทำงานกับชุมชน ได้แก่  PAP  AIC  PAR และอื่น ๆ  ส่วนการจัดชั้นเรียนนั้นครูควรจะออกแบบการเรียนการสอนเป็น ได้แก่  การนำเข้าสู่การเรียนรู้  การเรียนการสอน   การสรุปบทเรียน  และการประเมินผลการเรียนรู้  เช่น  การรวบรวมและประมวลข้อมูลโดยใช้  Problem-Tree  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Diagram  และ อื่น ๆ เป็นต้น  ซึ่งถ้าเรารู้แต่ชาวบ้านไม่รู้และถ้าชาวบ้านรู้แต่เราไม่รู้ เราก็ทำหน้าที่เป็นผู้จัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้ แต่ถ้าทั้งเราและเขาไม่รู้เราก็ร่วมกันศึกษาวิจัยหรือค้นหาผู้รู้จริงที่ทำอาชีพนี้แล้วบรรลุผลสำเร็จมาเป็น Best Practice โดยเราทำหน้าที่และบทบาทของผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)  ในการเรียนการสอน  แต่ทั้งนี้ข้อมูลพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญที่โรงเรียนแห่งนี้ควรจะต้องมีและต้องรู้ว่า...รูปแบบการผลิตหม่อนไหมนั้นมีกี่รูปแบบ  มีอยู่ที่ไหนบ้าง และอื่น ๆ เพื่อนำมาเก็บเข้าสู่คลังความรู้เพื่อเป็น Best Practice ให้กับเราได้   ดังนั้น นักส่งเสริมการเกษตรจึงต้องเรียนรู้บทบาทหน้าที่  เครื่องมือในการทำงาน  วิธีการชวนชาวบ้านคุย และการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งจะส่งผลให้การทำหน้าที่และภารกิจขององค์กรที่เราได้รับมอบหมายมาให้บรรลุผลสำเร็จได้ 

     เรื่องราวที่เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติ  จำนวน 2 วัน ที่ได้ปฏิบัติงานกันเป็นทีมวิทยากรกระบวนการนั้น ได้เกิด ผลการปฏิบัติ  โดยพบว่า 

          1)  เจ้าหน้าที่หรือผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับ 70-80 % 

          2) เจ้าหน้าที่หรือผู้เรียนมีความต้องการเรียนรู้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในสถานการณ์จริง 

          3)  การปรับแผนการเรียนรู้หรือแผนการเรียนการสอนเกิดขึ้นอยู่ในระดับ 20-30 %  ซึ่งเป็นผลมาจากเวลา  และความแตกต่างระหว่างบุคคล  ได้แก่ ประสบการณ์  อายุ  วัยวุฒิ  คุณวุฒิ  และอื่น ๆ                                 

          4)  การจัดเวทีกลาง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในอาชีพหม่อนไหมได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิชาชีพและทำความคุ้นเคยกันนั้น  เป็นช่องทางของการพัฒนาบุคลากรที่นำประสบการณ์ของแต่ละคนมาร่วมเรียนรู้กันได้ค่อนข้างดี และทำให้มีบรรยากาศของการเรียนรู้ 

     ส่วนข้อเสนอแนะ คือ

          1)  การพัฒนาเจ้าหน้าที่ควรมีความต่อเนื่อง  

          2)  การพัฒนาเจ้าหน้าที่เมื่อเสริมความรู้ที่เป็นภาพรวมหรือพื้นฐานการทำงานแล้วนั้น ควรมีการจัดชั้นเรียนเฉพาะสาขา  และเป็นวิชาเฉพาะเรื่อง  เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จริง ๆ 

          3)  การปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทัศนคติเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีการสร้างจิตสำนึกต่ออาชีพนักส่งเสริมการเกษตรกันอย่างจริงจัง และควรปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม                           

          4)  การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่เจ้าหน้าที่ทำบาทบาทของ วิทยากรกระบวนการหรือ Facilitator นั้นพึงระลึกอยู่เสมอว่าทุกอย่างปรับเปลี่ยนแผนได้แต่อยู่ภายใต้หลักการเดิม  ฉะนั้น ผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวควรจะเปิดวิสัยทัศน์และพร้อมสำหรับการรับฟังผลการประเมินจากผู้เรียนเพื่อนำไปสู่การปรับแก้งานในครั้งต่อไป                               

          5)  การลงมือทำจริงจะทำให้เราเกิดประสบการณ์ที่สั่งสมและกลายเป็นองค์ความรู้ได้ ได้แก่  การจัดกระบวนการเรียนรู้  วิทยากรกระบวนการ  การออกแบบการเรียนการสอน  และแผนการเรียนการสอน 

     จากการทำงานชิ้นนี้ ทำให้ดิฉันได้รับประสบการณ์เพิ่มขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง คือ เทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม  ที่ได้เรียนรู้จากเจ้าหน้าที่ที่มีอาชีพเป็นนักส่งเสริมการเกษตรด้านเนื้อหาสาระที่เป็นวิชาชีพเฉพาะ  แต่ดิฉันก็มีสิ่งหนึ่งที่ไปแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ที่เข้ารับการเรียนรู้ด้วยเช่นกันก็คือการทำหน้าที่เป็น...วิทยากรกระบวนการ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมให้เขาเหล่านั้นได้เห็นและได้สัมผัสกันจริง ๆ โดยตัวของเขาเองเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับดิฉ

หมายเลขบันทึก: 61176เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
      ขอบพระคุณมากครับ ที่บันทึกความรู้มาแบ่งปัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท