แนวทางการทำ 5ส


5 ส ก็ไม่ได้อยู่ที่ป้ายไม่ได้อยู่ที่ปาก

ผักชีไม่มีทางกลายเป็นไม้ยืนต้น เพราะมันคนละพันธุ์กัน และ 5 ส ก็ไม่ได้อยู่ที่ป้ายไม่ได้อยู่ที่ปาก

แต่อยู่ที่ใจของเจ้าหน้าที่ทุกคนและแสดงออกด้วยการกระทำที่เกิดผลงานอย่างมีคุณภาพ

คนที่รู้ดีที่สุดว่าเราได้ถึง 5 ส สร้างนิสัยหรือไม่ก็คือตัวเราเองโดย 3ส แรกจะได้สิ่งของแต่ 2ส หลัง

จะได้คน ถ้ามองตามแนวทางบริหารจะพบว่า 3ส แรกเป็นวิธีการMeanส่วน 2ส หลังเป็นเป้าหมายEnd

5ส แบ่งเป็น 3 ระยะตามแบบอ.ฉิราโน่

ระยะแรก เป็นแบบ 5ส ภาคบังคับทำที่ทำงานให้เป็นระเบียบให้เจริญหูเจริญตา

ระยะที่สอง เป็นระยะของการสร้างนิสัยทำให้เป็นระเบียบโดยอัตโนมัติเป็นลักษณะเกิดวินัยในตัวเอง

ระยะที่สาม เป็นระยะที่จะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงขึ้นโดยการบอกให้หาที่มา ต้นตอของการไม่เป็นระเบียบ

สกปรก ไม่สะดวก ความผิดพลาดต่างๆแล้วคิดหาวิธีการใหม่ หรือนวตกรรมเพื่อขจัดต้นตอ วึ่งไคเซนจะช่วยได้มาก

การทำ 5ส ตามแนวทางนี้จะเป็นพื้นฐานจริงๆเพราะถ้ายังทำ 5ส ได้ไม่ดีแล้ว การก้าวไปสู่เครื่องมืออื่นๆที่สูงขึ้น

จะไปแบบลุ่มๆดอนๆ องค์กรใหญ่จึงทำ 5ส ได้แค่ระยะแรกเท่านั้น มักเกิดจาก approach 5ส ผิดทาง

โดยทำ 5ส แยกกับงานประจำ แล้วก็หาคนไปบอกไม่ได้ว่าควรมองอย่างไร ทำอย่างไร ขาดการประเมินที่ดี ตลอดจนขาดทิศทาง

ในการพัฒนาองค์กร ทำให้ 5ส ไม่ก้าวหน้า ติดแหง็กอยู่กับที่ นานๆเข้าคนทำก้เลยเบื่อแล้วก็เลิกทำ....

หมายเลขบันทึก: 6086เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2005 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 02:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     ขอยืม "ผักชีไม่มีทางกลายเป็นไม้ยืนต้น เพราะมันคนละพันธุ์กัน" ไปใช้บ้างนะครับ ชอบใจจังเลย

ขอบคุณ Mr_Jod ที่ได้เอาบางส่วนของบทความที่ผมเขียนไว้มาเผยแพร่ต่อครับ บทความฉบับเต็มชื่อ 5 ส กับการพัฒนาคุณภาพองค์กร  จะอยู่ในwww.practicallykm.gotoknow.org ส่วนของบทความจากประสบการณ์ครับ หรือจะอ่านจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวันวันที่ 21หรือ25 ตุลาคมที่ผ่านมา(ไม่แน่ใจลืมจดวันที่ไว้)หรือจากวารสารโรงพยาบาลชุมชนก็ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท