อโรคยาศาล ณ สารคาม


เมื่อประมาณวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปศึกษาเกี่ยวกับอโรคยาศาล ซึ่งที่จังหวัดมหาสารคามของเราก็มีอโรคยาศาลเช่นกัน คือ ปรางค์กู่ บ้านเขวา จังหวัดมหาสารคาม หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าอโรคยาศาลคืออะไร ดังนั้นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับอโรคยาศาลกันเลยค่ะ

อโรคยาศาลนั้นเป็นโบราณสถานที่ปรากฏให้อนุชนรุ่นหลังได้พบเห็นและศึกษาวัฒนธรรมและอารยธรรมอันเคยรุ่งเรืองในอดีต ได้เข้าใจความเป็นมาของมนุษย์ในแถบภูมิภาคแห่งนี้ โดยอโรคยาศาลได้ปรากฏให้เห็นขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เช่นเดียวกับธรรมศาลาเพื่อใช้เป็นสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นตามรายทางโบราณของอาณาจักรขอมสมัยพระนคร ซึ่งเชื่อมกับปราสาทนครธม และปราสาทหินอื่นๆ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงโปรดให้สร้างอโรคยาศาลขึ้นจำนวน ๑๐๒ แห่งตามหัวเมืองสำคัญทั่วราชอาณาจักร ที่ได้แผ่พระราชอำนาจไปถึงและทรงโปรดให้สร้างเป็นปราสาทหินเอาไว้ ในบริเวณประเทศไทยได้พบอโรคยาศาลแล้วอย่างน้อย ๒๐ แห่ง กระจายอยู่ทั่วไป โดยหนาแน่นมากในเขตอีสานใต้ แต่ถึงจะเป็นเขตอีสานตอนบนอย่างจังหวัดมหาสารคามก็มีอโรคยาศาลเช่นกันค่ะ

สำหรับวัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง เมื่อพิจารณาจากจารึกแล้วจึงพบว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เป็นโรงพยาบาลสำหรับรักษาผู้ที่เจ็บป่วย เช่นเดียวกับธรรมศาลาซึ่งเป็นศาสนสถานที่ทรงโปรดให้สร้างขึ้นด้วยวัตถประสงค์เดียวกัน คือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนว่าถูกสร้างด้วยวัตถุประสงค์นี้คือจารึกที่ระบุถึงวัตถุประสงค์การก่อสร้างซึ่งปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ จารึกในปราสาทตาพรหมและจารึกอโรคยาศาลา ปัจจุบันจารึกหลักที่ค้นพบจากปราสาทตาเหมือนโต๊ดนี้ได้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

โดยแผนผังภายในของอโรคยาศาลเป็นดังนี้


แบบจำลองอโรคยาศาลที่ตั้งอยู่ในห้องนิทรรศการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ปราสาทที่ตั้งอยู่ตรงกลางเรียกว่า ปราสาทประธาน


เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปสำรวจข้างในปราสาทประธาน ได้พบรูปปั้นโบราณและแท่นเล็กๆสำหรับกราบไหว้บูชา จะเห็นได้ว่าตรงมุมด้านซ้ายสุดของรูปเป็นหินโบราณที่ต่อกัน ตรงนั้นคือบรรณาลัยค่ะ

มาดูบริเวณภายในของบรรณาลัยกันค่ะ


ข้าพเจ้าหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจนะคะ



หมายเลขบันทึก: 608722เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2016 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2016 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลงพื้นที่จริง

เห็นจริง

เล่าจริง

นี่คือสิ่งที่ชื่นชม

และการได้เรียนรู้เช่นนี้ก็เกี่ยวโยงกับวิชาชีพตนเอง

ยิ่งน่าดีใจด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท