KM_class


KM

คลื่นความคิดสร้างสรรค์ลูกใหม่จากไอบีเอ็มที่จะนำทรัพยากรบุคคลขององค์กร เข้าสู่ความเป็นหนึ่ง

มร.จีออฟ บลังโค รองประธานฝ่ายวิจัยด้าน KM/EDMS แห่ง Doculabs ได้กล่าวไว้ว่า โลตัสกำหนดแนวทางที่จะเข้าไปช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ประสบความสำเร็จในการจัดการด้านความรู้ไว้เป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งโลตัสเองได้วางความสำคัญของธุรกิจ KM ไว้อันดับต้น ๆ และยังเดินหน้าต่อไปในการพัฒนาสินค้าพร้อมเร่งทำให้ลูกค้าตระหนักถึงความสำคัญในการลงทุนด้านการจัดการความรู้ ทั้งนี้ โลตัสได้จัดอันดับตัวเองว่าเป็นผู้นำในตลาดการจัดการความรู้

สอดรับกับกระแสการเติบโตที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในสหรัฐอเมริกามีการสำรวจพบว่าประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารระดับสูงในบริษัทชั้นนำกว่า 300 แห่ง ต่างลงความเห็นว่าระบบโนว์เลดจ์ เมเนจเมนต์ หรือระบบการจัดการความรู้ มีความสำคัญสูง

กลับด้านบน

การจัดการความรู้ คืออะไร?

การจัดการภูมิปัญญานั้นเป็นมากกว่าเรื่องของเทคโนโลยีหรือเรื่องของคอมพิวเตอร์ ถ้าเรายอมรับหลักที่ว่าการจัดการภูมิปัญญานั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดในการค้นหาและสร้าง กระจาย และใช้ประโยชน์จากความรู้และประสบการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยที่ในบางครั้งเราอาจจะรับรู้หรือไม่ก็ตาม การจัดการภูมิปัญญาก็ยังคงมีผลกระทบอย่างลึก ๆ ต่อการตัดสินใจและการกระทำ การจัดการภูมิปัญญานั้นเป็นเรื่องที่ต้องนำวัฒนธรรม, กระบวนการ, และเทคโนโลยี มาพิจารณาร่วมกันดังนั้นเราจึงอาจจะสรุปได้สั้น ๆ ว่าการจัดการภูมิปัญญานั้นน่าจะหมายถึง ศิลป์ในการสร้างคุณค่าจากทุนทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ ขอองค์กร ซึ่งรวมถึงการเก็บเกี่ยว, จัดการ, แชร์, และวิเคราะห์ความรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

กลับด้านบน

ทำไมต้อง Knowledge Management ? 

ในอดีตนั้นระบบเศรษฐกิจในโลกของเราอาจแบ่งได้เป็นสามยุคตามวิวัฒนาการในการผลิต โดยในสังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่การผลิตยังต้องพึ่งที่ดินและแรงงาน จึงทำให้ในยุคนั้นเป็นยุคของการจับจองเป็นเจ้าของที่ดินและการมีบริวาร ต่อมาในสังคมอุตสาหกรรมซึ่งอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือหรือเครื่องจักรกลในการผลิต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ทำให้ยุคของสังคมอุตสาหกรรมกลายเป็นยุคของนายทุน ในปัจจุบันสังคมของเราเคลื่อนเข้าสู่ยุคของการค้นหาความคิดใหม่ ๆ และการประมวลผลข้อมูลข่าวสารในกระบวนการการผลิต จึงส่งผลให้ความรู้ ความสามารถและความชำนาญกลายเป็นสิ่งมีค่าที่สุดสำหรับการดำเนินการขององค์กรต่าง ๆ ทำให้ยุคนี้คือยุคของทุนทรัพย์ทางปัญญา และสิ่งนี้เองก็คือเหตุผลว่าทำไมองค์กรต่าง ๆ ต้องหันมาสนใจกับการจัดการด้านความรู้

กลับด้านบน

เศรษฐกิจเชิงความรู้

เศรษฐกิจเชิงความรู้คือเศรษฐกิจที่มีแรงผลักดันมาจากความรู้ความชำนาญซึ่งทำให้เกิดความมั่งคั่ง สำหรับเรื่องของเศรษฐกิจเชิงความรู้ระดับประเทศ การที่จะลงทุนเทคโนโลยีในยุคข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันได้นั้นประเทศจะต้องมีทุนที่เป็นความรู้ความสามารถรวมถึงความชำนิชำนาญที่เพียงพอ ซึ่งแตกต่างจากในยุคก่อน ๆ เช่นยุคอุตสาหกรรมที่เครื่องจักรที่แทนแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้กับระบบเศรษฐกิจ ถ้าเรามองย่อยลงมาในระดับองค์กรนั้นควารู้ยังสามารถช่วยให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายลงได้ในขบวนการผลิต หรือแม้กระทั่งเพิ่มคุณค่าใช้จ่ายลงได้ในขบวนการผลิต หรือแม้กระทั่งเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลผลิต เช่น ในอดีตที่มีการเปลี่ยนเอาอลูมิเนียมมาใช้ในการผลิตกระป๋องน้ำอัดลมแทนเหล็ก ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงทนมากขึ้นและยังมีน้ำหนักทีเบากว่ามาก

กลับด้านบน

พนักงานกับความรู้

วัตถุประสงค์โดยพื้นฐานของการมีพนักงานความรู้นั้น คือการบรรลุถึงประโยชน์สูงสุดของเทคโนโลยีสารสนเทศในความสามารถในการประมวลผลข้อมูลข่าวสาร และความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ของพนักงาน ความเข้าใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พนักงาน ความรู้เหล่านั้นสามารถกำหนดออกมาเป็นขั้นตอนเพื่อให้คนเหล่านั้นใช้เวลาและความพยายามในกิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มที่สำคัญกว่านั้น พวกเขาควรมีอำนาจในการตัดสินใจว่าวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดขององค์กรนั้นเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอหรือไม่ นอกจากนี้แล้วพนักงานความรู้ควรที่จะต้องเข้าใจธุรกิจโดยรวมขององค์กรและหน้าที่หรืองานที่พวกเขาทำอยู่ที่ตรงส่วนใด เพราะว่าความเข้าใจในงานเท่านั้นที่จะทำให้พวกเขาประยุกต์วิธีปฏิบัติทีดีที่สุดขององค์กรเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริง

กลับด้านบน

ค้นหาความรู้ในตัวคุณ

หลักไมล์บนหนทางที่รออยู่ข้างหน้าสำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาความรู้ในตัวเองจะต้องผ่านไปก่อนที่จะถึงจุดหมายนั้นในขั้นแรกเราจะต้องรู้ว่าเรากำลังต้องการค้นหาอะไร จากนั้นเราต้องกรองอุปสรรคหรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่จำเป็นออกไป แล้วก็สุดท้ายเราก็จะพยายามหาทางค้นหาทุนทรัพย์ความรู้นั้น เมื่อเราผ่านหลักไมล์ทั้งสามแล้ว สิ่งทีเหลืออยู่ที่จุดหมายปลายทางก็คือความรู้ที่คุณค้นหานั่นเอง

กลับด้านบน

ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้

โดยปกติแล้วข้อมูล ข่าวสาร และความรู้มีความใกล้ชิดกันอย่างมาก แต่อันที่จริงแล้วทั้งสามสิ่งก็ยังมีข้อที่แตกต่างกันโดยคำว่า "ข้อมูล" (Data) นั้นหมายถึงเนื้อความของข้อเท็จจริงที่ได้รับการรวบรวมเก็บไว้โดยไม่ได้คำนึงถึงสาระที่เกิดจากข้อมูลเหล่านั้น เมื่อข้อมูลหลาย ๆ อันประกอบกันเพื่ออธิบายเรื่อง ๆ เดียวกันสิ่งนี้ทำให้เกิดคำว่า "ข่าวสารหรือสารสนเทศ" (Information) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีความหมายในเชิงเนื้อหาสาระสำหรับผู้รับ ส่วนคำว่า "ความรู้" (Knowledge) คืออะไร คำตอบก็คือ ความรู้คือสิ่งที่รู้ไม่ว่าจะเกิดจากการเรียนรู้หรือจากประสบการณ์ที่สะสมมา ทั้งนี้ความรู้เกิดขึ้นมาจากวิธีการทางตรรกหรือการวินิจฉัยจากความรู้เดิมและประสบการณ์ ถ้าเรากล่าวว่าสารสนเทศคือข้อมูลบวกกับความหมายแล้วละก็ ดังนั้นภูมิปัญญาก็คือ สารสนเทศบวกกับการประมวลผลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ หรือความสามารถที่จะคิดหาทางออกหรือการแก้ปัญหาโดยการเปรียบเทียบกับสารสนเทศที่มีอยู่

กลับด้านบน

ความรู้...จากส่วนตัวเป็นขององค์กร

โลตัสแบ่งความรู้ของคนเราไว้เป็นสามประเภทคือ ความรู้โดยนัย หรือ Tacit Knowledge ซึ่งก็คือความรู้ที่ไม่สามารถแสดงออกมาให้จับต้องได้ เช่น ความรู้ที่อยู่ในหัวสมองเราความรู้ประเภทที่สองคือความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือ Explicit Knowledge ซึ่งก็เป็นความรู้ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงลงมาเป็นเอกสารหรืออื่น ๆ ที่สามารถจับต้องได้ และส่วนที่สามคือความรู้ที่ฝั่งอยู่ในองค์กร หรือ Embedded Knowledge ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ชัดเจนในกระบวนการ สินค้า และบริการ ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร องค์กรต่าง ๆ อยู่ได้ เพราะความรู้ ดังนั้นองค์กรจึงต้องสนับสนุนพนักงานในการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญจากนั้นก็ต้องพยายามที่จะนำความรู้ตรงนั้นให้กลายมาเป็นความรู้ขององค์กรเพื่อไว้สำหรับพนักงานคนอื่น ๆ ซึ่งก็จะทำให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีความรู้ที่สูญเสียตามพนักงานคนใดคนหนึ่งที่ออกจากองค์กรไป

กลับด้านบน

การจัดการด้านความรู้ตามแบบของโลตัสคืออะไร ?

โลตัสให้คำนิยามของโนว์เลดจ์ เมเนจเมนท์ว่า เป็นขบวนการที่สร้างเสริมระบบการทำงานประสานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม โดยการนำข้อมูลข่าวสารและความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งความชำนาญในแต่ละบุคคลมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะก่อให้เกิดผลบริบูรณ์ทางธุรกิจและสามารถแข่งขันในตลาดได้ ทั้งนี้การบริหารและการจัดการด้านความรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่ที่ว่าองค์กรนั้น ๆ สามารถรู้ว่ามีอะไรบ้างที่พวกเขารู้ และนำสิ่งที่รู้มาทกให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

กลับด้านบน

โลตัส กับ การจัดการด้านความรู้

โลตัส เป็นผู้นำตลาดทางด้านการจัดการด้านความรู้ โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง โดยเป็นผู้เดียวที่สามารถนำเสนอโซลูชั่นการจัดการด้านความรู้ให้กับลูกค้าได้ ณ วันนี้ ผลิตภัณฑ์ และบริการของโลตัส เป็นแกนหลักที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนข้อมูล (Data), ข่าวสาร (Information) ให้กลายเป็นความรู้ (Knowledge) ซึ่งโลตัสกำลังช่วยให้ลูกค้าทำการสร้าง และพัฒนาทรัพย์สินทางความรู้เพื่อให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และก่อให้เกิดผลบริบูรณ์ทางธุรกิจและนวัตกรรม

กลับด้านบน

การจัดการด้านความรู้คือส่วนผสมระหว่าง People / Places / Things

ในมุมมองของโลตัสเชื่อว่า องค์ประกอบสำคัญของการบริหารและจัดการความรู้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้

People หมายถึง บุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักประพนธ์ เพื่อนร่วมงาน ผู้เชี่ยวชาญ ลูกค้า เพื่อน หรืออื่น ๆ หรือแม้แต่ผู้ที่กำลังสนทนา กำลังแลกเปลี่ยนและเชื่อมต่อข้อมูลอยู่บนออนไลน์ หรือบนอิเล็กทรอนิกส์เมล์ ระหว่างการประชุมผ่านวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ และการใช้งานบนคอร์ปอเรต เยลโล่ เพจเป็นต้น ซึ่งโลตัสมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับการทำงานตรงนี้ คือ Sametime และ ExpertNetwork

Places หมายถึง สถานที่ซึ่งมีการถ่ายทอดและร่วมกันใช้ข้อมูลความรู้ ไม่ว่าจะด้วยการตั้งคำถามหรือการแสดงความคิดเห็น เช่น การประชุมบนเครือข่าย (Online Meeting) และบนระบบการทำงานประสานร่วมกัน (Collaborative) โดย Places จะเป็นที่ซึ่ง People สามารถทำงานประสานร่วมกันได้ สามารถแชร์ความคิดเห็น สามารถตั้งคำถามและหาคำตอบ โดยโลตัสมีผลิตภัณฑ์ที่รองรับส่วนนี้ได้ คือ Domino R5 quickPlace และ LearningSpace

Things หมายถึง เนื้อหา ความรู้ ภูมิปัญญา หรือ ข่าวสาร ทั้งที่เป็นโครงสร้างสำเร็จ (Structured Content) และที่ยังไม่เป็นโครงสร้างสำเร็จ (Unstructured content) รวมถึงสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นและได้รับมา หรือจากการแยกแยะ การแชร์ข้อมูล จากการสืบค้นหา จากโปรแกรมครอว์เรอร์ จากเอเย่นต์ และจากโปรแกรมไมนิ่ง ซึ่งโลตัสมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับการทำงานตรงนี้ คือ Note Headlines, Domino Catalog, Extended Search, Domino.Doc, และ Domino Workflow

กลับด้านบน

สมุดหน้าเหลืองสำหรับบริษัท

โดยปกติแล้วถ้าคุณต้องการติดต่อกับที่ใดที่หนึ่งโดยที่คุณไม่ทราบหมายเลขติดต่อ คุณคงนึกถึงสมุดหน้าเหลืองเป็นสิ่งแรก เช่นเดียวกัน ด้วยแนวคิดเช่นนี้ในองค์กร เมื่อต้องการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คงจะดีไม่น้อยที่เราจะสามารถรับรู้ได้ว่าใครเป็นใคร มีความสามารถอย่างไร ซึ่งระบบสมุดหน้าเหลืองขององค์กรจะเป็นการออกแบบระบบเอกสารที่จะมาช่วยจัดการในเรื่องนี้ได้โดยจะเก็บบันทึกว่าใครมีความสามารถอะไร และสามารถทำได้ผ่านทางอินทราเน็ตขององค์กร หรือ จากฐานข้อมูล และโลตัสเองก็มีผลิตภัณฑ์ที่จะมารองรับระบบประเภทนี้อย่างเช่น Domino.Doc เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากในส่วนของ Knowledge Discovery

กลับด้านบน

"ภูมิปัญญา" ทุนทรัพย์ที่จะนำองค์กรสู่ความสำเร็จ

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://micro.se-ed.com/content/mc196/MC196_112.asp
คำสำคัญ (Tags): #km_class
หมายเลขบันทึก: 60994เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท