ห้าสิบ...ของชุมนุมอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นภาคใต้


"กิจกรรมชุมนุม เป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในด้านทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม และทักษะการคิด กิจกรรมต้องผ่านกระบวนการ PDCA และที่สำคัญเรียนรู้อย่างมีความสุข"

ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ครูนกได้กลับมาประจำที่รั้วลานไทรหลังจากหายไปหนึ่งปี และหนึ่งปีที่หายไปมีน้อง LabBoy ช่วยเข้ามาทำหน้าที่ครูที่ปรึกษากิจกรรมชุมนุมอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นภาคใต้ ซึ่งน้องน่ารักมากๆ ดูแลชุมนุมอย่างดี และได้ประสานข่าวกับครูนกตลอดเวลา ทำให้ปีนี้เรารับสมาชิกเพิ่มจากยี่สิบห้าคนเป็นห้าสิบคน (อัตราส่วนครู : นักเรียน = ๑ : ๒๕ คน) ซึ่งน้องดำเนินการรับไว้ให้แล้วเสร็จ มีตั้งแต่น้องเล็ก ม.๑ ถึง พี่ใหญ่ ม.๓ ต่างจากปีที่แล้วที่เราเป็นสมาชิกชายล้วน ๒๕ คน


นอกจากนี้ครูที่ปรึกษาของชุมนุมเพิ่มขึ้นคือ ครูนก น้อง LabBoy และ ครูฝึกสอน (ศิษย์เก่า) เมื่ออะไรก็เพิ่มขึ้นในทิศทางที่เป็นเชิงบวกทำให้ปีนี้ครูนกตั้งใจและตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นในลักษณะ กิจกรรมจะต้องก้าวให้ถึงโครงงาน แต่ไม่ใช่โครงงานวิชาการ เป็นโครงงานที่ตอบโจทย์ความสนใจใฝ่รู้ของเด็กๆ และที่ตั้งใจเป็นของขวัญสำหรับเด็กๆคือ ทำเสื้อสำหรับสมาชิกกิจกรรมชุมนุมอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นภาคใต้ ฉลองสมาชิกเราครึ่งร้อยแล้วค่ะ

คาบแรกที่พวกเราเจอกันคือ การจัดตั้งคณะกรรมการของกิจกรรมชุมนุม โดยใช้วิธีการเสนอชื่อประธานจากบรรดาพี่ใหญ่จำนวน ๔ คน จากนั้นให้แนะนำตนเองและแสดงภาวะผู้นำต่อน้อง ขั้นตอนถัดมาคือ โหวตว่าเราจะเลือกใครโดยใช้วิธีการวิ่งไปยืนต่อแถวจากผู้ที่เราต้องการจะเลือก เมื่อได้ประธานขอกิจกรรมชุมนุมฯ ก็เข้าสู่ขั้นตอนให้ประธานเลือกคณะกรรมการของกิจกรรมชุมนุม พร้อมวางแผนกิจกรรมร่วมกับครูในการกำหนดกิจกรรมตลอดภาคเรียน

ท้ายสุดยินดีต้อนรับเด็กๆ ทุกคน เรามาเรียนรู้ร่วมกัน และจัดกิจกรรมเน้นความสุข ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ตามสไตล์ครูนก





หมายเลขบันทึก: 607993เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2016 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2016 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครูนกค่ะ ชมรมอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นภาคใต้น่าสนมากเลยค่ะ จันเองยังไม่รู้เลยว่าอนุรักษ์พืชสมุนไพรของทางภาคใต้เรามีอะไรบ้าง ต้นหมุยใช่ป่ะค่ะ

อาจารย์จันค่ะ (จันทวรรณ) ครูนกอาจใช้ชื่อชุมนุมสวยหรูไปค่ะ แต่ละปีก็จะแค่อัญชัน ใบเตย หรือโหระพา กระเพรา...ด้วยนร.ส่วนใหญ่จะมีอยู่ในเมือง ไม่ค่อยรู้จักต้นไม่ เลยยังไม่ได้ศึกษาอะไรที่เป็นพืชพื้นถิ่นจริงๆที่นำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรค่ะ ต้นหมุยใช่นะครูนกว่า

จริงด้วยครูนก เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยจะรู้จักพืชผักสวนครัวนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท