พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2542 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับพัฒนาการ ของสังคม ตั้งแต่ยุคที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (พ.ศ.2511) จนถึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ.2517) และเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ.2537) รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมให้สังคมได้รับผลประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์ ทั้งในด้านการปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น การจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม

นอกจากนี้ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามยังทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนและจัดกิจกรรมสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคคลทั่วไป ภายในพื้นที่โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 8 ส่วน ดังนี้

1. เรือนอีสานประยุกต์หลังใหญ่ ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมย่อย ห้องรับรอง คลังพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2. เรือนอีสานประยุกต์หลังเล็ก ประกอบด้วยนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน

3. เรือนโข่ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมืองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

4. เรือเกย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5. เล้าข้าว ตูบต่อเล้า จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตชาวลุ่มแม่น้ำชี

6. เรือนผู้ไท จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัชาวลุ่มแม่น้ำชี

7. ลานกิจกรรม เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง

8. สถานีศึกษาสัตว์



คำสำคัญ (Tags): #.
หมายเลขบันทึก: 608820เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2016 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2016 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในมุมมองของนิสิต สถานที่ตรงนี้ มีประโยชน์อย่างไร และใครได้ใช้ประโยชน์บ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท