ละครเวทีกับความเชื่อโชคลางของรัฐบาล


ผมอ่านข่าวประเทศไทยจากสื่อต่างประเทศเป็นหลัก เพราะพฤติกรรมหลายๆ อย่างของสื่อมวลชนไทยทำให้ผมเชื่อว่าสื่อต่างประเทศน่าเชื่อถือกว่าสื่อในประเทศครับ

แต่เรื่องนี้เป็นความเชื่อส่วนตัวนะครับ ท่านสื่อมวลชนไทยที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายขออย่าได้กังวล

วันนี้ได้อ่านข่าวเกี่ยวกับรัฐบาลไทยอีกหลายต่อหลายเรื่อง รัฐบาลไทยในสายตาต่างชาติเริ่มดูไม่ดีขึ้นเรื่อยๆ หลังจากมีนโยบายตลกๆ ออกมาติดๆ กันหลายต่อหลายเรื่อง

นี่ผมยังไม่ได้เขียนเรื่อง พรบ. จำกัดสิทธิ์ของท่าน รมต. ICT เลยนะครับ

ไหนจะเรื่องความคิดของท่าน รมต. เรื่อง ICT ที่เห็น open source ไม่ดี มีปัญหา และไม่น่าสนับสนุนอีก

เรื่อง open source นี่ท่านแสดงถึง "การขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี" เสียจนผมไม่รู้จะเริ่มเขียนถึงท่านอย่างไรดี

การไม่สนับสนุน open source นี่ทำให้เรื่องที่ท่านยกเลิกโครงการ OLPC เป็นเรื่องเล็กไปเลย

เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ว่าไม่มีวิสัยทัศน์เสียจนไม่น่าเชื่อ

ทำเอาผมวิเคราะห์วิจารณ์ไม่ถูกไปเลย เพราะมันเหลือเชื่อมากจนไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี

ผมว่าถ้ารัฐบาลนี้ไม่รีบเปลี่ยนตัว รมต. ICT ก็แสดงถึงปัญหาวิสัยทัศน์ของรัฐบาลที่น่าสงสัยเป็นยิ่ง

ช่างเถอะ มันเป็นปัญหาของเจ้าของประเทศไทยที่จะแต่งตั้งหรือจะปลดใคร เราคนไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่แล้ว

วันนี้เลยขอเรื่องเบาๆ ก่อนแล้วกัน เอาเรื่องที่ BBC News รายงานว่า รัฐบาลไทยเชื่อโชคลางจนห้ามละครเวทีของคุณสมเถาแสดงตอนทศกัณฐ์ตายบนเวทีเพราะเป็นสิ่งต้องห้ามและจะนำ "โชคร้าย" มาถึงรัฐบาล อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

ข่าวนี้ไม่ใช่ BBC News นำเสนอที่เดียว แต่ทุกหน้า "ข่าวตลก" ของหนังสือพิมพ์ต่างๆ ทั่วโลกก็นำเสนอด้วย

เป็นข่าวสอดคล้องกับข่าวการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในธรรมศาสตร์พอดี

อ้อ ข่าวประท้วงในธรรมศาสตร์ไม่ได้เกิดขึ้นจริงนะครับ

ผมทราบครับ ว่าข่าวใดๆ ในประเทศไทยจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อ "ผู้จัดการ" รายงานเท่านั้น

ขอให้เจ้าของประเทศไทยจงเจริญ 

หมายเลขบันทึก: 61076เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ธวัชชัยคะ ดิฉันว่า เราต้องอ่านแล้วกรองคำพูดของสื่อฯ หนักๆ หน่อยค่ะ การเขียนอย่างมี bias (ต่อตัวผู้ถูกพูดถึง) หรือการเขียนโดยที่ผู้เขียนขาดความรู้ความเข้าใจดีพอ ก่อให้เกิดภาพลักษณ์แย่ๆ เพิ่มขึ้นได้

ส่วนเรื่องการขอให้แก้ไขบทละครเวทีดิฉันก็งงๆ ไปกับ "ความเชื่อ" อย่างไร้เหตุผลของมนุษย์บางคนจริงๆ

สุดท้ายเรื่องการประท้วง ดิฉันเจอข่าวดังต่อไปนี้ค่ะ

ผมเองมี bias ต่อสื่อมวลชนไทยเป็นอย่างมากทีเดียวครับ ผมมองว่าสื่อมวลชนไทยเป็นของกลุ่มนายทุนที่ "ฮั้ว" กันเพื่อผลประโยชน์พวกพ้องตัวเองเป็นหลักครับ

ผมไม่รับสื่อไทยมานานแล้วครับ ผมไม่ทราบว่าสื่อมวลชนไทยเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือยัง แต่เท่าที่ "บังเอิญ" อ่านเจอหรือเปิดทีวีเจอก็ยังพบว่าเหมือนเดิมครับ

ส่วน รมต. ICT นั้น มีคนบอกผมเช่นกันว่าท่านพูดเช่นนั้นเพราะได้รับข้อมูลผิดๆ

แต่ผมไม่คิดเช่นนั้นครับ

เพราะเรื่อง open source นั้นมัน "ชัด" เหลือเกินว่ามันเป็นแนวโน้มของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในอนาคต

ผมคิดว่าคนเราถ้าเรียกตัวเองเป็น "วิศวกร" แล้วขึ้นป้ายว่าตัวเองเป็น "An IEEE Fellow" ก็ไม่น่าจะมีใครให้ข้อมูลผิดๆ ในเรื่องที่ "ชัด" ขนาดนี้ได้

เหมือนมีคนไม่หวังดีพยายามบอกนักดาราศาสตร์ว่า "โลกแบน" นั่นละครับ

ให้โน้มน้าวยังไงนักดาราศาสตร์คงไม่เชื่อ

ยกเว้นว่ามีเหตุผลอื่นแอบแฝงครับ

อาจารย์ธวัชชัยครับ แม้การผลิตรถยนต์จะมีวัตถุประสงค์ที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้า แต่ในที่สุดรถยนต์ก็ถอยหลังได้ครับ

ผมมีลางสังหรณ์เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ ว่าเราอาจจะเห็นการกลับหลังหัน ทั้งเรื่อง ของ opensource software และเรื่อง OLPC ก็ได้ (ไม่กลัว/ไม่อายที่จะคาดผิดครับ)

เรื่องพวกนี้ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆจะเกิดขึ้นเอง และไม่ได้เป็นเพราะแรงอธิษฐานแน่ๆ แต่เป็นเพราะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ย่อท้อ พยายามชี้แจงและทำอะไรอีกหลายๆอย่าง

เป็นเรื่องดีเหมือนกันที่สังคมไทยแสดงออกบ้างในทางที่สงบ ถ้าเราอยู่ในสังคมชี้นิ้ว หรือสังคมธุระไม่ใช่ สนใจและทำแต่เรื่องของตัวเอง ผมคงอกแตกตายไปแล้ว

สิ่งต่างๆในโลกนี้ เมื่อมองจากมุมต่างๆ ก็จะเห็นเป็นรูปทรงแตกต่างกันออกไป (ยกเว้นทรงกลม) ดังนั้นเมื่อเรามองคนหนึ่งคน จากมุมๆเดียว จะแน่ใจได้อย่างไรครับว่าเขาคิดอย่างไร/เป็นคนอย่างไร แม้บางเรื่องที่เราคิดว่าชัดเหลือเกิน ทำไมไม่เข้าใจนะ ก็ต้องไม่ลืมว่าคนอื่นมองจากมุมที่ต่างกับเรา

ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เห็นคล้องต้องกัน ก็จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดเสมอ ถ้าให้ลงคะแนนอะไรสักอย่างแล้วไปถามเสียงข้างมาก ผมคิดว่าเราจะแปลกใจว่าเสียงข้างมาก ก็อาจเข้าใจไม่ตรงกันทุกเรื่อง

กลับมาสู่คำถามอันใหญ่: เราตัดสินคนหนึ่งคนจากประสบการณ์หนึ่งครั้งได้จริงหรือครับ

เข้ามาคุยเรื่องสื่อค่ะ

มีประเด็นที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับอ.ค่ะ

เห็นด้วยเรื่องสถานการณ์สื่อกระแส อย่าง ผู้จัดการ และความน่าเชื่อถือของสื่อต่างประเทศในการ"รายงาน"ข่าว

แต่

  1. ไม่เห็นด้วยว่าสื่อต่างประเทศจะ"วิเคราะห์"์ข่าวถูกต้องเสมอไป เพราะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์บ้านเรามันซับซ้อนและไม่มีเหตุผล ในหลายๆสภานการณ์
  2. ไม่เห็นด้วยว่าควรเลิกรับสื่อไทย เพราะสื่อไทยที่ไม่ใช่สื่อกระแสก็มีให้อ่านกันอยู่ อีกทั้ง blog ส่วนตัวต่างๆ ที่มีบทความวิเคราะห์ดีๆ และ ตรงไปตรงมา
  3. ไม่เห็นด้วยว่าสื่อที่ดี ต้องไม่มี bias  มัทว่าสื่อไหนก็มี จุดยืนของเค้า หรืออย่างน้อยก็มี preconception ของเค้าในการรายงานและวิเคาระห์ข่าว  ทางทีดี มารับข่าวจากหลายๆแหล่ง หลายๆมุมมองดีกว่าค่ะ มัทอยู่ไกลบ้าน ก็ได้อ่านทั้งผู้จัดการ, The Nation, Openonline, ประชาไท, และ BBC ได้ดู CBC และ ฟัง NPR 

ถ้าอาจารย์มัทนาอยู่เมืองไทย โดยเฉพาะบางจังหวัดของประเทศไทย สื่อจะเหลืออยู่อย่างเดียวคือ "ผู้จัดการ" ครับ

ที่น่าสนใจคือเวลามีรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" ออกอากาศ ประชาชนจะตั้งตาดูและหลังจากนั้นจะมีอาการหึกเหิมเหมือนถูกปลุกระดมหรือสะกดจิตหมู่ เรียกว่าถ้า "ทักษิณ" หรือ "หม่อมอุ๋ย" หรือใครต่อใครที่ "สนธิ ลิ้ม" ไม่ชอบเดินผ่านมารับประกันว่ามีคนวิ่งไปแทงทันที

สำหรับคนเหล่านี้ ใครไม่เห็นด้วยกับ "สนธิ ลิ้ม" คือคนไม่รักประเทศไทย

แค่คิดจะวิเคราะห์ความคิดของ "สนธิ ลิ้ม" ก็ผิดแล้วครับ

นี่เป็นความสำเร็จของ "สนธิ ลิ้ม" แต่เป็นความอันตรายของประเทศไทย เพราะจะมีคนกลุ่มหนึ่งปิดหูปิดตาไม่ยอมรับข่าวจากแหล่งอื่นเลย

ผมเชื่อว่าสื่อไทยจะพัฒนาได้ก็ต่อเมื่อมีความหลากหลายกว่านี้ มีการ check and balance ครับ

ผมเองส่งเสริม blog ต่างๆ ที่มีบทความวิเคราะห์ดีๆ และตรงไปตรงมาครับ ผมเองอ่าน blog เหล่านี้เป็นประจำครับ

เมื่อไหร่ blog เหล่านี้มีจำนวนมากๆ และผู้คนสามารถเข้าถึง blog เหล่านี้ได้ง่ายขึ้น สถานการณ์สื่อมวลชนในประเทศไทยคงดีกว่านี้ครับ

ที่จริงแล้วผมอยากทำ portal ที่ aggregate blog ดีๆ เหล่านี้ให้เป็นหนังสือพิมพ์ online ขึ้นมา เผื่อจะเป็น portal ให้คนได้ไปอ่าน แข่งกับ Manager Online

ผมพยายามทำซอฟต์แวร์มาแล้วชื่อ PlanetMatter (ดูตัวอย่างการทำงานของ PlanetMatter ได้ที่ ThaiMatter.org) แต่ผมก็ไม่ได้มีโอกาสพัฒนาต่อเนื่องให้ PlanetMatter มี features อย่างที่ตั้งใจไว้ครับ

ขออนุญาตคุยต่อเรื่อง bias ของสื่อค่ะ ถ้า bias นั้น เป็น bias ที่มีคุณค่า ทำให้คนอ่านมองสิ่งต่างๆ ได้รอบด้านมากขึ้น bias ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเสมอมา ในการเขียน article ต่างๆ จำได้ว่า ตอนที่เรียนวิชาเลือก เป็นวิชาหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ (ไม่มีเพื่อนในคณะไปเรียนด้วยเลย เรียนข้ามคณะเปล่าเปลี่ยวเอกามากๆ) อาจารย์ฝรั่ง (จำชื่อไม่ได้แล้ว) ท่านนั้น สอนคำแรกคือ bias จากนั้นสอนวิธีการอ่านแบบ scan และ skim ในครั้งถัดมา จึงค่อยเรียนเกี่ยวกับการเรียงลำดับหน้าหนังสือพิมพ์ ฯลฯ

แต่สื่อเดี๋ยวนี้ สามารถเปลี่ยน bias เป็น ลัทธิ ค่ะ ใครไม่เชื่อตามลัทธิของศาสดา มันต้องฆ่ากันให้ตายจาก เห็นแล้วน่ากลัวมากๆ ทางสายกลางไม่มีอีกต่อไป ถ้าเขาพูดมา แล้วเราพูดแย้ง (แต่ไม่ได้จะไปเข้าข้างฝั่งตรงข้ามเขานะคะ) เขาก็ถือว่า เราไม่ใช่พวก ก็ต้องกำจัดเรา (ในฐานะที่ไม่ฟังเขา) ให้สิ้นซากไป

น่ากลัวค่ะ     

ผมเห็นด้วยเรื่อง bias เป็นสิ่งที่จำเป็นครับ

ที่จริงแล้วสาเหตุหนึ่งที่ blog ดังขึ้นในฐานะ grassroots journalism เพราะการได้ bias กันเต็มที่นี่ละครับ เนื่องจาก mainstream journalism เขาต้องพยายาม balance opinions อ่านแล้วเลยไม่ลึกซึ้งเท่า blog ที่มี firmed opinions

พวกอเมริกันเขาเลือกอ่านได้ระหว่าง blog ที่ชอบ Bush กับ blog ที่ไม่ชอบ Bush แต่ที่ชอบใจคือ blog ทั้งสองประเภทประกาศตัวชัดเจนว่าอยู่ฝ่ายไหน

เราอ่าน blog หลายๆ พวกก็สามารถวิเคราะห์มาเป็นความคิดของเราเองได้ ผมอยากเห็นอย่างนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยครับ

ทำอย่างไรให้คนไทยมีสื่อที่นำเสนอทางเลือกทางความคิดที่หลากหลาย นี่เป็นโจทย์ที่น่าสนใจมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท