​ปรัชญาของ "การใช้หลักวิทยาศาสตร์" พิจารณา แท้-เก๊ ของพระเครื่อง


ปรัชญาของ "การใช้หลักวิทยาศาสตร์" พิจารณา แท้-เก๊ ของพระเครื่อง

****************************
เพื่อความเข้าใจตรงกัน ผมจึงขอสรุปประเด็นหลักคิด แนวคิด และวิธีการในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
--------------------------------------
ก. หลักการที่สำคัญคือ การพัฒนาการของมวลสารและว้สดุต่างๆที่ใช้ในการสร้าง สอดคล้องกับอายุ และสภาพแวดล้อม ทั้งทางกายภาพ และทางสังคม

ข. วัสดุต่างๆที่ใช้สร้างทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกับยุค สมัย เทคโนโลยี ความรู้ ความสามารถของคนในแต่ละยุค แต่ละสมัย

ค. การพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลง หรือสูญหายของมวลสารต่างๆ จะเกิดทีละ 1 โมเลกุลเท่านั้น แม้เราจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จนกว่าจะเกิดเป็นก้อนหรือพื้นที่ขนาดใหญ่พอสมควร แต่เราก็ต้องจินตนาการย้อนหลังไปหาหลักการพัฒนา ทีละโมเลกุลเป็นจุดอ้างอิง

ง. หลักการจำแนก เน้นความแตกต่างระหว่างการสร้างจริง และความพยายามในการทำเลียนแบบให้ดูคล้ายคลึง ในทันที หรือย่างรวดเร็ว ที่จะต้องใช้วัสดุ เทคนิค และวิธีการที่แตกต่างจากการสร้างจริง ทำให้ปรากฏลักษณะที่สังเกตได้ อย่างชัดเจน
---------------------------------------
จากปรัชญาตั้งต้น ทั้ง 4 ข้อ ได้นำมากำหนดหลักการสำคัญเบื้องต้นคือ หลักพื้นฐาน 123 คือ

1. ดูความเก่าให้เป็น (Aging definitions) ตามหลักการรายละเอียดชี้นำ 13 ข้อ
2. สิ่งตรงกันข้ามกันจะมาอยู่ด้วยกันได้อย่างกลมกลืน (Harmony of contradictions) (เช่น ความใหม่-ความเก่า การกร่อน-การงอก ความฉ่ำ-ความนวล ฯลฯ)
3. ลักษณะพื้นฐาน 3 ประการ (คือ เหี่ยว ฉ่ำ และ นวล )จะอยู่ด้วยกันทุกจุด ทุกเนื้อในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน
-----------------------------------------------
และต่อด้วยการลงรายละเอียดของแต่ละประเภทของวัสดุ

เช่น เนื้อผง 11 หลัก เนื้อดิน 8 หลัก เนื้อชินและโลหะ หลัก 3x3 และสนิม 7 ชั้น เนื้อหิน 3 หลัก เนื้อว่าน 4 หลัก เป็นต้น
---------------------------------------
ที่จะทำให้เราสามารถแยกแยะพระที่สร้างมาแบบเดิมๆ กับที่ทำเลียนแบบออกจากกันได้โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยา นำทาง ได้โดยไม่ยากนัก เพียงอาศัยความเข้าใจ และความคุ้นเคยกับคำที่บัญญัติขึ้นและความหมายที่ต้องการสื่อ พร้อมกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่หลงทางอีกต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 611212เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2016 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2016 08:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท