การปฏิรูปการศึกษาที่ถูกเสนอในประเทศไทยอาจทิ้งเด็กที่อ่อนแอที่สุดไว้เบื้องหลัง (Thailand’s proposed education reforms could leave the most vulnerable behind)


เมื่อโรงเรียนเตรียมตัวจะเปิดเทอมใหม่ในปีการศึกษาหน้า คำถามที่ว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาจะทำอย่างไรเริ่มกลับมาเป็นจุดสนใจมากขึ้น

ความอ่อนแอของระบบการศึกษาไทยมีคนพูดกันมานานแล้ว ด้วยการทดสอบ PISA ที่ทำให้ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 50 จาก 60 ประเทศ รายงานจากธนาคารโลก (the World Bank) สรุปได้ว่าหนึ่งในสามของเด็กอายุ 15 ปี คนไทยคือคนที่ไม่รู้หนังสือ (functionally illiterate) และการทดสอบ O-NET ที่เป็นมาตลอดหลายปีนี้ โดยเฉลี่ยจะทำได้แค่ 50% เท่านั้น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ย่อมแสดงว่าระบบการศึกษาไทยอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน (a state of emergency) ความผิดพลาดอันนี้เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา, นักวิชาการ, นักการเมืองพรรคต่างๆ และผู้นำไทยในปัจจุบัน ท่านผู้นำยังได้นำการศึกษาเป็นประเด็นหลักในแผนปฏิรูปด้วย (Reform Road Map)


ผลโพลปี 2015 ที่ทำโดย NIDA ซึ่งสรุปออกมาได้ว่าระบบการศึกษาเป็นเรื่องที่สาธารณะชนไทยต้องการเห็นมากในด้านปฏิรูป และยังบ่งชี้อีกว่าพ่อแม่คนไทยรู้เป็นอย่างดีถึงระบบการศึกษาที่ไม่เพียงพอ และการไม่สามารถเตรียมนักเรียนไปสู่การท้าทายในศตวรรษที่ 21 ได้ การขาดซึ่งศรัทธาดังกล่าวนำไปสู่การกดดันอย่างยิ่งยวด และการแข่งขันเพื่อให้เข้าโรงเรียนสาธิต และความต้องการขนาดใหญ่ของการศึกษานาๆชาติ

เมื่อเมษายนปีที่แล้ว จะมีสิ่งที่บอกถึงการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นจริง โดยที่มีการล้างเจ้าหน้าที่ทางการศึกษา (education officials) และบอร์ดทางการศึกษาด้วย (education boards) อย่างไรก็ตาม ในอีกหลายเดือนต่อมา จะมีความไม่สงบหรือวุ่นวายเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งก็คือจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงผิวเผิน (superficial changes) เช่น การต้องท่องค่านิยม 12 ประการ (12 Core Values of Thainess) และ การลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สำหรับเด็กประถม (ถึงแม้จะตั้งใจดี แต่ขาดการปฏิบัติอย่างจริงจัง) ในทางตรงกันข้าม การปฏิรูปการศึกษาที่ถูกนำเสนอขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเน้นการกระจายอำนาจ และการเปลี่ยนแปลงไปสู่การศึกษาที่เป็นของฟรี ดูเหมือนว่าจะมีผลกระทบกับนักเรียนอย่างมากๆ

ผู้สังเกตการณ์ทั่วไปเห็นร่วมกันอยู่แล้วว่าระบบการศึกษาในประเทศไทยต้องทนทุกข์ทรมานจากการนำแบบบนลงล่าง ที่ยึดอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (centralized top-down leadership) และคณะกรรมการในกระทรวงที่ดูเหมือนเป็นอิสระอยู่หน่อยๆด้วย (quasi-independent commissions) การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมา มีจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งก็คือต้องการทำลายกำแพงเหล่านี้ การปฏิรูปครั้งใหม่คือแทนที่เขตพื้นที่ (the Educational Service Area) ด้วยการทำให้จังหวัด (province)เป็นตัวอำนาจ การกระจายอำนาจจะให้อำนาจแก่จังหวัดเป็นรายบุคคลในการที่จะเติมเต็มวิสัยทัศน์ทางการศึกษา (ของตนเอง) ซึ่งสรุปก็คือ พยายามจะตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่นั้น

การกระจายอำนาจ และการมีอิสระที่เพิ่มมากขึ้น (increased autonomy) เป็นปัจจัยหลักๆในการปฏิรูปที่ฟินแลนด์ และแคนาดา ซึ่งมีการปรับปรุงระบบการศึกษา การติดตามประเทศฟินแลนด์ ที่ได้คะแนน PISA ในระดับ 10 การศึกษาในประเทศเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจ และนักการศึกษาจากประเทศสแกนดิเนเวีย พยายามที่จะมาที่กรุงเทพฯในหลายๆโอกาส เพื่อที่จะมาพบนักการศึกษาและนักวิชาการ บางครั้งการปรับระบบการศึกษาขึ้นมาใหม่นี้อาจมาจากการพบปะกันในหลายๆครั้งนั้น และถ้าประเทศไทยสามารถที่จะเลียนแบบความสำเร็จของประเทศฟินแลนด์ได้แล้วหละก็ จะมีความสำเร็จในการศึกษาไทยเป็นอย่างยิ่ง

ภายใต้โครงสร้างกระจายอำนาจอันใหม่นี้ คณะกรรมการที่มีอิทธิพลจะถูกแทนที่ด้วยคณะกรรมการการศึกษาระดับจังหวัด (provincial education committees) ซึ่งมีผู้ว่าฯเป็นหัวหน้า และจังหวัดจะมีอำนาจในการพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน (community) มากกว่าขึ้นอยู่กับการสนองแค่ทางเดียวแต่ใช้ได้หมดทั้งชุมชนที่เคยนำมาใช้ก่อนวิธีการหนึ่งที่ความเป็นอิสระ (autonomy) สามารถส่งผลทางบวกต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ก็คือการให้ใช้ภาษาในท้องถิ่นมากขึ้น เช่น ภาษาสำเนียงอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาษาไทยมาเลย์ในภาคใต้ ในจำนวนคน 67 ล้านคนในประเทศไทย จะมีเพียง 20 ล้านคนเท่านั้นที่ใช้ภาษาไทยกลาง และมีนักเรียนจำนวนมากก็ไม่รู้ความคิดรวบยอดที่เป็นหลักเพราะภาษาที่ใช้ต่างกับภาษากลางกรุงเทพฯ ถ้าจังหวัดประยุกต์วิธีการที่เรียกกันว่า มหิดล โมเดล (Mahidol Model) และใช้ภาษากลางกรุงเทพฯในการสอนตั้งแต่เริ่มต้น อาจส่งผลต่อความสำเร็จทางการศึกษาของนักเรียนก็ได้ การบูรณาการกับภาษาท้องถิ่น (regional languages) สามารถมีประสิทธิภาพหากทำใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่ซึ่งการขาดการศึกษาสำหรับเด็กเฉพาะทางที่มีลักษณะพิเศษ (inclusive education) นำไปสู่ความไม่สงบทางสังคม (social unrest) นั่นคือ ทำให้เยาวชนชายมีแนวโน้มที่จะคิดทางการเมืองอย่างสุดขั้ว และนำไปสู่วัฎจักรแห่งความรุนแรง (the cycle of violence)

การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 ที่ทำเป็นกฎบัตรใหม่ (new charter) ดูเหมือนว่าจะเป็นที่ถกเถียงกัน (controversial) มากกว่าการกระจายอำนาจทางการศึกษา เช่น ตั้งใจจะให้เด็กที่เรียนในชั้นม.ปลายเสียเงิน ในปัจจุบันนี้ การศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (free education) ให้กับเด็กไทยทุกคน โดยเริ่มจากเกรด 1 (ประถม 1) จนถึงเกรด 12 (มัธยมศึกษาปีที่ 6) การปฏิรูปการศึกษาที่กำลังทำอยู่นั้นลดอายุของการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายขึ้น เริ่มตั้งแต่อนุบาล แทนที่จะเป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในขณะที่การศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายตอนอนุบาล 1 นั้นเป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่การลดทอนทางการศึกษาสำหรับวัยรุ่นตั้งแต่ 15 ถึง 18 ปีนั้นเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างมาก (serious concerns) สิ่งนี้จะประนีประนอมกับการเข้าถึงทางการศึกษา (access to education) และความเสมอภาคทางการศึกษา (educational equality) สองสิ่งนี้เป็นพื้นฐานในการที่ประเทศไทยต้องทำภายใต้การศึกษาเพื่อทุกคนของยูนิเซฟ (UNICEF’s Education For All) และจุดมุ่งหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals)

หากรัฐบาลไม่สนับสนุนการศึกษาเสียแล้ว บรรดาวัยรุ่นจำนวนมากจะไม่สามารถเรียนต่อในชั้นเรียนที่สูงขึ้นไปได้ และความหวังในการเรียนต่อย่อมกลายเป็นศูนย์ การศึกษาในระดับมัธยมตอนปลายที่ถูกตัดไปนั้นตัดโอกาสในการเรียนต่อโรงเรียนมัธยม และวิทยาลัยการอาชีพได้ ในที่สุดจะส่งผลให้เด็กๆเป็นพันๆไม่มีทักษะที่จำเป็นในการจ้างงานได้

ในประเทศที่มีนักเรียนเกือบจะ 300,000 คนไม่ได้เรียนต่อในระดับประถมศึกษานั้น การปฏิรูปการศึกษาจำเป็นต้องเน้นตรงนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ทั้งนี้ไม่ใช่เป็นสัญญาของนาๆชาติเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของสังคม (social stability) และส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจด้วย

หลังจากหลายปีของการปฏิรูปการศึกษาที่ยังคงเป็นระบบราชการกระทรวง และใช้งบประมาณมากมายก่ายกองในการปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียน แต่การปฏิรูปการศึกษา ซึ่งต้องทำกันในหลายๆภาคส่วน รวมทั้งเด็กๆที่เรียนรู้ไม่ทันเพื่อนด้วย (vulnerable children) ต้องมีความสำคัญในระดับสุดยอด การมีอิสระที่เพิ่มมากขึ้น (increased autonomy) ที่เกี่ยวกับคณะกรรมการการศึกษาในระดับจังหวัดยังคงก้าวเดินต่อไป แต่คงจะมีระยะเวลาที่ยาวนานมากก่อนที่เด็กไทยจะได้รับการศึกษาที่พวกเขาต้องการเสียที

แปลและเรียบเรียงจาก

Daniel Maxwell. Thailand’s proposed education reforms could leave the most vulnerable behind. https://asiancorrespondent.com/2016/05/thailand-education-reform/

หมายเลขบันทึก: 607443เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2016 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2016 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท