Mr.Kong
นาย กิตตินันท์ อนัมบุตร

กฎหมายว่าด้วยโทรคมนาคม


กฏหมายเกี่ยวกับโทรคมนาคมในหมวด ก ข ค ง

กฏหมายหมายว่าด้วยนโยบายโทรคมนาคม 

แบ่งตามหมวด ก     

หมวด ก 

กฏบัตรสหประชาชาติกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

        หมวด 7 การกระทำเกี่ยวด้วยการคุกคามต่อสันติภาพ การล่วงละเมิดสันติภาพและการต่าง ๆ ที่รุกราน มาตรา 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจตกลงให้ใช้วิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ถึงกับต้องใช้กำลังแสนยาวุธ เพื่อให้เกิดผลสมตามข้อตกลงของตน และอาจจะกล่าวเรียกให้บรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติปฏิบัติตามวิธีการนั้น ๆ วิธีเหล่านี้อาจรรวมถึงการระงับตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดหรือบางส่วนในทางเศรษฐกิจ ทางรถไฟ ทางทะเลทางอากาศ ทางไปรษณีย์ ทางโทรเลข ทางวิทยุ และวิธีการคมนาคมอย่างอื่น ๆ และตัดสัมพันธ์ทางการทูตด้วยก็ได้ 

พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.. ๒๕๑๙ (ฉบับแก้ไขล่าสุด)                

        เป็นพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม 

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับแก้ไขล่าสุด)

               ที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายทางด้านโทรคมนาคมคือ สาระสำคัญของมาตรา ๕  ในส่วนของการอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนามาตรา ๑๘  รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไขหนึ่งเงื่อนไขใดให้คนต่างด้าวผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้(๑)  อัตราส่วนทุนกับเงินกู้ที่จะใช้ในการประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาต(๒)  จำนวนกรรมการที่เป็นคนต่างด้าวซึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาหรือที่อยู่ในราชอาณาจักร(๓)  จำนวนและระยะเวลาการดำรงไว้ซึ่งทุนขั้นต่ำภายในประเทศ(๔)  เทคโนโลยีหรือทรัพย์สิน(๕)  เงื่อนไขอื่นที่จำเป็นบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒บัญชีหนึ่งธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ(๑)  การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์บัญชีสามธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว(๑๐)  การก่อสร้าง ยกเว้น(ก)  การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีหรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป 

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔               

        เป็นกฏหมายที่ออกมาเพื่อเป็นการควบคุมดูแลกิจการโทรคมนาคมของไทย โดยมีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นผู้กำกับดูแล และใช้พระราชบัญญัติ ในการดูแลจัดสรรค์คลื่นความถี่ สาระสำคัญของตัวพระราชบัญญัตินี้ได้แบ่งผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมตามใบอนุญาตไว้ 3 แบบ คือในหมวด 1 มาตรา 7 ใบอนุญาตแบบที่หนึ่ง ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง และเป็นกิจการที่มีลักษณะสมควรให้มีการบริการได้โดยเสรี ใบอนุญาตแบบที่สอง ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่มีหรือไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์ให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลหรือเป็นการประกอบกิจการที่ไม่มีผลกระทบโดยนัยสำคัญต่อการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม หรือต่อประโยชน์สาธารณะและใบอนุญาตแบบที่สาม ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่บุคคลทั่วไปจำนวนมาก  

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘               

          พระราชกำหนดนี้ถูกร่างขึ้นมาเพื่อรองรับเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศที่เกิดขึ้น โดยสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องทางด้านโทรคมนาคมคือ                มาตรา 9 (3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักรมาตรา 11 (5)  ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลมมาตรา 13 สิ่งของหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ประกาศตามมาตรา 11 (9) หากเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร นายกรัฐมนตรีอาจประกาศให้ใช้มาตรการดังกล่าวทั่วราชอาณาจักรหรือในพื้นที่อื่นซึ่งมิได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ 

หมวด ข 

พระราชบัญญัติข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๘                  

           จุดประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อให้ทราบถึงความมุ่งหมายกำลังความสามารถ และความเคลื่อนไหว รวมทั้งวิถีทางของต่างชาติหรือองค์การก่อการร้ายที่อาจกระทำการอันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งชาติ การดำเนินการเพื่อต่อต้านการกระทำของต่างชาติหรือองค์การก่อการร้ายที่มุ่งหมายจะให้ได้ไปซึ่งความลับของชาติ หรือทำลายความมั่นคงแห่งชาติโดยการจารกรรม การบ่อนทำลาย การก่อวินาศกรรม และการก่อการร้าย                 สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่เกี่ยวกับด้านโทรคมนาคมได้แก่มาตรา 4(1)  ให้มีสำนักข่าวกรองแห่งชาติ มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกิจการการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง การข่าวกรอง ทางการสื่อสาร และการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน 

หมวด ค 

พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก พ.ศ. ๒๕๒๒ 

        จุดประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ ตามมาตรา 4 เพื่อคุ้มครองการดำเนินงานในประเทศไทยขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกซึ่งประเทศที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคม สำหรับเอเชียและแปซิฟิกได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๒๔                จุดประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ การอนุญาตให้องค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ สามารถเ­ข้ามาดำเนินงานได้ในประเทศไทย 

คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ ๕/๒๕๔๙ เรื่อง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 

               คำสั่งฉบับนี้ถูกร่างขึ้นมาเพื่อทำการตรวจสอบและป้องกันข้อมูลข่าวสารทางสารสนเทศ ไม่ให้มีผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองของคณะปฏิรูปการปกครอง 

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ ๒๑  เรื่อง ห้ามการดักฟังทางโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารใด   

                     ประกาศฉบับนี้ร่างขึ้นมาเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ให้มีการลักลอบดักฟังการสื่อสารทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นถึงกันที่มิชอบด้วยกฏหมายซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพถึงกัน 

หมวด ง               

ไม่มีกฏหมายที่เกี่ยวกับโทรคมนาคมโดยตรง

 

หมายเลขบันทึก: 61084เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีคำถาม ช่วยตอบกลับด้วยครับ

ช่วยยกตัวอย่างบริษัท ว่าได้ใบอนุญาตประเภทใด

เช่น บริษัทเครือชินคอร์ป น่าจะได้ประเภท 3

ประเภทที่1 ตัวอย่างเช่น บริษัท CS-Loxinfo, Anet ให้บริการในด้าน ADSL ครับ บริการ 1900 Calling music จะเข้าข่าย ประเภทที่1

ประเภทที่2 พอดีผมไม่มีข้อมูลตรงนี้ครับ ถ้ามีข้อมูลอย่างไรจะ post บอกอีกทีครับ

ประเภทที่3 เท่าที่ทราบก็ AIS, Hutch, Dtac, True-Move ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือครับ แล้วก็ UBC ครับ

แล้ว พวก ASTV ละ จัดอยู่ในประเภทไหนครับ ขอบคุณครับ

ปัจุบันนี้ มีการแอบอ้าง การบล็อกสัณญาญมือถึง ด้วนคาฟ ผมโดนมาแระ ชวยแก้ปัญหาให้หน่อนน่ะคาฟหรือวิธิการแก้ด้วยน่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท