กฎหมายกับโทรคมนาคม


กฎหมายที่เกี่ยวกับงานโทรคมนาคม

กฎหมายในหมวด ผ พ ฟ ภ ม ที่เกี่ยวข้องกับกับโทรคมนาคม

หมวด ผ

พระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี .. ๒๕๐๕ เกี่ยวข้องโดยรัฐเข้ามาทำการควบคุม เป็นกฎหมายที่เข้ามาควบคุมในรูปแบบกฎหมายและนโยบายที่เข้ามาเพื่อควบคุมบุคคลในสาขาวิชาชีพบัญชี มีความมุ่งหมายให้เกิดความเป็นมาตรฐานเพราะการสอบบัญชีเป็นวิชาชีพอิสระที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งในอดีตยังไม่มีกฎหมายควบคุมการสอบบัญชี อีกทั้งรัฐเองยังตระหนักว่าในปี .. ๒๕๐๕ นั้นได้มีผู้สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีจากมหาวิทยาลัยและสำนักศึกษาต่างๆ มากขึ้น จึงได้ตรากฎหมายกำหนดคุณสมบัติและพื้นความรู้ของผู้สอบบัญชีให้อยู่ในมาตรฐาน ให้มีคณะกรรมการควบคุมให้เป็นไปตามความมุ่งหมายดังกล่าว

หมวด  

พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติม  พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๔๖     เกี่ยวข้องโดยการที่รัฐเข้ามาควบคุม โดยกฎหมายนโยบายซึ่งก็ได้ควบคุมเอกชนด้วย เพื่อควบคุมทรัพย์สินโดยมีความมุ่งหมายในการตอบสนองการบริหารด้านการคลังของรัฐในส่วนรายได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงกำหนดให้บริการบางประเภทที่ไม่มีความจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องเสียภาษีสรรพสามิตด้วย ทำให้จำเป็นต้องขยายการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับการประกอบกิจการด้านบริการโทรคมนาคมใน ตอนที่ ๑๒ ซึ่งได้รวมเอากิจการที่ได้รับอนุญาต หรือสัมปทานจากรัฐลักษณะบริการ  กิจการที่ได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐหมายความว่า การประกอบกิจการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป โดยได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐให้ดำเนินกิจการได้กิจการโทรคมนาคมอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ถึงร้อยละ ๕๐ ด้วย  ( ในปัจจุบันนี้หากมองในทางเทคโนโลยีกับสังคมนั้นแล้วนั้นพบว่าการสื่อสารนั้นกลับยิ่งจะจำเป็นต่อการครองชีพในยุคนี้แล้ว ? เพราะช่วยลดเวลาในการเดินทางอีกทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานน้ำมันอีกด้วย รัฐเองก็ยังตระหนักว่าการสื่อสารนั้นทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ และยังทำให้มีการแลกเปลี่ยนในสิ่งอื่นๆ การค้า-ธุรกิจ-การศึกษา ? ก็ยัง งง? อยู่ว่าอาจจะมีความขัดแย้งในเงื่อนไขของตัวกฎหมายเองกับความเป็นจริงในปัจจุบันอยู่บ้าง)  

พระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.. ๒๕๓๔ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยรัฐเข้ามาให้การส่งเสริม ซึ่งออกกฎหมายและนโยบายสนับสนุนเพื่อให้มีการควบคุมการจัดการ ซึ่งกฎหมายนี้ยังได้ตั้งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเพื่อให้เป็นตัวกลางในการจัดการและส่งเสริมรวมไปถึงการควบคุมทุนทรัพย์สำหรับกิจการนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ของทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้เกื้อหนุนการพัฒนาประเทศ(ซึ่งในกฎหมายนี้ก็อาจมีความเกี่ยวข้องอยู่ในภาพกว้างๆ) 

พระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๐ เกี่ยวข้องโดยรัฐออกกฎหมายเพื่อมาควบคุมระบบมาตรวิทยาของประเทศไทย มีนโยบายควบคุมภาคเอกชนด้วยในเรื่องของการเข้าควบคุมการจัดการเรื่องการวัด การตรวจสอบ การทดสอบ การสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้มีหน่วยงานที่มีลักษณะการบริหารงานเป็นอิสระมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของประเทศ และมีการกำกับดูแลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีกองทุนซึ่งประกอบด้วยทุนจากภาครัฐและแหล่งทุนอื่นๆ เป็นทุนในการดำเนินงาน ( เกี่ยวกับโทรคมในเรื่องหน่วยการวัดคุณภาพต่างๆ )

หมวด  ฟ (ไม่มีที่เกี่ยวข้องกับ ICT.)

หมวด  

พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.. ๒๕๐๘ หมวด ๑ มาตรา ๖เจ้าของที่ดิน หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและรองรับเกี่ยวข้องโดยนโยบายจัดเก็บภาษีจากภาครัฐ เพื่อนำภาษีเป็นงบในการจัดการทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด (เกี่ยวกับการโทรคมในเรื่องการวางแผนค่าใช้จ่ายในการสร้าง SITE งานในเขตท้องที่)

พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อควมคุมป้าย มีความสัมพันธ์ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้จากภาษีป้ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อควบคุมการจัดการทางภาษีของหน่วยงานของรัฐและเอกชน (เกี่ยวกับโทรคมนาคม ในเรื่องของการโฆษณาผ่านป้ายและสารสนเทศผ่านป้ายโฆษณา)

พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช ๒๔๗๕ (เกี่ยวข้องไม่มากนักคล้ายๆ พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.. ๒๕๐๘ แต่มีเพิ่มตรงที่กรณีที่รัฐวิสาหกิจใดที่ค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการสาธารณูปโภค หรือสาธารณูปการตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ก็ให้ค่าภาษีที่ค้างชำระนั้นเป็นอันพับไป )

พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.. ๒๕๒๗ พ.. ๒๕๔๖  เป็นกฎหมายที่ออกมาควบคุมภาษีสรรพสามิตเพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการด้านบริการบางประเภทต้องเสียภาษีสรรพสามิต ซึ่งลักษณะของการประกอบกิจการไม่อาจกำหนดสถานบริการได้แน่นอน เป็นกฎหมายนโยบายเพื่อออกมาควบคุมทรัพย์สินของประเทศเพื่อที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ

หมวด  

พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.. ๒๕๑๑ เป็นกฎหมายที่รัฐออกมาควบคุม ซึ่งบังคุบใช้ทั้งภาครัฐเองและภาคเอกชนในเรื่องของการจัดการของการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัย หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชน หรือแก่กิจการอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจของประเทศ จะกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดใดต้องเป็นไปตามมาตรฐานก็ได้ (เกี่ยวข้องกับการโทรคมในเรื่องของมาตรฐานต่างๆ ของอุปกรณ์ที่จะต้องนำเข้ามา เช่นค่า SAR ของตัวเครื่องของโทรศัพท์เป็นต้น)

พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัดพ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นกฎหมายที่รัฐออกมาควบคุมและส่งเสริมและรับรอง เพื่อบังคับใช้  การจัดการทางการวัด (เกี่ยวกับโทรคมในเชิงการวัดวิศวกรรม)

อัปเดทข้อมูลครับ

ปัจจุบัน พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติม  พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔) พ.. ๒๕๔๖ ในเรื่องของกิจการโทรคมได้ถูกยกเลิกไปแล้วนะครับ ซึ่งเมื่อเราวิเคราะห์ดูเหตุผลในการออกกฎหมายนั้น เราก็รู้คำตอบอยู่ในใจแล้วว่าเป็นการออกมาเพื่อทำให้รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งอ่อนแอนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 61071เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับผม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท